วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

อยากจะบอกว่ารักสักเท่าฟ้า

อยากจะบอกว่ารักสักเท่าฟ้า
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
โอษฐ วารีรักษ์
พิมพ์ครั้งที่๒
สำนักพิมพ์ ณ ณางค์
๑๑o หน้าภาพประกอบ
๑๓o บาท



หากเมื่อเอ่ยชื่อ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ คงมีน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักบุคคลผู้นี้ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นกวีรัตนโกสินทร์ เจ้าของรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งอาเซียน(ซีไรท์) จากรวมกวีนิพนธ์ชุด เพียงความเคลื่อนไหว เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นกวีคนสำคัญของบ้านของเมืองอีกคนหนึ่ง ที่มีผลงานต่อเนื่องและเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป ในแวดวงกวีและแวดวงของนักเขียนนั้น ถ้าหากเป็นรุ่นพี่ก็จะเรียกกวีคนนี้ด้วยความรักความเมตตาว่า เนาว์ และถ้าเป็นรุ่นน้องๆก็จะเรียกเขาด้วยน้ำเสียงสนิทสนมว่า พี่เนาว์ จนกลายเป็นธรรมเนียมต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ความที่เป็นครอบครัวของนักอ่าน และครอบครัวที่มีความรักความผูกพันอยู่กับเรื่องราวทางวรรณคดีไทย ดนตรีไทย ทำให้สิ่งเหล่านี้ได้หล่อหลอมจิตใจของทุกคนในบ้านให้มีความรักความผูกพันอยู่กับสิ่งเหล่านี้มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเนาวรัตน์ได้ดูดซับประสบการณ์ดังกล่าวเข้าไว้ในสายเลือด และเรียนรู้จากของจริงไปโดยปริยายเนาวรัตน์ เป็นคนช่างฝัน อารมณ์อ่อนไหวมากเป็นพิเศษ เขามีความละเมียดละไมมาแต่เล็กแต่น้อย ในเรื่องเกี่ยวกับการแต่งกลอนนั้น เนาวรัตน์เคยกล่าวไว้ว่า"เริ่มแต่งกลอนมาตั้งแต่เรียนโรงเรียนมัธยมที่โรงเรียนวิสุทธิรังษี มาเขียนจริงจังเอาเมื่อเรียนมหาวิทยาลัย"
อยากจะบอกว่ารักสักเท่าฟ้าเป็นการร่วมมือกันของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ในการร้อยกรอง
และโอษฐ วารีรักษ์ ในการร้อยแก้ว เนื้อหาของหนังสือจะพูดเกี่ยวเรื่องของความรัก โดยการบรรยายนั้นจะไม่ใช้การบรรยายเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นในรูปของบทกลอน และมีการแทรกแนวคิดให้สามารถที่จะนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน มีการนำบทกลอนของผู้อื่นนำมาแทรกและมีการอธิบายเพิ่มเติม ทำให้ผู้อ่านสามารถที่จะคิดตามได้ การนำคำสอนของบุคคลที่มีชื่อเสียงทำให้บทความนั้นมีความน่าเชื่อถือ เช่น ขงจื๊อ มหาปราชญ์ ผู้ยิ่งใหญ่ ของโลกกล่าวสอนไว้ว่า
“เกิดเป็นคนนั้น สะสมความรักใคร่ย่อมเกิดสุข สะสมความเคียดแค้นย่อมเกิดภัย” มันเกิดแก่ตัวเราเพราะเมื่อไหร่ที่เราแค้น ความแค้นเกิดขึ้นในใจเราความแค้นเป็นความทุกข์ แค้นคนสิบคนก็ทุกข์สิบครั้ง แค้นคนร้อยคน ก็ทุกข์ร้อยครั้ง คนที่สะสมความเคียดแค้นจึงเท่ากับเป็นการจุดไฟเผาตัวเอง จะมีชีวิตอยู่ท่ามกลางผู้คนด้วยความทุกข์ทนหม่นหมอง ถ้าเปรียบชีวิตเหมือนการเดินทางเส้นทางในชีวิตที่เรามีอยู่นั้นไม่แตกต่างในความเป็นคนก็คือ ตลอดเส้นทางที่เราเดินไปในโลกนั้น ใครสามารถหยิบฉวยเอาความทุกข์หรือความสุขจากโลก มาใส่ชีวิตของเราได้มากกว่ากันเท่านั้นเอง นี่คือบทพิสูจน์ฝีมือของความเป็นคน
แต่ที่เป็นจุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสำนวนภาษาที่ใช้และบทกลอนต่างๆที่กวีได้แทรกเข้ามาเพื่อให้ผุ้อ่านได้คิดตามและสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิต เหมือนเป็นหนังสือที่ต้องการจะสอนแนวคิดต่างๆให้ผู้อ่าน โดยที่รูปแบบการนำเสนอ ไม่น่าเบื่อ และภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย
ความรักไม่ต้องการแค่วันเดียว
ความรักไม่ต้องเกี่ยวกับวันไหน
ความรักไม่ต้องมีเวลาใด
ความรักไม่ต้องใช้ให้ใครชี้
ความรักไม่ต้องมีข้อวิจารณ์
ความรักไม่ต้องการการกดขี่
ความรักไม่ต้องให้ใครตราตี
ความรักไม่ต้องมีเส้นพรมแดน
ความรักไม่ต้องการการเป็นต่อ
ความรักไม่ต้องรอขอเหตุผล
ความรักไม่ต้องย้ำความมีจน
ความรักไม่ต้องทนที่จะรัก

นัฏพร

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ความจริงฉบับเต็ม ของกวีนิพนธ์บทนี้เรามีนะ มีทั้งสิ้นแปดบท แต่ว่าว่างๆจะเอามาลงให้อ่านนะ ช่วงนี้แค่แวะมาดูงานของเพื่อนๆเท่านั้น หรือจะไปหาก้ได้ ชื่อ"คือหัวใจสองดวงห่วงหากัน" เห็นชอบอาจารย์เนาวรัตน์เหมือนกัน เลยแวะเข้ามาอ่าน อิอิ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ข้อมูลไม่ชัดว่า เป็นสารคดีเรียบเรียงชีวิตและผลงานบทกวีเยวกับความรักของคุณเนาวรัตน์ใช่หรือไม่ ผู้เขียนหรือเรียบเรียงคือ "โอษฐ วารีรักษ์"ใช่หรือเปล่า หรือว่าเขียน 2 คนทั้งคุณเนาวรัตน์ด้วย ใช้คำว่า "เป็นการร่วมมือกัน" หมายถึงอย่างไร

ย่อหน้าสุดท้ายเป็นคำประพันธ์ที่ค่อนข้างยาวเกินกว่าจะเป็นบทปิดท้าย

ภาษาที่ใช้ไม่ราบรื่นสวยงามพอที่จะแนะนำหนังสือกวีนิพนธ์

7