
กฎแห่งกระจก
โยชิโนริ โนงุจิ
ทิพย์วรรณ ยามาโมโตะ แปล
พิมพ์ครั้งที่ 3
93 หน้า
109 บาท
โยชิโนริ โนงุจิ
ทิพย์วรรณ ยามาโมโตะ แปล
พิมพ์ครั้งที่ 3
93 หน้า
109 บาท
โยชิโนริ โนงุจิ หนึ่งในนักเขียนคุณภาพที่มีส่วนช่วยให้คนนับไม่ถ้วนประสบความสำเร็จในการพัฒนาความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลอื่น รางวัล non-fiction ที่ทุกคนควรได้อ่านก็คงเป็นเครื่องการันตีคุณภาพของหนังสือเล่มนี้ได้เป็นอย่างดี
กฎแห่งกระจกซึ่งเขียนโดยโยชิโนริ โนงุจิป็นหนังสือ “how to” ที่มีกลวิธีในการนำเสนอที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่ซ้ำแบบหนังสือแนวนี้ที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด แม้ว่าจะเป็นหนังสือที่มุ่งให้ความรู้ทางด้านจิตวิทยาเพื่อให้คนนำไปใช้พัฒนาความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลอื่นและเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาชีวิต แต่ผู้เขียนเลือกที่จะนำเสนอความรู้ด้านจิตวิทยาด้วยการเล่าเรื่องผ่านชีวิตแม่บ้านชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาเรื่องลูกโดยแบ่งหนังสือออกเป็น 2 ภาค
ใครที่ได้เริ่มจับหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านเพียงแค่หน้าแรกๆ คงไม่รู้เลยว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับอะไร บางคนอาจนึกว่าเป็นหนังสือนิยายแปลธรรมดาๆเล่มหนึ่งด้วยซ้ำ เพราะว่าผู้เขียนสอดแทรกทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาผ่านทางบทสนทนาของตัวละครอย่างแนบเนียน
ภาคแรกจะเป็นเรื่องของเอโกะแม่บ้านวัย41ปีคนหนึ่งที่กลุ้มใจเรื่องที่ลูกชายถูกเพื่อนร่วมชั้นกลั่นแกล้ง แต่ลูกกลับไม่ยอมเปิดใจคุยกับตน ได้แต่เก็บเงียบไว้คนเดียว และโดยมากหากจะปรึกษาอะไรก็มักจะปรึกษาสามีซึ่งเอโกะมองว่าเป็นคนที่ไม่เอาไหน ในที่สุดก็รู้สึกว่าหมดหนทางที่จะแก้ไขและก็คิดว่าตัวเองเป็นแม่ที่ไม่ดีพอ ไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับลูกได้ แต่วันหนึ่ง ยางุจิ เพื่อนของสามีเธอก็ได้ยื่นมือเข้ามาช่วย และในที่สุดเธอก็พบว่าปัญหาทั้งหมดที่เธอกำลังประสบอยู่มีต้นเหตุมาจากตัวเธอเอง และปัญหานี้ยังมีความเกี่ยวโยงไปถึงความรู้สึกต่อต้านและไม่เคารพในตัวสามีที่มีอยู่ในตัวเธอเองอีกด้วย!
เราจะได้อ่านเรื่องราวของเอโกะที่พยายามจะแก้ปัญหาในชีวิตเธอพร้อมๆกับได้ซึบซับแนวทางการแก้ปัญหาที่ยางุจิแนะนำเธอ ตรงจุดนี้คงนับได้ว่าเป็นจุดที่ทำให้หนังสือเล่มนี้ดูโดดเด่นกว่าหนังสือแนวนี้เล่มอื่นๆ เรื่องราวชีวิตของเอโกะและการแก้ปัญหาที่ค่อยได้ๆพัฒนาไปทีละขั้นจะทำให้เราเข้าใจหลักการที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอได้ง่ายขึ้น เพราะเราอาจนำมาเปรียบเทียบกับชีวิตของเราเองได้
บทสนทนาของตัวละครในเรื่องนี้ค่อยๆเปิดเผยความลับง่ายๆที่ทุกคนไม่เคยนึกถึงซึ่งเป็นกฎที่เรียกว่า กฎแห่งกระจก เหตุการณ์ในชีวิตเราคือภาพสะท้อนจิตใจของเรา
ในส่วนของภาคที่ 2 จะเป็นการสรุปใจความเรื่องกฎข้อนี้รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้ผู้อ่านนำไปใช้ได้จริง การอธิบายที่ใช้การเปรียบเทียบอย่างเห็นได้ชัดรวมทั้งการสอดแทรกความรู้
ไปในเนื้อเรื่องช่วงภาคแรกทำให้ผู้อ่านติดตามเนื้อหาได้เรื่อยๆโดยที่ไม่รู้สึกเบื่อ
ในส่วนของภาคที่ 2 จะเป็นการสรุปใจความเรื่องกฎข้อนี้รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้ผู้อ่านนำไปใช้ได้จริง การอธิบายที่ใช้การเปรียบเทียบอย่างเห็นได้ชัดรวมทั้งการสอดแทรกความรู้
ไปในเนื้อเรื่องช่วงภาคแรกทำให้ผู้อ่านติดตามเนื้อหาได้เรื่อยๆโดยที่ไม่รู้สึกเบื่อ
หากใครที่กำลังประสบปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ที่มีตัวคนรอบตัว หนังสือเล่มนี้เป็นทางเลือกที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อคุณปิดหนังสือเล่มนี้ลงก็จะพบคำตอบว่าปัญหาที่เอโกะกำลังประสบอยู่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกดูแคลนที่เธอมีต่อสามีอย่างไร
“เมื่อคุณส่งกระจกแล้วภาพที่เห็นในกระจกคือคุณหัวยุ่งมากๆ ก็คงไม่มีใครเอื้อมมือไปจัดแต่งทรงผมของคนที่อยู่ในกระจกหรอก แต่สิ่งที่คุณตั้งทำก็คือเอามือมาจัดแต่งทรงผมขอบงตัวเอง เราต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ ไม่ใช่มัวไปมองที่ภาพสะท้อน (โยชิโนริ โนงุจิ)”
“เมื่อคุณส่งกระจกแล้วภาพที่เห็นในกระจกคือคุณหัวยุ่งมากๆ ก็คงไม่มีใครเอื้อมมือไปจัดแต่งทรงผมของคนที่อยู่ในกระจกหรอก แต่สิ่งที่คุณตั้งทำก็คือเอามือมาจัดแต่งทรงผมขอบงตัวเอง เราต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ ไม่ใช่มัวไปมองที่ภาพสะท้อน (โยชิโนริ โนงุจิ)”
ธนศักดิ์
1 ความคิดเห็น:
ใช้ประโยคยาวซับซ้อน ในย่อหน้าแรกกว่าจะเจอคำกริยา "เป็น" นานมาก ทำให้เกิดความคิดซับซ้อนอ่อนใจกว่าจะอ่านจบ เชื่อมความคิดด้วย "ที่" เยอะมาก ย่อหน้าสุดท้ายที่คัดมาจากเรื่องควรใช้ประโยชน์มากกว่ามาแปะเฉยๆ และควรลอกให้ถูกต้องด้วย
7
แสดงความคิดเห็น