
กวีนิพนธ์ : ใบไม้ที่หายไป
จิระนันท์ พิตรปรีชา
พิมพ์ครั้งที่ 23 พ.ศ. 2548
แพรวสำนักพิมพ์
135 หน้า
ราคา 50 บาท
จิระนันท์ พิตรปรีชา
พิมพ์ครั้งที่ 23 พ.ศ. 2548
แพรวสำนักพิมพ์
135 หน้า
ราคา 50 บาท
เมื่อ พ.ศ. 2515 จิระนันท์ พิตรปรีชา ได้รับตำแหน่งดาวจุฬาฯ และยังเป็นนักกิจกรรมชมรมต่างๆ เธอได้ใช้ชีวิตในสังคมมหาวิทยาลัยเหมือนนักศึกษาทั่วไป จนกระทั่งจุดสงสัยที่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนในชีวิตเธอนั้นคือเรื่องคุณค่าในระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัย จึงทำให้เธอเริ่มสนใจการเมือง ในระยะต่อมาเธอกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการดันกงล้อประวัติศาสตร์การเมืองไทย ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
ท่ามกลางช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของเมืองไทย เธอหนีเข้าไปในฐานะที่เป็นคอมมิวนิสต์ การเรียนรู้ชีวิตในป่ากับอุดมการณ์ด้านการเมืองอันแรงกล้า บางช่วงขณะของอารมณ์ เธอก็จับปากกาขีดเขียนหนังสือออกมาเป็นกวีนิพนธ์ที่ได้สะท้อนความรู้สึกของผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง บทกลอนที่คัดกรองออกจากหัวใจบริสุทธิ์เปี่ยมไปด้วยความหมายถูกถ่ายทอดผ่านตัวอักษรทั้งหมดถูกรวบรวมใน กวีนิพนธ์แห่งชีวิต ในชื่อว่า “ใบไม้ที่หายไป” กวีนิพนธ์ร่วมสมัยทรงคุณค่าซึ่งได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2532
“ใบไม้ที่หายไป” เป็นเรื่องราวเชิงบันทึกชีวิตตอนหนึ่งของผู้ประพันธ์ ระหว่าง พ.ศ. 2513-2529 ตั้งแต่เป็นนักศึกษาอุดมการณ์สูงจนกระทั่งตัดสินใจหนีเข้าป่าเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย การใช้ชีวิตในป่า เธอต้องพบกับความยากลำบาก คิดถึงบ้าน การค้นหาความหมายของชีวิตที่เต็มไปด้วยขวากหนาม แต่เธอก็สามารถทำตามอุดมการณ์ของตัวเองจนสำเร็จ ผู้เขียนเล่าผ่าน ความใฝ่ฝัน ปรัชญาชีวิต และอุดมคติของหนุ่มสาวในยุคนั้น เธอก็ได้พบว่าทุกชีวิตต้องเป็นไปตามวัฏจักรของธรรมชาติ
กลวิธีการแต่งเป็นกลอนสุภาพ ใช้คำเรียบกระชับแต่เต็มไปด้วยพลังความบริสุทธิ์ของหนุ่มสาว ภาษามีรูปแบบกะทัดรัด และผู้เขียนไม่ได้วิจิตรบรรจงกับการสัมผัสมากเกินไปแต่ก็ไม่ได้ละทิ้งการสัมผัสในวรรค และการใช้คำซ้ำ กลอนจึงมีความไพเราะไม่แพ้กลอนของนักกวีที่โด่งดังในอดีตเลย (พ.ศ. 2515)
“ไม่เคยมีรุ้งงามในความฝัน
ไม่มีวันสุขปลื้มลืมหมองไหม้
ไม่ต้องการหวานล้ำน้ำคำใคร
ไม่อยากได้สิ่งมายาค่านิยม”
ไม่มีวันสุขปลื้มลืมหมองไหม้
ไม่ต้องการหวานล้ำน้ำคำใคร
ไม่อยากได้สิ่งมายาค่านิยม”
การดำเนินเรื่องใช้เรียงลำดับกาลเวลาตามปฏิทิน คนอ่านสามารถทำความเข้าใจจัดลำดับเหตุการณ์เองได้ ปะติดปะต่อได้ตั้งแต่ต้นจนจบ มีเหตุผลเพราะได้กำกับช่วงเวลาเอาไว้ ระหว่าง พ.ศ. 2513-2519
ในแต่ละบทมีเอกลักษณ์ความน่าสนใจ เช่น ในบท “ดอกไม้จะบาน” บทกวีที่สื่อพลังบริสุทธ์ของหนุ่มสาวในการมุ่งมั่นแก้ไขสังคมเพื่อประชาชน โดยผู้เขียนสามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่ลึกซึ้งด้วยภาษาที่หนักแน่นครอบคลุมทุกใจความ ในเวลาต่อมาบทกวีนี้ก็ได้นำมาใส่ทำนองเพลง เพื่อปลุกจิตกระแสสำนึกหนุ่มสาวให้มีความหวังที่จะพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น เพลงนี้ได้นำมาขับร้องจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
ในแต่ละบทมีเอกลักษณ์ความน่าสนใจ เช่น ในบท “ดอกไม้จะบาน” บทกวีที่สื่อพลังบริสุทธ์ของหนุ่มสาวในการมุ่งมั่นแก้ไขสังคมเพื่อประชาชน โดยผู้เขียนสามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่ลึกซึ้งด้วยภาษาที่หนักแน่นครอบคลุมทุกใจความ ในเวลาต่อมาบทกวีนี้ก็ได้นำมาใส่ทำนองเพลง เพื่อปลุกจิตกระแสสำนึกหนุ่มสาวให้มีความหวังที่จะพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น เพลงนี้ได้นำมาขับร้องจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
หากผู้เขียนต้องการสื่ออารมณ์ที่ละเอียดลึกซึ้ง ก็จะนำภาษาที่มีความละเมียดละไม แต่ในบทที่เป็นโศกนาฏกรรมก็ใช้คำรุนแรง ขึงขัง ทำให้ผู้อ่านเกิดความสะเทือนใจและเศร้าสลด นับได้ว่าผู้เขียนนำความสามารถทางวรรณศิลป์ที่เธอมีอยู่มาเรียบเรียงได้อย่างลงตัวที่สุด
หน้าปกของหนังสือเล่มนี้เป็นใบไม้น้อยสีเหลืองอ่อนมีสายฝนโปรยปรายอยู่เป็นเพื่อน ถึงแม้ใบไม้จะมีหน้าที่ไม่ยิ่งใหญ่แต่ก็เป็นส่วนสำคัญของธรรมชาติ หากวันหนึ่งถึงแม้ใบไม้จะล่วงหล่นไป แต่ใบไม้ก็ได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดีที่สุด ขนาดของรูปเล่มกะทัดรัดฉบับราคาประหยัด พิมพ์ด้วยกระดาษปรู๊ฟ จึงทำให้ราคาไม่แพง ควรค่าแก่การซื้อมาอ่านหรือจะซื้อมาเก็บไว้เป็นมรดกให้แก่ลูกหลานในอนาคตก็ได้
“ใบไม้ที่หายไป” กวีนิพนธ์คุณภาพเล่มหนึ่งของไทย มุมมองของวีรชนผู้กล้าได้นำมาเล่าผ่านลีลาทางวรรณศิลป์อย่างมีชั้นเชิง สละสลวย มุ่งมั่น และจริงใจ ผู้เขียนได้มอบบทบาทใหม่ให้แก่ผู้หญิง ในฐานะผู้มีสิทธิ์มีเสียงทางการเมือง อีกทั้งเนื้อหาและสาระแห่งอารมณ์ในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ความรู้ที่ได้จึงเป็นเหมือนเครื่องเตือนใจ ไม่ว่าจะเป็น ความผิดพลาดในระบอบการปกครอง ผู้กล้าได้สูญเสียชีวิตและเลือดเนื้ออย่างที่ไม่มีวันนำกลับคืนมา ความอยุติธรรมในสังคม สิ่งเหล่านี้จะคอยย้ำความรู้สึกของคนในยุคปัจจุบันว่า “การเรียนรู้ประวัติศาสตร์มีจุดประสงค์เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ไม่ได้เรียนเพื่อให้ทำตามประวัติศาสตร์” ดังนั้นหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่คนไทยทุกคนควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง
เกศสุดา
4 ความคิดเห็น:
การใช้ภาษาของคุณดีนะขอชื่นชมเพราะเราก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบจิระนันท์ เพราะเป็นผู้หญิงที่เก่งและอยากเป็นแบบจิระนันท์บ้าง
แต่เรากลับรู้สึกว่าภาษาที่ใช้ในการแนะนำหนังสือที่ไพเราะเช่นนี้ธรรมดาเกินไป ออกจะเป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียนเสียด้วยซ้ำ รูปประโยคที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาในเล่ม มักใช้นามวลีมาเรียงต่อๆ กันมากกว่าจะเป็นประโยค บางทีความชอบบทกวีอาจต้องแยกออกจากความชอบบทแนะนำหนังสือ
7.5
ดีมากเลยค่ะ การใช้คำสละสลวยดีค่ะ และใช้เป็นข้อมูลในการทำการบ้านได้ดีเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ
ไม่ทราบว่าจะหาซื้อหนังสือได้ที่ไหนครับ
แสดงความคิดเห็น