วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Shine โชคดีที่สวรรค์ไม่ลำเอียง

วิลาสินี

มนุษย์บางคนอาจจะเคยได้รับรู้มาบ้างว่า “ดนตรี” สามารถบำบัดจิตใจของคนเราได้ มนุษย์บางคนอาจเข้าใจว่าพรสวรรค์ย่อมมาเพียบพร้อมกับคนที่ดีเลิศเสมอ และ Shine จะทำให้มนุษย์หลายคนเข้าใจว่าคนเราอยู่ได้ด้วยจิตใจ ความรู้สึก ความรัก และความดิ้นรนของชีวิตมนุษย์
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้สร้างขึ้นจากชีวิตจริงของนักเปียโนชาวออสเตรเลีย ได้เข้าฉายเมื่อปี ค.ศ.1996 มีไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะติดตามดูเรื่องที่บอกเล่าเรื่องราวของคนที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนอย่างจดจ้อง แต่ด้วยฝีมือการกำกับของ Scott Hicks พร้อมด้วยสำนวนการเขียนบทของ Jan Sardi ประกอบกับความสามารถของนักแสดงที่มีความสามารถมากล้น จนทำให้หนังเรื่องนี้ได้รับรางวัลต่างๆอย่างมากมาย

เดวิด เฮพก็อด เด็กชายตัวเล็กๆที่มีพรสวรรค์ทางด้านดนตรี ไม่เคยได้สัมผัสชีวิตอันสดใสของวัยเด็ก เนื่องจาก ปีเตอร์ เฮพก็อด พ่อของเขาต้องการให้เดวิดเป็นเลิศทางการเล่นเปียโนและพร่ำสอนอยู่ตลอดอย่างย้ำซ้ำๆว่า “เดวิดเป็นคนที่โชคดีที่สุดที่ได้เล่นดนตรีและทุกครั้งที่มีการแข่งขันต้องชนะ” พ่อเป็นผู้ฝึกสอนเดวิดด้วยตนเอง โดยไม่คำนึงถึงความสามารถของเดวิดว่ามีเพียงพอจะเล่นเพลงยากได้หรือไม่

แม้ว่าอาจารย์โรเซ่น ของเดวิดจะคัดค้านไม่อยากให้เดวิดเล่นเพลงที่ยากเกินไป แต่พ่อของเขายังคงยืนยันความตั้งใจที่จะให้ลูกเล่นเพลงของแร็คแมนีนอฟ เดวิดผ่านการประกวดมาหลายครั้งจนสามารถได้ชัยชนะมาหลายเวที ทำให้เขาได้รับทุนไปเรียนต่อที่อเมริกา แต่พ่อไม่ยอมให้เขาไป จนกระทั่งเดวิดได้มีโอกาสพบกับนักเขียนชื่อดัง แคทเธอรีน พลิชาร์ด ซึ่งเป็นผู้ที่ทำให้เขาเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น มีอารมณ์ ความรู้สึก

เมื่อมีจดหมายเชิญมาอีกครั้งเขาจึงตัดสินใจที่จะไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษตามที่เขาได้รับทุน โดยไม่สนใจคำตัดขาดอย่างรุนแรงจากพ่อ ที่อังกฤษเดวิดได้รับการฝึกสอนจากศาสตราจารย์ซีซิล พาร์ค ทำให้เขาบรรเลงเพลงที่ถือว่ายากที่สุดของความเป็นเลิศทางเปียโนได้ นั่นคือ เพลงของแร็คแมนีนอฟ แร็ค 3 (ซึ่งก็คือเพลงที่พ่อเคยบังคับให้เขาเล่นเมื่อสมัยเด็ก) เมื่อเขาทำการแสดงนี้จบก็ล้มลงสติแตก เป็นเหตุให้เดวิดต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล หมอห้ามเขาเล่นเปียโนอีก และเขาก็ได้พบกับเบอร์ริล อัลค็อต ซึ่งรับเขาไปอยู่ด้วย ทำให้เขาได้ใกล้ชิดกับเสียงเปียโนอีกครั้งแต่เบอร์ริลก็ไม่สามารถทนพฤติกรรมของเดวิดได้ จึงพาเดวิดไปอยู่อพาร์ทเมนท์แห่งหนึ่งที่มีเปียโนอยู่ เดวิดจึงสนใจอยู่กับตัวโน๊ตที่เขาได้ห่างหายมานานกับเปียโนตัวเก่านั้น ทำให้เจ้าของอพาร์ทเมนท์รำคาญและได้ล็อคเปียโน เป็นเหตุให้เขาตามหาเปียโนเพราะอยากเล่นมันอีก จนเขาไปหยุดอยู่ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งและพบกับซิลเวีย เดวิดได้แสดงความสามารถทางดนตรีที่เขามีอยู่ให้ทุกคนได้เห็น เขาจึงเล่นเปียโนอยู่ที่ร้านจนมีชื่อเสียง

เขาได้พบพ่ออีกครั้งและพ่อได้เปิดโอกาสให้เดวิดกลับบ้าน แต่เขากลับเลือกทางอันมีความสุขของตนเอง จนกระทั่งเขาได้พบกับ กิลเลียน โหรจากซิดนีย์ซึ่งเป็นเพื่อนกับซิลเวีย กิลเลียนประทับใจในตัวเดวิด จนในที่สุดทั้งสองได้แต่งงานกันด้วยความรัก เธอดูแลเขาเป็นอย่างดีและส่งเสริมในเรื่องที่เดวิดต้องการทำเดวิดหวนกลับมาแสดงเปียโนได้อีกครั้งบนเวทีของเขาเองพร้อมกับความประทับใจของผู้ฟังที่มีให้เดวิดอย่างเปี่ยมล้น แต่วันนั้นพ่อของเขาก็จากไปเสียแล้ว

ในการดำเนินเรื่อง “Shine” จุดเด่นของเรื่องนี้ เน้นที่ตัวละครเป็นสำคัญ เดวิด ซึ่งเป็นตัวละครเอกที่ดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งฉากมีการตัดภาพสลับไปสลับมาระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ของเดวิด โดยมีตัวละครที่เป็นพ่อ เป็นตัวช่วยของในการตัดสินใจของตัวละครเอกทำให้เรื่องดำเนินต่อไปได้ ซึ่งเหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในเรื่องนั้นล้วนมาจากความขัดแย้งที่มีอยู่ภายในจิตใจของตัวเดวิด หรือจะเรียกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับภายในจิตใจของตนเองนั่นเอง

ส่วนการเปิดเรื่องนั้นเริ่มต้นด้วยฉากสีดำ กล้องจับภาพไปที่หน้าของชายคนหนึ่ง พูดจาเร็ว ฟังไม่ได้ศัพท์ สีหน้ามีการยิ้มแย้มบ้าง จากนั้นก็เป็นฉากที่ชายคนนี้วิ่งท่ามกลางสายฝนพร้อมกับสูบบุหรี่ไปด้วย ส่องสายตามองผ่านกระจกของร้านอาหาร ซึ่งตอนแรกยังไม่ทราบว่าเขากำลังมองสิ่งใดอยู่ และฉากถัดมาทำให้เราได้รู้ว่าสิ่งที่เขาหยุดสายตาผ่านทางกระจกนั้น คือ เปียโนที่ตั้งตระหง่านอยู่กลางร้าน หลังจากนั้นก็ตัดภาพไปสมัยที่เขาเป็นเด็กเริ่มเข้าแข่งขันเล่นเปียโน และการแข่งขันครั้งนี้ทำให้เหตุการณ์ต่างๆของเรื่องเริ่มพัฒนาขึ้นตามลำดับ เนื่องจากพ่อไม่พอใจในผลการแสดงจึงรีบกลับก่อนการประกาศผล จากนั้นก็สอนให้เดวิดนึกถึงแต่ชัยชนะเท่านั้น พร้อมกับปลูกฝังว่าเดวิดเป็นคนโชคดีที่ได้เล่นดนตรี ทั้งนี้เป็นเพราะว่า พ่อ เคยถูกปู่กีดขวางการเล่นดนตรี พ่อจึงต้องการให้เดวิดทำทุกอย่างที่ตนไม่เคยมีโอกาสได้ทำ เป็นเหตุให้เดวิดไม่มีความฉลาดทางด้านความคิดและด้านอารมณ์ เพราะพ่อเป็นผู้เลือกให้ทุกสิ่งอย่าง

จนจุดวิกฤติของเรื่องนั้นได้ดำเนินมาถึง เมื่อเดวิดตัดสินใจออกนอกการปกครองครอบครัวของพ่อ โดยไปเรียนดนตรีที่อังกฤษ จนทำให้เขาสามารถบรรเลงเพลงที่ยากที่สุดของการเล่นเปียโนได้และการแสดงครั้งนั้นทำให้เขาควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ล้มลงหมดสติไป และเมื่อเขามีโอกาสกลับบ้านก็โทรศัพท์หาพ่อ แต่พ่อไม่พูดโต้ตอบและปิดหน้าต่าง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงการไม่เปิดรับ จึงทำให้เขาถึงกลับต้องไปรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลจิตเวท หมอห้ามไม่ให้เล่นเปียโนอีก

จุดไคลแมกซ์ของเรื่องอยู่ที่ความรู้สึกและอารมณ์ของเดวิด เมื่อได้รับเสียงปรบมือจากผู้ฟังในงานแสดงเปียโนของเขาเองอย่างประสบความสำเร็จ หลังจากการเล่นครั้งสุดท้ายคือเพลงของแร็คแมนีนอฟ แร็ค 3 พร้อมด้วยภรรยาอันสุดที่รักของเขา ส่วนการปิดเรื่องนั้นเป็นฉากสุสาน เดวิดและภรรยาได้ไปสุสานของพ่อของเขา พร้อมทั้งพูดประโยคที่ว่า “ชีวิตไม่สิ้นต้องดิ้นไป” และดนตรีที่ใช้ประกอบในฉากนี้เป็นเมโลดี้เดียวกันกับตอนที่เดวิดขอกิลเลียนแต่งงาน ซึ่งแสดงถึงอารมณ์แห่งความสุขในช่วงเวลานั้นและเวลานี้ก็ยังคงเป็นเช่นเดิม

คำว่า “Shine” แปลว่า ส่องสว่าง ซึ่งเปรียบได้กับชีวิตของตัวละครเอก คือ เดวิด การล้มลงหมดสติของเขา หมายถึงการตกลงมาจากจุดสูงสุดของชีวิต แต่ในที่สุดเวลา ความรัก อารมณ์ความรู้สึกก็สามารถทำให้ชีวิตเขากลับมาส่องสว่างได้อีกครั้ง อีกประการหนึ่ง จะสังเกตเห็นได้จากตอนหนึ่งในเรื่อง ในหนังสือพิมพ์มีเขียนหัวข้อไว้ว่า “David Shine” ซึ่งหมายถึง เด็กชายเดวิดที่มีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีที่ส่องแสงอย่างเจิดจรัส

จากเรื่องนี้ทำให้เราได้มุมมองต่างๆของชีวิตมากมาย เพียงแค่ชีวิตของชายผู้หนึ่งซึ่งต้องตกอยู่ในภาวะที่ถูกพ่อบังคับ ทั้งที่มีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีอยู่แล้ว ทำให้ดนตรีไม่ใช่สิ่งที่บำบัดจิตเขาแต่อย่างใด กลับเป็นสิ่งที่ทำลายชีวิตเขาไปช่วงหนึ่งเสียด้วย แต่หากได้รับรู้ถึงอารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับดนตรีนั้นๆ รวมทั้งความรักที่มาจากความเข้าใจของบุคคล ไม่ใช่การกดดัน การดิ้นรนและการพัฒนาของชีวิตมนุษย์จะเป็นไปในทางที่ดี ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนปกติหรือไม่ก็ตาม

Shine โชคดีที่สวรรค์ไม่ลำเอียง

ลักษมณ

Shine เป็นการนำเรื่องราวชีวิตจริงของนักเปียโนผู้มีชื่อเสียงชาวออสเตรเลีย “เดวิด เฮลพ์ก็อทท์” มาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์อันทรงคุณค่า โดยการเขียนบทของ Jan Sardi และนำมากำกับโดย Scott Hicks ซึ่งเป็นทั้งนักเขียนบทชั้นยอดและผ็กำกับฝีมือดี รวมทั้งฝีมือการแสดงอันสมบทบาทของนักแสดงนำ ซึ่งได้รับการันตีโดยรางวัลอคาเดมีอวอร์ด ประจำปี 1997 สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ซึ่งรับบทโดย เจฟฟรี รัช ยิ่งส่งผลให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

Shine เริ่มต้นเรื่องโดยการกล่าวถึงเดวิดในวัยกลางคนวิ่งผ่าสายฝนไปที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง และจ้องมองเข้าไปในร้านซึ่งมีเปียโนตั้งอยู่อย่างสนอกสนใจ ต่อจากนั้นก็ใช้กลยุทธการเล่าเรื่องแบบย้อนกลับไปกลับมาระหว่างวัยเด็กกับปัจจุบัน โดยเล่าย้อนไปในวัยเด็กก่อนว่าเดวิดเป็นเด็กที่ถูกพ่อบังคับให้เล่นเปียโน และพ่อของเขาก็คาดหวังจากตัวเขามากว่าเขาจะสามารถเล่นเพลงยากๆได้ แม้เดวิดจะชนะการแข่งขันมามากเท่าไร แต่พ่อก็ไม่เคยพอใจในชัยชนะของเดวิดเลย

เมื่อโตขึ้นเดวิดเข้าแข่งขันเปียโนอีกครั้งและได้รับชัยชนะ พร้อมกับถูกยกย่องให้เป็นแชมป์นักเปียโนที่มีอายุน้อยที่สุด พร้อมกับได้รับรางวัลจากการแข่งขันเป็นการไปเรียนต่อที่สถาบันทางดนตรีชื่อดังในสหรัฐอเมริกา แต่พ่อของเขากลับไปยอมให้ไป เพราะกลัวว่าครอบครัวจะเกิดความแตกแยกถ้าขาดสมาชิกคนใดคนหนึ่งของครอบครัวไป ทำให้เดวิดเสียใจและเสียดายโอกาสในครั้งนี้มาก

ต่อมาไม่นานนัก เขาก็ได้รับโอกาสอันแสนวิเศษอีกครั้ง โดยการได้รับทุนเรียนต่อจากโรงเรียนดนตรีในลอนดอน และด้วยการสนับสนุนจากแคทเธอรีน พลิชาร์ด นักเขียนชื่อดังที่มีความสนิทสนมกับเดวิด และเหมือนเป็นที่พึ่งทางใจให้กับเขา ทำให้เขาตัดสินใจไปลอนดอนโดยไม่สนใจคำคัดค้านของพ่อ ทำให้พ่อโกรธเขามาก และไม่ยอมติดต่อกับเขาอีกเลย

ที่โรงเรียนนั้นเขาได้รับการผลักดันทางด้านดนตรีจากอาจารย์ซีซิล และในการแข่งขันเปียโนของโรงเรียน เขาเลือกเพลงแร็คแมนินอฟ หมายเลข 3 ในการประกวด ซึ่งถือว่าเป็นเพลงที่ยากมาก แต่เขาก็มีเหตุผลในการเลือกเพลงนึ้คือ พ่อของเขาเคยคาดหวังให้เขาเล่นเพลงนี้ให้ได้มาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เขาจึงต้องการพิสูจน์ให้พ่อเห็นว่าเขาสามารถทำตามที่พ่อหวังได้จริงๆ เขาจึงฝึกซ้อมอย่างหนัก จนในที่สุดเขาก็ได้รับชัยชนะ แต่หลังจากที่เล่นจบเขาก็ล้มลงหมดสติอยู่กลางเวที

ด้วยความเครียดและความกดดันต่างๆที่เขาได้รับมาตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันส่งผลให้เขากลายเป็นคนที่มีปัญหาทางจิต มีพฤติกรรมแปลกๆ พูดจาติดขัดจนต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ความสามารถอย่างหนึ่งที่ไม่เคยเลือนหายไปจากตัวเขาเลยก็คือการเล่นเปียโน แต่หมอก็สั่งห้ามไม่ให้เขาเล่นเปียโนอีก เพราะกลัวว่าจะส่งผลต่อสภาวะจิตใจของเขาได้ และชีวิตอาจจะกลับไปพลาดพลั้งเหมือนในอดีตอีก

ต่อมาไม่นานนักเขาก็ได้รู้จักกับบอริลที่เข้ามาเล่นเปียโนบำบัดให้ผู้ป่วยฟัง และเธอก็ได้รับเดวิดออกมาจากโรงพยาบาลเพื่อนำไปดูแล แต่ท้ายที่สุดเธอก็ไม่สามารถทนกับพฤติกรรมซึ่งไร้ระเบียบของเดวิดได้ จึงส่งเขาไปอยู่ในอพาร์ตเมนท์แห่งหนึ่งตามลำพัง และเขาก็ถูกเจ้าของอพาร์ตเมนท์นั้นสั่งห้ามไม่ให้เล่นเปียโน เพราะส่งสียงดังรำคาญรบกวนผู้อื่น

ในขณะที่ชีวิตของเดวิดเริ่มหดหู่เพราะไม่ได้เล่นเปียโน เขาก็ไปพบร้านอาหารแห่งหนึ่งเข้า และในร้านอาหารนั้นก็มีเปียโนตั้งอยู่ ความสุขของเขาจึงกลับมาอีกครั้งเมื่อเขาได้ไปเล่นเปียโนที่ร้านนั้นทุกวัน และยังได้เจอกับซิลเวียเพื่อนในสมัยเด็กที่รับเขาไปอยู่ด้วย ในช่วงนั้นเองที่เขาเริ่มกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้ง และพ่อก็ได้ติดตามข่าวของเขาในหนังสือพิมพ์อยู่เป็นประจำ และเริ่มยอมรับในความสามารถของเขา จึงได้เดินทางมาหาเดวิดที่ลอนดอน พร้อมกับมอบเหรียญรางวัลจากการชนะการแข่งขันซึ่งทำให้เขามีปัญหาทางจิตคืนให้กับเดวิดเป็นการแสดงการยอมรับ

ชีวิตของเดวิดเริ่มผลิกผันอีกครั้ง เมื่อเขาได้พบรักกับกิลเลียนนักดุดวงเพื่อนของซิลเวีย เขาทั้งคู่ได้แต่งงานกัน และด้วยความรักและกำลังใจจากกิลเลียน ทำให้เขาสามารถกลับมาเปิดการแสดงเดี่ยวเปียโนของตนเองได้อีกครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในชีวิตของเขา แต่น่าเสียดายที่ในตอนนั้นพ่อของเขาได้เสียชีวิตไปแล้ว

บทบาทของตัวละครเรื่องนี้ก็มีความสำคัญไม่แพ้เนื้อเรื่อง โดยเฉพาะบทบาทของพ่อซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้บทบาทของเดวิด เพราะพ่อเป็นคนที่นำความกดดันต่างๆมาสู่ชีวิตของเขาตั้งแต่เด็กด้วยการบังคับให้เล่นเปียโน จนเดวิดสูญเสียช่วงชีวิตวัยเด็กที่เขาควรจะได้รับไป ในความเป็นจริงแล้วพ่อของเดวิดนั้นเป็นคนที่รักครอบครัวมาก แต่ความรักของเขาเป็นความรักแบบไม่มีเหตุผล และยังเป็นคนปิดกั้นคนอื่นๆที่จะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับคนในครอบครัวของเขา ไม่ว่าจะเป็น
โรเซ่น ครูสอนเปียโนคนแรกของเดวิด หรือเพื่อนชายของลูกสาวคนโต เพราะเขากลัวว่าบุคคลเหล่านี้จะเข้ามามีส่วนทำให้ครอบครัวของเขาแตกแยก และเขาก็เป็นคนที่ค่อนข้างจะหัวโบราณ ไม่ยอมเปลี่ยนแนวคิดที่ยึดถืออยู่ง่ายๆ เพราะเขาคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาทำลงไปนั้นถูกต้องแล้ว และทุกคนในครอบครัวก็ควรจะเชื่อและยึดถือในแนวทางของเขา

ในภาพยนตร์ยังได้สอดแทรกสัญลักษณ์เอาไว้หลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ตอนเริ่มเรื่องที่ปรากฏภาพหน้าของตัวละครอยู่บนพื้นสีดำ เป็นการบ่งบอกถึงชีวิตที่มืดมนของตัวละครตัวนั้น หรือไม่ว่าจะเป็นฉากที่พ่อพาเดวิดเดินทางกลับบ้านหลังจากการแข่งขันเปียโน เมื่อเดวิดเดินผ่านสนามเด็กเล่น เขาได้แสดงกริยาท่าทางแบบเด็กๆออกมาโดยการเดินเขย่งก้าวกระโดด เป็นการแสดงให้เห็นถึงจิตใต้สำนึกของเขาที่มีความเป็นเด็กแฝงอยู่ แต่เขากลับไม่เคยได้แสดงมันออกมาเลย เพราะฉะนั้นตอนที่เขามีอาการป่วยทางจิต จะสังเกตได้ว่าเขาจะแสดงอาการเหมือนกับเด็กออกมาอยู่บ่อยครั้ง เหมือนกับเป็นการทดแทนสิ่งที่เขาไม่ได้รับในช่วงวัยเยาว์

นอกจากนั้นยังมีฉากที่แว่นตาของพ่อแตก แต่เขากลับใช้สก็อตเทปใสติดมันเอาไว้แทนที่จะเปลี่ยนแว่นใหม่ แสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยและทัศนคติส่วนตัวของเขา ซึ่งเป็นคนหัวโบราณและยึดติดกับแนวคิดเดิมๆของตัวเขาเอง และฉากที่เดวิดนั่งอาบน้ำอยู่ในอ่าง และมีภาพก็อกน้ำที่ปิดไม่สนิทปรากฏขึ้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงอาการป่วยของเขาที่เริ่มแสดงออกมาคือเขาไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้จนต้องถ่ายลงในอ่างอาบน้ำจนถูกพ่อลงโทษ และยังสื่อให้เห็นถึงความกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลาด้วย หรือแม้แต่ฉากในโรงพยาบาลที่เดวิดยืนอยู่ข้างหน้าต่างบานใหญ่และเหม่อมองออกไปข้างนอก แสดงให้เห็นถึงชีวิตของเขาที่อยู่แต่ในกรอบตลอดเวลา แม้จะตัดสินใจออกมาจากบ้านเพื่อเรียนต่อโดยไม่มีความกดดันจากพ่อแล้ว แต่เมื่อเขามีอาหารป่วยเขาก็ถูกหมอสั่งห้ามไม่ให้เล่นเปียโนอีก

ภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องการจะนำเสนอแง่มุมเกี่ยวกับความรักและความผูกพันระหว่างบุคคลให้เห็นว่าการที่ให้ความรักมากเกินไปจนกลายเป็นความรักที่ไม่มีเหตุผล ดังเช่นความรักของพ่อที่มีต่อเดวิด ทำให้เกิดอานุภาพของความรักในแง่ลบ คือมีแต่การทำลายล้าง สร้างความกดดัน จนคนทั้งคู่ขาดความสุขไป ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วความรักควรจะเป็นสิ่งที่สวยงาม เหมือนกับชื่อเรื่อง Shine ที่แปลว่าส่องแสง ซึ่งสื่อถึงความรักที่ส่งผลที่ดีมายังผู้ที่มีความรัก และนำแสงสว่างเข้ามาสู่ชีวิต ย่อมทำให้ชีวิตมีความหวังและความสุข เหมือนกับความรักของกิลเลียนที่มีต่อเดวิดที่ได้นำความมืดมนออกไปจากชีวิตของเขา

กล่าวโดยสรุปแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้มีความน่าสนใจในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเรื่อง และบทบาทของตัวละคร ซึ่งได้ให้แง่คิดกับผู้ชมที่กำลังประสบกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆในชีวิตให้มีความหวังอีกครั้ง เพราะในชีวิตของคนเราย่อมมีปัญหาทุกคน แต่สักวันหนึ่งปัญหาเหล่านั้นก็จะผ่านพ้นไปและความสดใสก็จะเข้ามาแทนที่ และยังให้แง่คิดกับผู้ที่มีความรัก ให้ลองกลับมาทบทวนความรักของตนเองว่าเป็นความรักที่มีเหตุผลและเหมาะสมแล้วหรือไม่ เพราะถ้าเป็นความรักที่สร้างแต่ความไม่สบายใจให้กับตนเองและคนรอบข้างก็จะกลายเป็นความในรูปแบบของการทำลายล้าง ดังเช่นความรักของพ่อที่มีต่อเดวิดนั่นเอง

Shine

รุ่งรัตน์

Shine ภาพยนตร์ซึ่งเป็นผลงานการกำกับของ สก๊อต ฮิคส์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวออสเตรเลี่ยน โดยเข้าฉายในปี ค.ศ.1996
เดวิด เฮลฟ์ก๊อท เด็กหนุ่มผู้เติบโตในครอบครัวชาวยิว ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งครอบครัวของเขาประกอบด้วยพ่อ แม่ พี่สาว และน้องสาว อาชีพของพ่อก็คือการขายของเก่า

พ่อของเดวิด ชื่อปีเตอร์ เขาพยายามผลักดันให้เดวิดเล่นเปียโนให้ได้ดังที่ใจต้องการ โดยเป็นผู้ฝึกสอนให้เดวิด และพาเดวิดขึ้นเวทีประกวด จนได้พบกับ เป็นโรเซ่นผู้เสนอตัวเพื่อจะสอนให้เดวิดเก่งยิ่งขึ้น แต่ถูกปฏิเสธจากปีเตอร์ ปีเตอร์ต้องการจะให้เดวิด เล่นรัคมานีนอฟ ให้ได้ จนในที่สุดปีเตอร์ก็ยอมพาเดวิดไปให้โรเซ่นสอน โดยโรเซ่นไม่สอนรัคมานีนอฟก่อน แต่เริ่มสอนจากพื้นฐานก่อน จากนั้นความสามารถของเดวิดก็ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมีชื่อเสียงและได้เล่นในงานสำคัญต่างๆ และได้ทุนไปเรียนดนตรีที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่พ่อของเขาไม่อนุญาตให้ไป ด้วยข้ออ้างที่ว่าไม่ต้องการให้อะไรมาทำลายครอบครัวเพราะถ้าเดวิดไปก็เท่ากับครอบครัวถูกทำลาย

เมื่อโรเซ่นทราบเช่นนั้นจึงไปขอร้องปีเตอร์ ให้อนุญาตเดวิดไปเรียนต่อที่อเมริกา แต่ปีเตอร์ก็ไม่เปลี่ยนใจ และเปลี่ยนครูคนใหม่ให้เดวิด คือพริทซาร์ด นักเขียนชราให้เป็นผู้สอนเดวิด ฝีมือและทักษะการเล่นดนตรีของพัฒนาขึ้นเป็นอันมาก และได้รับทุนให้ไปเรียนต่อที่ลอนดอน ในครั้งนี้ก็ได้รับการปฏิเสธจากพ่อเช่นเคย แต่เดวิดตัดสินใจที่จะเลือกทำตามความฝันของตนเอง โดยการรับทุนไปเรียนต่อที่ลอนดอน

เดวิดได้เรียนกับครูชาวอังกฤษที่พิการไม่มีแขนซ้าย และสามารถเล่นรัคมานีนอฟได้สำเร็จตามความต้องการด้วยความมุ่งมั่น เมื่อเล่นจบดวิดก็ล้มลงบนเวที และนับตั้งแต่วันนั้นเดวิดก็เป็นโรคที่คล้ายจะวิกลจริต และได้รับการบำบัดที่โรงพยาบาลประสาท
ชีวิตของเดวิดเริ่มพบกับแสงสว่างหลังจากได้พบกับรักแท้ที่ กิลเลี่ยน มอบให้ กิลเลี่ยนเป็นนักพยากรณ์ชีวิต ทั้งสองคนใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันด้วยความรัก และความเข้าใจ กิลเลี่ยนไม่เคยแสดงท่าทีเบื่อหน่ายในพฤติกรรมต่างๆของเดวิด และตั้งแต่นั้นมาชีวิตของเดวิดก็เริ่มดีขึ้น

Shine มีการลำดับเรื่องโดยเล่าย้อนไปในอดีต โดยเปิดเรื่องจากฉากที่มีสายฝนโปรยปรายนอกหน้าต่าง แล้วตัวเอกของเรื่องคือเดวิดมองออกไปแล้วนึกถึงอดีตตั้งแต่วัยเด็ก แล้วก็สลับกับภาพปัจจุบันเรื่อยมา การที่ Shine ใช้การเปิดเรื่องด้วยสายฝนเพราะเสียงของฝนดังเหมือนกับเสียงปรบมือจึงทำให้เดวิดนึกถึงเสียงปรบมือขณะที่เล่นเปียโนอยู่บนเวที จากนั้นเรื่องก็ดำเนินต่อไป

เดวิดเกิดในครอบครัวชาวยิวที่ถูกปลูกฝังภายใต้ปรัชญาของชาร์ล ดาวิน คือ กฎแห่งการอยู่รอด กล่าวคือ ปีเตอร์พ่อของเดวิดจะสอนเดวิดเสมอว่าผู้ที่มีชีวิตต่อไปได้คือผู้ที่ชนะเท่านั้น ดังนั้นเดวิดจึงกดดันตัวเองและมุ่งมั่นทำในสิ่งนั้นให้สำเร็จ การที่ปีเตอร์สอนเดวิดเช่นนี้ อาจเป็นเพราะสังคมของชาวยิวต้องเสื่อมสลายเพราะอิทธิพลของนาซีจึงต้องอพยพมาอยู่ที่ออสเตรเลีย จึงหวาดระแวงในเรื่องของการพลัดพราก และเขาจะไม่ยอมให้สิ่งใดมาพรากสมาชิกในครอบครัว รวมไปถึงเรื่องอันน่ายินดีที่เดวิดได้รับทุนไปศึกษาต่อทางด้านดนตรี แต่ปีเตอร์ปฏิเสธและไม่อนุญาตให้เดวิดไปเพราะอ้างเหตุผลความเป็นครอบครัวดังกล่าวข้างต้น

คำสอนของพ่อทำให้เดวิดเป็นเด็กที่มีความมุ่งมั่น จดจ่อกับสิ่งที่ทำ แต่ก็ส่งผลในทางลบต่อเดวิดเช่นกันเพราะเดวิดไม่กล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง เมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นผู้ที่ตัดสินใจให้เดวิดคือปีเตอร์ แม้กระทั่งการเลือกเพลงที่จะเล่น พ่อก็เป็นผู้เลือกรัคมานีนอฟ 3 มิสเตอร์โรเซ่น ครูของเดวิดปฏิเสธที่จะสอนให้โดยให้เหตุผลว่าเดวิดยังไม่พร้อม ด้วยความมุ่งมั่นและพรสวรรค์ทางการเล่นเปียโนที่เดวิดมีทำให้เดวิดชนะการแข่งขันหลายเวที ครูอีกคนของเดวิดก็คือ พริทซาร์ด นักเขียนที่มีส่วนช่วยให้เดวิดมีความคิดที่ออกจากกรอบเดิม ที่มีพ่อเป็นผู้กำหนด

ตัดมาที่ตัวละคร เมื่อพิจารณาจากตัวละครหลักของเรื่อง เดวิดและปีเตอร์ จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
ปีเตอร์หัวหน้าครอบครัวเฮลฟ์ก็อท ซึ่งมีเชื้อสายยิว เมื่อดูตามเนื้อเรื่องจะเห็นว่าปีเตอร์เป็นคนเจ้าระเบียบ เคร่งครัด และโลกแคบ ไม่ยอมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เห็นได้จากแว่นตาที่เขาใช้สก๊อตเทปใสปิดเพื่อเชื่อมรอยต่อของแว่น นั่นไม่ได้หมายถึงความงกที่หลายๆคนคิดว่าเป็นนิสัยของคนยิว หากแต่ว่ามันเป็นสัญลักษณ์ของความไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่โดยส่วนตัวเมื่อมองตัวละครตัวนี้กลับให้ทรรศนะในมุมกลับ เพราะข้าพเจ้าคิดว่า ปีเตอร์เป็นคนที่น่าสงสาร ที่เขาต้องบังคับเดวิดให้เล่นดนตรีก็เพราะในวัยเด็กเขาไม่มีโอกาสที่จะได้เล่นดนตรี ซึ่งเป็นสิ่งที่เขารัก จึงยัดเยียดให้กับเดวิดและเป็นเพราะเขาหวาดระแวงกับการพลัดพรากดังกล่าวไปแล้วข้างต้น เขาจึงไม่ต้องการให้เดวิดไปเรียนต่อ อาจเป็นเพราะความรักที่มีต่อลูกและไม่คิดว่าใครจะดูแลเดวิดได้ดีเท่าเขา

เดวิดเป็นเด็กที่มีความมุมานะ และมีความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จตามที่พ่อคาดหวัง เขาพลาดการใช้ชีวิตที่สนุกสนานในวัยเด็ก เพราะพ่อไม่ชอบให้ลูกๆไปรู้จักกับคนอื่น และสิ่งที่เขาทำยามว่างก็คือการฝึกซ้อมเปียโน แม้ว่าเพลงของรัคมานีนอฟจะยากขนาดไหน แต่ด้วยความพยายามของเขาก็ทำให้เขาเล่นได้ดี เขาเป็นคนที่กลัวความผิดพลาด กลัวความพ่ายแพ้ซึ่งความรู้สึกด้านลบต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็เพราะการปลูกฝังของปีเตอร์

ความผิดปกติของเดวิดปรากฏในฉากที่นั่งอยู่ในอ่างอาบน้ำ แล้วไม่สามารถควบคุมตัวเองได้จึงถ่ายในอ่างน้ำ แล้วภาพก็ตัดไปที่ก๊อกน้ำที่มีน้ำหยด นี่เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่สื่อให้เห็นถึงความเคร่งครัดของพ่อที่มีมากเกินไป จนทำให้เดวิดไม่ต้องการอยู่ใต้บังคับของพ่อเหมือนกับก๊อกน้ำนั่นเองที่เมื่อบิดเกลียวปิดแน่นๆย่อมมีน้ำรั่วออกมา

เหตุการณ์ดำเนินมาถึงจุดวิกฤติที่เดวิดเลือกตัดสินใจด้วยตนเองโดยการรับทุนไปเรียนดนตรีที่ลอนดอนและเดินออกจากครอบครัว การตัดสินใจในครั้งนี้ทำให้เดวิดเล่นเพลงรัคมานีนอฟที่3ได้ดังใจปรารถนา เขาฝึกฝนและทุ่มเทอย่างมุ่งมั่นเพื่อจะเป็นผู้ชนะบนเวที เดวิดแสดงฝีมือให้ทุกคนประทับใจแต่ทว่าเมื่อการแสดงจบลง เดวิดก็ล้มจากเก้าอี้และเกร็ง ซึ่งเปรียบเสมือนเชือกที่ตึงมากๆ พอถึงจุดๆหนึ่งเชือกก็ขาด

จากเหตุการณ์นี้ทำให้เดวิดมีชีวิตที่ผิดไปจากเดิม จนต้องถูกส่งตัวไปเข้ารับการบำบัดทางจิตที่โรงพยาบาลประสาท เวลาผ่านไปพร้อมๆกับชื่อของเดวิดที่เลือนหายไปจากสังคม และเดวิดก็ปรากฏตัวอีกครั้งที่ร้านอาหารของโรซี่ โดยโรซี่จ้างให้เดวิดเป็นนักดนตรีประจำร้าน พร้อมกับพบรักกับกิลเลียนนักพยากรณ์ชีวิตและแต่งงานกัน จากนั้นชีวิตของเดวิดก็เริ่มดีขึ้นตามลำดับ สภาพจิตใจที่เคยไม่ดีก็ค่อยๆดีขึ้นและกลับมามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอีกครั้ง ซึ่งการกลับมาในครั้งนี้ก็เหมือนชีวิตที่เริ่มส่องสว่างขึ้นอีกครั้งเหมือนกับชื่อภาพยนตร์คือ Shine ซึ่งแปลว่าแสงสว่าง

Shine

รุ่งทิวา

เนื้อเรื่องย่อ – เดวิดที่ เฮลฟ์ก็อดตัวเอกของเรื่องได้เล่นเปียโนมาตั้งแต่เด็กๆโดยได้รับการสนับสนุนจากพ่อของตนที่มีปมในเรื่องดนตรีตั้งแต่เด็กๆ พ่อของเดวิดได้ฝากเดวิดไว้กับอาจารย์สอนดนตรีซึ่งสอนเดวิดจนชนะการแข่งขันหลายครั้ง วันหนึ่งเดวิดได้ทุนไปเรียนต่อด้านดนตรีที่อเมริกาแต่พ่อไม่ให้ไปทำให้เดวิดเสียใจมาก จากนั้นเดวิดได้พบหญิงชราที่เป็นนักเขียนชาวรัสเซีย หล่อนได้เป็นเพื่อนคุยต่างวัยให้เดวิดบ่อยๆ การแข่งขันใหญ่ครั้งต่อมา เดวิดแพ้เป็นครั้งแรกให้กับเพื่อนรุ่นเดียวกันทำให้พ่อโกรธเขามาก หลังจากนั้นเดวิดได้ทุนไปเรียนดนตรีต่อที่อังกฤษซึ่งเดวิดสนใจมากแต่พ่อก็ไม่ให้ไปอีก เดวิดจึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านไปอังกฤษ
เมื่อเดวิดไปเรียน เขามีแววอัจฉริยะจนอาจารย์ที่สอนเปียโนเขาชม วันหนึ่งเขาได้รับเลือกไปเล่นกับวงดนตรีคลาสสิก ซึ่งเขาเลือกเล่นเพลงที่ยากมากแม้ว่าอาจารย์จะห้ามปรามเขาในคราแรกแต่ก็ไม่สำเร็จ เขาซ้อมอย่างหนักและเมื่อแสดงจริงด้วยความยากของจังหวะเพลงทำให้เขาเกร็งมาก เมื่อแสดงจบเขาก็ล้มลงไปบนเวทีนั้น

หลังจากนั้นเดวิดก็ป่วยเป็นโรคประสาท พูดติดๆขัดๆ พูดเรื่องเดิมซ้ำไปซ้ำมา และพูดพึมพำกับตัวเองบ่อยๆแต่ความสามารถในการเล่นเปียโนของเขายังเหมือนเดิม เขาอาศัยอยู่ในบ้านพักผู้ป่วย วันหนึ่งเดวิดได้เดินหลงไปยังร้านอาหารของคนรู้จักสมัยเด็กๆชื่อซิลเวีย จากนั้นเดวิดได้เล่นเปียโนให้ร้านอาหารนั้นมาเรื่อยๆ มีคนจำเขาได้และนำเรื่องนี้ไปลงหนังสือพิมพ์ เมื่อพ่อของเขาได้อ่านหนังสือพิมพ์ก็มาหาเขาแต่ก็ไม่ได้คุยอะไรกันมากมาย เดวิดได้รู้จักกับเพื่อนสาวของซิลเวียและได้แต่งงานกันในที่สุด หลังจากที่แต่งงานเขาก็ได้มีคอนเสิร์ตเดี่ยวเปียโนของเขา ซึ่งผู้ชมในงานนี้มีทั้งแม่ น้องสาว อาจารย์ คู่แข่ง และภรรยาของเขาแต่พ่อของเขาไม่ได้มา ท้ายที่สุดเขาก็พบว่าพ่อของเขาได้เสียชีวิตไปแล้ว

การถ่ายทำของเรื่อง – ด้วยเนื้อหาของภาพยนตร์เกี่ยวกับดนตรี ดังนั้นจะเน้นการใช้ดนตรีคือเสียงเปียโนประกอบการเดินเรื่อง ซึ่งจะเปิดเพลงคลอเมื่อเกิดเหตุการสะเทือนใจ ช่วงแรกๆของภาพยนตร์จะเป็นเพลงช้าๆ และเมื่อเรื่องถึงจุดสุดยอดของเรื่อง (จุดclimax) ที่เดวิดเล่นเปียโนกับวงดนตรี จังหวะของเปียโนจะค่อนข้างเร็วเร้าอารมณ์ของคนดู และท้ายเรื่องดนตรีจะช้าลง
เทคนิคการเดินเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้นั้นจะเป็นการตัดฉาก โดยจะเล่าเรื่องย้อนหลังสลับกับการเล่าเรื่องในปัจจุบัน ส่วนภาพในเรื่องไม่ค่อยมีการเล่นสีสันทำให้ดูโดยรวมภาพยนตร์เรื่องนี้ค่อนข้างหมองหม่นเข้ากับเนื้อหาของเรื่อง

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง –
1.การเลี้ยงดูลูกหากบังคับมากเกินไปอาจทำให้ลูกเกิดความกดดันและเครียดจนอาจเกิดเหตุการณ์อย่างเช่นในภาพยนตร์ได้
2.ดนตรีนั้นเป็นเรื่องของพรสวรรค์และการฝึกซ้อม จากในเรื่องเดวิดมีพรสวรรค์ในด้านเปียโนมาก สังเกตจากการที่ชนะการแข่งขันตั้งแต่เด็กๆ กระนั้นเขาก็ยังต้องซ้อมบ่อยๆ

วัฒนธรรมในเรื่อง -
1.สามีเป็นใหญ่ในบ้าน ภรรยาและลูกๆต้องอยู่ในอำนาจ
2.การอาบน้ำในอ่างนั้น เมื่อผู้อาบใช้เสร็จจะไม่ปล่อยน้ำทิ้ง ผลัดกันอาบในครอบครัวซึ่งแสดงถึงคุณค่าของน้ำ
3.ในช่วงที่เกิดเรื่องในภาพยนตร์นั้น ศาสตร์ด้านดนตรีน่าจะได้รับความนิยมมาก มีการให้ทุนผู้ที่มีความสามารถ มีการประกวดการแข่งขัน และมีการลงหนังสือพิมพ์ด้วย
4.การดูแลคนไร้สมรรถภาพในการใช้ชีวิตในสังคมหรือสวัสดิการในเรื่องดีมาก มีอุปกรณ์ความสะดวกต่างๆครบรวมไปถึงอุปรณ์ให้ความบันเทิง เช่น เปียโน
5.มารยาทในการชมดนตรีคือ เมื่อนักดนตรีเล่นดนตรีจบแล้วต้องให้เกียรติด้วยการปรบมือให้ แต่ถ้าการแสดงถูกใจมากก็จะยืนขึ้นพร้อมกับปรบมือ

ความเห็นส่วนตัว -

หลังจากชมภาพยนตร์เรื่องนี้จบแล้วรู้สึกว่ามีหลายจุดยังไม่ค่อยเข้าใจ อาจจะเพราะว่าไม่มีความรู้ในด้านดนตรี คำศัพท์ในเรื่องบางคำเป็นศัพท์เฉพาะด้านดนตรี เช่น แร็ค3 เป็นต้น บางจุดไม่เข้าใจในการกระทำของตัวละคร เช่น ตอนที่เดวิดทุนไปอเมริกาในครั้งแรกนั้น ด้วยความที่เขาก็สนับสนุนเดวิดในด้านดนตรีแต่แรกและเหมือนว่าเขาจะให้เดวิดไป แต่พอภาพตัดกลับมาเขาก็ไม่ให้เดวิดไป และด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมทำให้บางจุดไม่เข้าใจการกระทำของตัวละคร เช่น การอาบน้ำในอ่างน้ำด้วยกันโดยไม่ปล่อยทิ้ง แต่หลังจากได้คุยกับเพื่อนก็ทำให้เข้าใจมากขึ้น

โดยรวม ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่ค่อนข้างดี ทำให้เข้าใจความรู้สึกและชีวิตของนักดนตรีมากขึ้นคือ กว่าจะมาถึงจุดที่เขาได้รับการยอมรับจากคนอื่น เขาต้องผ่านอะไรมามากมายและด้วยการถ่ายทำก็ทำให้เข้าใจมาขึ้น โดยส่วนตัวชอบตอนที่เดวิดซ้อมเปียโนเพื่อจะไปแสดงร่วมกับวงดนตรี การถ่ายทำแสดงให้เห็นชัดเจนถึงความตั้งใจซ้อมมากรวมไปถึงจังหวะและทำนองของดนตรีซึ่งก็คือเสียงเปียโนในเรื่องไพเราะและเข้ากับช่วงจังหวะการเดินเรื่องมาก

SHINE

มนตรี

“Shine” หรือชื่อภาษาไทยว่า “โชคดีที่สวรรค์ไม่ลำเอียง” เป็นภาพยนตร์สัญชาติออสเตรเลีย ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้นำมาจากบทประพันธ์ของ Jan Sardi “Shine” ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1996 กำกับและเขียนบทภาพยนตร์โดย Scott Hicks และนำแสดงโดย Geoffrey Rush ,Noah Taylor, และArmin Mueller-Stahl

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้รับรางวัล นักแสดงนำยอดเยี่ยม Academy Award จาก Geoffrey Rush นอกจากนั้นยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงอีกหลายสาขา เช่น นักแสดงสบทบชายยอดเยี่ม จาก Armin Mueller-Stahl, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังได้รับรางวัลนักแสดงยอดเยี่ยม จาก The British Academy of Film and Television Arts (BAFTA) และ The Golden Globe Award อีกด้วย ทั้งหมดนี้จึงการันตีได้ว่า “Shine” เป็นภาพยนตร์ที่ดีเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว

ภาพยนตร์เรื่อง “Shine” เป็นเรื่องของเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ชื่อว่า “เดวิด ฮาล์ฟก็อตต์” เขาได้รับการสอนและฝึกฝนให้เล่นเปียโนตั้งแต่เด็กจากพ่อ เดวิดเล่นได้เก่งจนสามารถเข้าแข่งขัน ทำให้ใครหลายๆ คนทึ่งในความสามารถ แม้ไม่ได้รับรางวัล แต่มีกรรมการคนหนึ่งเข้ามา เพื่อจะช่วยสอนเปียโนให้เดวิดเล่นได้เก่งขึ้น ในตอนแรกพ่อของเขาไม่ยอม แต่ภายหลังก็ยอมส่งให้เดวิดไปเรียนเปียโนกับครูคนนั้น จนสามารถเล่นเปียโนได้ดียิ่งขึ้น

เดวิดได้มีโอกาสแข่งขันเปียโนอีกครั้ง คราวนี้เขาไม่ทำให้พ่อและครูผิดหวัง เขาได้รับรางวัลชนะเลิศ จนได้รับทุนไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา แต่พ่อของเขาไม่ให้ไป เพราะอยากให้เดวิดอยู่กับครอบครัว รักครอบครัวเหมือนที่ตนรัก เดวิดจึงรู้สึกเสียใจมาก แต่เขาก็ได้พบผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งเป็นนักเขียนชื่อดังที่ให้ความเอ็นดูเขาแทน หลังจากนั้นเดวิดก็ได้มีโอกาสแข่งขันเปียโนอีกครั้ง คราวนี้เขาได้เพียงรางวัลที่สอง แต่เดวิดก็ได้รับทุนการศึกษาไปโรงเรียนดนตรีที่ลอนดอน แน่นอน คราวนี้พ่อของเขาปฏิเสธไม่ให้เขาไปอีกเช่นเดิม แต่เดวิดตัดสินใจแล้ว ว่าเขาจะไม่ปล่อยให้โอกาสเสียไปอีก จึงทะเลาะกับพ่อ และหนีออกจากบ้านไป

เมื่ออยู่โรงเรียนดนตรี เดวิดได้รับความเอ็นดูจากครูคนหนึ่ง ซึ่งมองเห็นในพรสวรรค์ของเขา ครูคอยสอนประเภทของดนตรีที่เขาอยากเล่น คือ “Rachmaninoff'” ซึ่งมีความยากมากที่สุด และเป็นสิ่งที่พ่อของเขาอยากให้เล่นด้วย เขาได้รับการสอนอย่างเข้มข้นจากครู รวมถึงการฝึกฝนตัวเองอย่างขยันขันแข็ง ในระหว่างนี้เขาก็เขียนจดหมายถึงนักเขียนผู้หญิงที่เขารักเหมือนแม่ แต่เธอก็ตายไปก่อนหน้าที่เขาจะแข่งขัน ส่วนพ่อ เขาโทรหาพ่อ แต่พ่อก็ไม่เคยคุยกับเขา
ด้วยความพยายามอันมาก ในวันแข่งขันเขาเล่นได้ยอดเยี่ยม จนทุกคนที่ได้ฟังต้องลุกขึ้นเพื่อปรบมือให้ แต่เดวิดไม่ทันจะได้ยิน เขาก็ช็อกหมดสติไปเสียก่อน

หลังจากนั้นเดวิดก็กลายเป็นคนที่มีสติไม่ดี ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ในตอนแรกเขาได้รับการดูแลจากโรงพยาบาล จากนั้นเขาก็ได้ไปพักอยู่กับเบริล อัลค็อต แต่เบริลก็ไม่สามารถทนกับพฤติกรรมของเดวิดได้ จนต้องส่งเขาไปอยู่อพาร์ทเมนท์ เขาได้ทำงานในร้านอาหาร เป็นคนเล่นเปียโนให้แขกฟัง ทำให้ทุกคนประทับในตัวของเขามาก

ไม่นานนักเขาก็ได้พบกับเกลเลี่ยน หมอดูซึ่งทำให้เกิดความรัก จนขอเธอแต่งงาน ในตอนแรกเกลเลี่ยนไม่ได้ยอมรับ แต่ภายหลังเธอก็กลับมาหาเดวิด จนทั้งคู่ได้แต่งานกัน ด้วยความรักและกำลังใจของเกลเลี่ยน ทำให้เดวิดกลับมาเล่นเปียโนและสร้างความประทับใจให้ผู้ฟังได้อีกครั้ง ทุกคนล้วนปรบมือให้กับเขา ในคอนเสิร์ตนั้น แม่และน้องสาวของเขามาดูด้วย แต่น่าเสียดายที่พ่อของเขาตายไปก่อน ไม่มีโอกาสได้เห็นแล้ว...

เปิดเรื่องโดย “เดวิด” กำลังเดินอยู่ท่ามกลางสายฝน เขาไล้มือและแนบหน้าเพื่อมองกระจกร้านอาหารร้านหนึ่ง แล้วจึงไปเคาะประตู แต่คนที่อยู่ในร้านบอกว่าปิดแล้ว แต่เขาก็ยังดันทุรังที่จะเข้าไปให้ได้

ฉากและบรรยากาศ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้ผู้ชมรู้สึกได้ตามตัวละครมากขึ้น สถานที่แรกคือ ร้านอาหารแห่งหนึ่ง มีฝนตกและหยดน้ำเกาะอยู่บนกระจกร้าน บรรยากาศที่มืดและหม่นหมอง ทำให้เข้าใจอารมณ์ของตัวละครเอกคือเดวิดได้มากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นเป็นบ้านของเดวิด ซึ่งมีรั้วบ้านที่กั้นทุกด้าน ทำให้เห็นถึงความอยู่ในกรอบ อยู่ในระเบียบ ความไม่ต้องการให้ใครมายุ่งเกี่ยวกับครอบครัวของพ่อเดวิด บ้านที่ดูอึดอัด ชวนให้รู้สึกเครียด ซึ่งแตกต่างกับบ้านของนักเขียนผู้หญิงที่เดวิดนับถือ ซึ่งให้ความอบอุ่นมากกว่า รู้สึกว่ามีความสุขมากกว่า

ฉากและบรรยากาศเป็นสิ่งที่สอดแทรก ทำให้เห็นถึงสัญลักษณ์หลายๆ อย่างในเรื่อง เช่น ก๊อกน้ำที่มักปิดไม่สนิทอยู่เสมอ ทำให้รู้ว่าสิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับเดวิด ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้มากขึ้นทุกที ตั้งแต่เด็ก จนเมื่อโตขึ้น การที่เดวิดถ่ายใส่อ่างอาบน้ำ ที่แสดงให้เห็นถึงการไม่อยากอดทนและต้องการต่อต้านผู้เป็นพ่อ หรือที่เห็นชัดเจนอีกตอนหนึ่งคือตอนที่พ่อของเดวิด เอาเหรียญทองมาแขวนคอให้ แว่นของเขาแตกและติดด้วยเทปกาวใส ซึ่งแว่นนี้แตกตอนที่ทะเลาะกันแล้วเดวิดหนีออกจากบ้าน ทำให้เห็นว่าตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงตอนนี้ พ่อของเขาก็ยังคงเป็นแบบเดิมอยู่ ไม่ได้คิดที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดแต่อย่างใด

ความขัดแย้งในเรื่อง คือ

ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ นั่นคือเดวิดกับพ่อ ซึ่งในตอนแรกที่พ่อของเดวิดต้องการให้เดวิดเข้าแข่งขันเปียโน และเมื่อได้ทุนให้ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา พ่อของเขากลับไม่ให้ไป จนเมื่อได้รับทุนให้ไปศึกษาโรงเรียนดนตรีที่ลอนดอนอีกครั้ง คราวนี้พ่อของเดวิดก็ไม่ยอมให้เขาไปอีก ทำให้เกิดการทะเลาะกันใหญ่โต จนเดวิดตัดสินใจหนีออกจากบ้าน พ่อของเขาก็ประกาศตัดพ่อตัดลูก

ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับจิตใจตนเอง คือพ่อของเดวิด ที่ดูเหมือนว่า เขาเป็นคนที่ต้องการให้ลูกชายของตัวเองเก่ง และได้ดีในการเล่นเปียโน ไม่เหมือนตนเองที่ไม่มีโอกาสนั้นตั้งแต่เด็ก แต่อีกใจก็ไม่อยากให้เดวิดต้องไปอยู่ไหนที่ไกลครอบครัว ต้องการให้รักครอบครัว พร้อมทั้งสอนและปลูกฝังว่าไม่มีใครจริงใจกับเดวิดเท่าตนอีกแล้ว

ตัวละคร

เดวิด เป็นตัวละครที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากภาพยนตร์ต้องการเล่าเรื่องของเด็กชายคนหนึ่งผู้มีพรสวรรค์ทางด้านการเล่นเปียโน เดวิดเป็นเด็กที่เก็บกด เนื่องจากได้รับความกดดันจากพ่อที่คอยบังคับเขาตลอดเวลา ได้รับการปลูกฝังจากพ่อในเรื่องการรักครอบครัว ให้อยู่กับครอบครัวตลอดเวลา ซึ่งยิ่งห้ามเป็นเหมือนยิ่งยุ การบังคับกดดัน ทำให้เขาเตลิดไป จนสุดท้ายหลังจากเขาช็อกจากการเล่นเปียโนจนหมดสติไปนั้น คำพูด หรือการกระทำต่างๆ ที่ได้รับการกดดัน หรือปลูกฝังจาก
พ่อ ภายหลังทำให้เขาแสดงออกมาเหมือนโดยไม่รู้ตัว

ปีเตอร์ (พ่อของเดวิด) เป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเอง เป็นคนหัวเก่า บังคับขู่เข็น เลี้ยงลูกตามความต้องการของตัวเองจนเกินไป ทำให้ลูกเป็นเหมือนตัวแทนของตนเอง เพราะตอนเด็กๆ เขาไม่ได้เล่นดนตรี จึงปลูกฝังให้เดวิดเล่นดนตรีตั้งแต่เด็กนั่นเอง นอกจากนั้นยังเป็นคนที่อารมณ์รุนแรง ทำร้ายร่างกายคนอื่นได้แม้กระทั่งลูกของตน แต่ก็ยังคงมีความรักลูก ทำให้เห็นถึงความรู้สึกของหัวอกคนเป็นพ่ออย่างดี

เกลเลียน ภรรยาของเดวิด ผู้ซึ่งให้การยอมรับในความสามารถของเดวิด ทั้งๆ ที่ในปัจจุบันเดวิดไม่ใช่ผู้ที่มีสติดีแล้ว แต่เธอก็รักในแบบที่เขาเป็น คอยให้กำลังใจ ให้ความรัก จนทำให้เดวิด สามารถเล่นเปียโน ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาได้รักได้อีกครั้ง จนได้รับเสียงปรบมืออย่างยิ่งใหญ่ในคอนเสิร์ต เกลเลี่ยนจึงเป็นเหมือนคนที่ทำให้เดวิด กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อชมภาพยนตร์เรื่อง Shine แล้ว ทำให้รู้สึกว่า “ความรัก” ในบางครั้ง ถ้ามาพร้อมกับ “ความกดดัน” ก็ไม่ได้ทำให้มีความสุขหรือทำให้รู้สึกดีเสมอไป ความรักของพ่อเดวิด แม้จะตั้งใจมอบให้ลูกอย่างจริงใจ แต่การกระทำนั้นกลับมองเห็นถึงความเห็นแก่ตัวที่แฝงอยู่ การกระทำที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ลูกต้องการและมีความสุขที่จะทำ

เดวิดทำให้เห็นว่า “ความสำเร็จ” เกิดได้จากความพยายามและความตั้งใจจริง จนเมื่อกระทำอย่างสุดความสามารถแล้ว ก็จะมองเห็นผลตอบแทนทำให้รู้สึกอิ่มเอมใจ เหมือนสิ่งที่เดวิดกระทำ แม้ที่ผ่านมาในชีวิตจะเจอเหตุการณ์รุนแรงจนทำให้ต้องเสียใจหลายต่อหลายครั้ง แต่มันกลับเป็นความมุ่งมั่นและแรงผลักดันที่ทำให้ต้องก้าวต่อไป รวมถึงความรักของคนรอบข้างที่ทำให้ทุกอย่างดำเนินต่อไปได้ด้วยดี “Shine” แสงสว่าง... ที่ยังมีอยู่เสมอนั่นเอง...

shine

ภัสวดี

“ชายน์ Shine” ภาพยนตร์ฮอลีวู๊ด ปี1996 นำแสดงโดย Geoffrey Rush, Noah Taylor และ Armin Mueller-Stahl กำกับโดย Scott Hicks และโปรดิวส์เซอร์ คือ Jane Scott ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในหลายสาขา เช่น นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม เป็นต้น เรื่องราวการดำเนินชีวิตของตัวละครเอกมีที่มาจากชีวิตจริงของนักเปียโนชาวออสเตรเลีย ผู้มีปัญหาทางจิต David Helfgott จากความมืดมนของชีวิตในสมัยเด็ก สู่ความสำเร็จในชีวิตบั้นปลาย

ภาพยนตร์เปิดฉากด้วยสีดำบนพื้นหลัง ซึ่งสะท้อนถึงความมืดมนในชีวิตของชายคนนี้ ที่มีชื่อว่าเดวิด เดวิดพูดด้วยลักษณะการพูดที่ทราบได้ว่าเป็นอาการไม่ปกติ คือจะพูดติดๆขัดๆซ้ำไปซ้ำมา ในฉากร้านอาหารที่มีผู้ชายใส่แว่นอาการคล้ายคนวิกลจริตวิ่งมาเคาะกระจกหน้าร้าน ภายในร้านมีพนักงานที่นั่งพักผ่อนอยู่หลังจากที่ร้านปิด ภาพยนตร์เรื่องนี้มีการตัดภาพสลับไปมาระหว่างช่วงเวลาเด็กกับช่วงเวลาที่เป็นปัจจุบัน เดวิดเป็นเด็กชายที่เกิดมาในครอบครัวเดี่ยวครอบครัวหนึ่ง ประกอบด้วยพ่อ แม่ พี่สาว เดวิด น้องสาวและน้องเล็กๆอีกคนหนึ่ง ครอบครัวนี้มีพ่อที่เข้มงวดมาก ถือได้ว่าเป็นคนที่ยึดติดกับความคิดของตัวเองเพียงผู้เดียวและยึดติดกับสภาพที่เป็นอยู่ เคยเป็นอย่างไรก็ต้องการให้เป็นเช่นนั้นตลอดไป กล่าวคือ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงนั้นเอง และแม่ก็เป็นผู้ตามที่ดี คือไม่มีปากมีสียง ถึงแม้จะรู้สึกว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ควรจะเกิดขึ้นแต่ก็ไม่กล้าที่จะโต้แย้ง ส่วนลูกๆทุกคนก็ยิ่งไม่มีสิทธ์ที่จะขัดขืน เพราะพ่อเปรียบเสมือนผู้นำครอบครัวแค่เพียงผู้เดียว

เดวิด เป็นเด็กที่มีความสามารถในการเล่นเปียโน เนื่องจากถูกฝึกฝนและเคี่ยวเข็ญโดยผู้เป็นพ่อ ซึ่งต้องการให้บุตรชายเป็นนักเปียโนอันดับหนึ่ง ดูได้จากเมื่อเดวิดเข้าประกวดครั้งใด พ่อมักจะย้ำว่าต้องชนะเท่านั้น หากผลออกมาว่าแพ้พ่อก็จะแสดงออกถึงความเครียดและความผิดหวังเป็นอย่างมาก และทั้งหมดนี้ที่พ่อทำลงไปนั้นก็เพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปของชีวิตพ่อที่มีความชอบในดนตรีแต่ปู่ของเดวิดไม่สนับสนุน เขาเคยซื้อไวโอลินมาตัวหนึ่งแล้วปู่ของเดวิดเอาไปทุบทิ้ง เรื่องนี้เขาเล่าให้ลูกชายฟังทุกครั้งที่เขาต้องการให้เดวิดฝึกฝนมากขึ้น โดยให้เดวิดท่องให้ขึ้นใจว่า เขาเป็นเด็กชายที่โชคดีที่สุดที่ได้มีโอกาสเล่นดนตรี โดยที่พ่อเขาสนับสนุนอย่างเต็มที่ หลายครั้งที่ชัยชนะไม่ได้เป็นของเดวิด แต่ก็มีแมวมองหลายคนมองเห็นในความเป็นอัจฉริยะทางดนตรีของเขา จนวันหนึ่งเขาได้รับทุนไปเรียนดนตรีที่อเมริกา แต่แล้วก็ต้องจบลงเมื่อพ่อไม่อนุญาตให้ไป ด้วยเหตุผลที่ว่าถ้าเขาไปจะขาดจากความเป็นครอบครัวที่ทุกคนต้องอยู่ในบ้านเดียวกันอย่างพร้อมหน้า เมื่ออยู่ในการควบคุมของพ่อมาตลอดครั้งนี้ก็ต้องเป็นเหมือนเช่นเคย

แรงบันดาลใจให้เดวิดกล้าที่จะคิดและทำอะไรนอกกรอบจากที่พ่อของเขาวางไว้ เธอคือนักเขียนม่ายชาวรัสเซีย เธอให้ความอบอุ่นและความเป็นเพื่อนกับเขาเสมือนกับว่าเขาเป็นลูกชายคนหนึ่งของเธอ เธอให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ ซึ่งทั้งหมดแล้วนั้นอาจจะมาจากความโดดเดียวของคนสองที่มาเติมเต็มซึ่งกันและกันอย่างลงตัว คนหนึ่งโดดเดี่ยวตัวคนเดียว ส่วนเดวิดโดดเดี่ยวในความคิด

เขาได้รับทุนไปเรียนสถาบันดนตรีที่ลอนดอนเมื่อเขาเข้าประกวดอีก ซึ่งก็ไม่ต่างจากครั้งก่อนพ่อของเขาไม่อนุญาต ด้วยเหตุผลเดิม แต่ครั้งนี้เดวิดไม่เหมือนเดิมเขายืนยันที่จะไปลอนดอนให้ได้ด้วยการสนับสนุนของอาจารย์ แต่สิ่งที่เขาต้องแลกคือเขาต้องทิ้งครอบครัวและตัดขาดกับพ่อ ที่ลอนดอนเขาแสดงความสามารถให้อาจารย์ท่านหนึ่งได้เห็น และสนับสนุนเขาอย่างจริงจัง เขาพยายามเล่นเพลงของโรมานินอฟ ซึ่งเป็นเพลงที่ยากจนไม่มีใครกล้าพอที่จะเล่นและเป็นเพลงที่พ่อของเขาปรารถนาให้เขาเล่นได้มานานแล้ว เขาฝึกฝนอย่างหนักจนทำให้สามารถเล่นเพลงนี้ได้อย่างชำนาญ

ด้วยความกดดันที่สั่งสมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เดวิดพลาดโอกาสที่จะเห็นความสำเร็จของตัวเอง เนื่องจากเขาหมดสติไปหลังจากที่ประกวดเพลงนี้เสร็จ เมื่อตื่นขึ้นมาเขาไม่ใช่คนเดิมอีกแล้ว เขามีอาการทางประสาทจนต้องอยู่ในโรงพยาบาล แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงในตัวเขาคือ ความสามารถในการเล่นเปียโน ดังนั้นนักเปียโนในโบสถ์คนหนึ่งรับอุปการะเขา ด้วยปัญหาทางจิตทำให้เขาสร้างความเดือดร้อนจนไม่สามารถอยู่ร่วมกับใครได้ จนกระทั่งพบเพื่อนสมัยเด็กคนหนึ่งที่ร้านอาหาร ซิลเวียรับอุการะเขาไว้และให้เขาไปเล่นเปียโนที่ร้านอาหารที่เธอทำงานอยู่ ไม่นานเดวิดก็ได้แต่งงานกับเพื่อนของซิลเวียและเธอคนนี้ เป็นคู่ชีวิตที่คอยดูแลและผลักดันให้เขาลุกขึ้นยืนได้อีกครั้ง โดยสนับสนุนทุกอย่างที่เดวิดอยากจะทำ จนกระทั่งเขาได้มีคอนเสิร์ตของตัวเองอีกครั้ง ท่ามกลางคนที่เขารักและคนที่รักเขา แม้จะปราศจากพ่อของเขาก็ตามที เดวิดทำในสิ่งที่ตัวเขาต้องการคือเล่นเปียโนด้วยเพลงที่เขาอยากเล่น และได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี

ปิดเรื่องด้วยฉากสุสาน ที่เดวิดมาพร้อมกับภรรยาของเขา ซึ่งสื่อให้ผู้ชมรู้ว่าพ่อของเดวิดเสียชีวิตแล้ว แสดงให้เห็นว่าถึงวันที่เขาประสบความสำเร็จอีกครั้ง พ่อก็ยังอยู่ในใจเขาเสมอ แม้ว่าพ่อของเขานั้นจะไม่ยอมรับเขาแล้วก็ตาม

ภาพยนตร์เรื่องนี้มีตัวละครหลายตัวที่น่าสนใจ และทำให้น่าติดตาม

พ่อของเดวิดก็เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์มากมาย หากพ่อของเขาไม่เป็นคนยึดติดที่ชอบตีกรอบให้คนอื่นเดินตาม เป็นพ่อแบบพ่อทั่วไปที่สนับสนุนในสิ่งที่ลูกต้องการอย่างไม่เข้มงวด เส้นทางชีวิตของเดวิดอาจจะไม่ได้เป็นนักเปียโนก็เป็นได้

แม่ก็ป็นอีกตัวละครหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้เดวิดเป็นเด็กเก็บกด ถึงแม้จะรักลูกมากก็ตามแต่ก็ไม่เคยโต้แย้งสิ่งที่พ่อบงการให้ลูกทุกคนทำตาม ภรรยาของเดวิดก็เป็นตัวละครสำคัญที่ทำให้ชีวิตของเขากลับมาสดใสอีกครั้ง ด้วยความรักที่คอยดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีและส่งเสริมในสิ่งที่เดวิดรัก

“ชายน์” มีสัญลักษณ์แฝงอยู่มาก ซึ่งทำให้หนังเรื่องนี้มีความพิเศษมากกว่าเรื่องอื่นๆ เช่น
เมื่อเดวิดประกวดแพ้ พ่อจึงเกิดความไม่พอใจ เขาเดินตามพ่อกลับบ้านด้วยอาการของเด็กเก็บกด แต่เมื่อผ่านสนามที่เด็กๆเล่นกระโดดกัน ท่าเดินของเขาก็เปลี่ยนเป็นท่าแขยงกระโดดแบบเด็กๆ แสดงถึงธรรมชาติของเด็กที่ถูกกดไว้มานาน จนเมื่อเขามีอาการทางจิต บางช่วงเวลาเขาก็ยังทำอาการเช่นนี้

แว่นตาของพ่อที่แตกแต่ก็ไม่ยอมเปลี่ยน แสดงถึงความเป็นคนยึดติดกับความคิดเดิมๆอยู่กับสิ่งเดิมๆ ไม่อยากเปลี่ยนแปลงอะไร ซึ่งเป็นนิสัยที่ตัวละครแสดงออกมาได้อย่างชักเจน และน่าคิดมาก

เดวิดได้ถุงมือจากนักเขียนที่เขาเคารพและรักมาก แต่เมื่อเขาต้องการฝึกเพลงโรนินอฟ เขายอมตัดปลายนิ้วทั้ง 5 ออกไปเพื่อความถนัดในการเล่นเปียโน ซึ่งการกระทำช่นนี้ของเดวิดนั้นแสดงถึงการยอมสละของที่เขารักเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ เหมือนการที่ยอดตัดครอบครัวย้ายมาอยู่ลอนดอนเพื่อทำตามฝันของตัวเองนั้นเอง

ภาพยนตร์เรื่องนี้หากท่านได้ชมแล้วจะสร้างความประทับใจต่อท่านในหลายแง่มุม นักแสดงนำสามารถถ่ายทอดบทบาทและอารมณ์ของตัวละครนั้นได้อย่างดี จนทำให้ผู้ชมเข้าถึงอารมณ์ในช่วงเวลานั้นๆได้ แต่อาจมีบางแง่มุมที่เข้าใจได้ยาก แต่โดยรวมแล้วชายน์เป็นภาพยนตร์ที่น่าชมเรื่องหนึ่ง เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของสังคม เพราะชีวิตคนเราไม่ได้สมบูรณ์แบบไปทั้งหมด แต่ไม่ว่าชีวิตที่ดำเนินอยู่นั้นจะเลวร้ายเพียงใด หากเพียงแต่เรามีความตั้งใจ ฟ้าหลังฝนก็สวยงามเสมอ เช่นเดียวกับเดวิดที่ไม่ว่าชีวิตจะเลวร้ายและยากลำบากเพียงใด เพียงแค่เขาตั้งใจทุกอย่างก็จะสำเร็จ สมกลับชื่อ ชายน์ โชคดีที่สวรรค์ไม่ลำเอียง

SHINE

ภัทราพร



Shine ผลงานการกำกับของ สก็อต ฮิคค์ เข้าฉายในปี 1996 เป็นภาพยนตร์ซึ่งสร้างขึ้นมาจากชีวิตจริงของเดวิด เฮลฟ์ก็อต นักเปียโนชาวออสเตรเลียผู้ซึ่งมีปัญหาทางจิตและได้ผ่านความโหดร้ายในชีวิตมากมาย ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลอคาเดมี อวอร์ดส์ ประจำปี 1997 สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมโดยเจฟฟรี่ รัช ผู้รับบทเป็นเดวิดตอนแก่และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลต่างๆอีกมากมาย ทั้งรางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ตัดต่อภาพยอดเยี่ยม นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยมและภาพยนตร์ยอดเยี่ยม


Shine เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเดวิด เด็กชายผู้มีพรสวรรค์ในการเล่นเปียโน พ่อของเขาพยายามเคี่ยวเข็ญให้เดวิดหมั่นฝึกซ้อมการเล่นเปียโนและเข้าแข่งขันในรายการต่างๆ เพื่อทดแทนความฝันของตนที่ไม่มีโอกาสเล่นดนตรี โดยไม่สนใจว่าเดวิดจะมีความสามารถเพียงพอที่จะเล่นเพลงยากๆได้หรือไม่ เดวิดผ่านการประกวดหลายครั้งและสามารถเอาชนะมาได้ จนกระทั่งได้รับทุนไปศึกษาต่อยังสถาบันสอนวิชาดนตรีชื่อดังที่ประเทศอเมริกา แต่พ่อของเดวิดไม่ยอมให้ไป ต่อมาเดวิดได้มีโอกาสพบกับนักเขียนชื่อดัง แคทเธอรีน พลิชาร์ด และเดวิดก็ได้ไปเล่นดนตรีให้เธอฟังอยู่บ่อยๆ จนเกิดเป็นความผูกพันและเป็นที่พักพิงทางใจของเดวิด เธอคอยให้กำลังใจเดวิดเสมอทำให้เดวิดมีความเข้มแข็งมากขึ้น และสามารถตัดสินใจเลือกที่จะไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ เมื่อมีจดหมายเชิญให้เขาไปศึกษาต่อในสถาบันดนตรี โดยไม่สนใจคำคัดค้านของพ่อจนถึงกับตัดพ่อตัดลูกกัน


ระหว่างที่เขาอยู่ที่อังกฤษ เดวิดได้รับการฝึกฝนอย่างหนักจากอาจารย์ชื่อดังจนสามารถเล่นเพลงที่ยากที่สุดได้และได้ขึ้นแสดงร่วมกับวงออเคสตร้า แต่เมื่อเขาบรรเลงเพลงจบก็ล้มลงหมดสติกลางเวที จากนั้นก็ได้รับการรักษาแต่ไม่ประสบผลสำเร็จและเขาต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชเป็นเวลานาน หลังจากที่เขาออกจากโรงพยาบาลก็ได้ไปพักอาศัยอยู่กับเบริล อัลค็อต แต่ด้วยพฤติกรรมของเดวิด ทำให้เบริล ลำบากใจอย่างมาก และไม่สามารถดูแลเดวิดต่อไปได้ จึงได้ส่งเดวิดไปอยู่ที่อพาร์ทเมนท์แห่งหนึ่ง เดวิดเล่นเปียโนบ่อยเกินไป จนทำให้เจ้าของอพาร์ทเมนท์รำคาญ จึงถูกล็อคเปียโนไว้ ทำให้เขาต้องเดินทางออกตามหาเปียโนไปจนพบเปียโนในร้านอาหารแห่งหนึ่งซึ่งก็ทำให้เขาได้เล่นเปียโนในร้านนั้นและเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า ต่อมาไม่นานเขาก็ได้พบกับกิลเลียน หญิงสาวซึ่งได้เห็นความดี ความน่ารัก อารมณ์ขัน และความสามารถทางดนตรีของเดวิดจนเกิดความประทับใจและแปรเปลี่ยนกลายเป็นความรัก จนในที่สุดทั้งสองก็ได้แต่งงานกัน และด้วยความรักและความเข้าใจจากกิลเลียนทำให้เดวิดสามารถหวนกลับมาเล่นเปียโน และสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังได้อีกครั้ง


ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดเรื่องที่เดวิดตัวละครเอกของเรื่อง กำลังพูดอะไรบางอย่างกับตัวเองซึ่งการพูดของเดวิดนั้นค่อนข้างเร็วและฟังไม่ได้ศัพท์ จุดนี้ทำให้เห็นได้ว่าเดวิดนั้นมีอาการผิดปกติ และต่อด้วยฉากที่เดวิดเดินฝ่าสายฝนไปเคาะประตูร้านอาหารแห่งหนึ่งเพื่อที่จะขอเล่นเปียโน และการพูดของเขาก็เป็นการย้ำให้เห็นว่าเดวิดนั้นมีอาการผิดปกติจริงๆ ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ผู้ชมอยากรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เดวิดมีอาการเช่นนี้ และเรื่องก็ได้มีการตัดฉากสลับกันไปมาระหว่างชีวิตในอดีตและปัจจุบันของเดวิดเพื่อบอกเล่าเหตุการณ์และสิ่งที่เดวิดต้องเผชิญมา รวมทั้งสาเหตุที่ทำให้เขามีอาการผิดปกติทางจิต


เดวิด ตัวละครเอกของเรื่องเป็นเด็กที่ค่อนข้างเก็บกด เนื่องจากเขาถูกพ่อบังคับให้ฝึกซ้อมเปียโนอย่างหนักและควบคุมความคิด การตัดสินใจของเขา เดวิดไม่มีโอกาสที่จะเลือกทำอะไรที่ตนเองพอใจเลย เขาจะทำทุกอย่างที่พ่อของเขาเห็นว่าดี ซึ่งการที่เขาถูกบังคับนี้เองก็ส่งผลให้เขาเป็นคนที่ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเองและไม่มีความมั่นใจ เมื่อเขาถูกบังคับมากๆ จนถึงขีดสุดของความอดทนเดวิดจึงมีอาการผิดปกติทางร่างกายคือเขาถ่ายอุจจาระลงในอ่างอาบน้ำ ฉากนี้มีการใช้สัญลักษณ์แทนตัวเดวิด คือ ก๊อกน้ำที่ปิดไม่สนิทและมีน้ำรั่วออกมาตลอดเวลา ซึ่งก็เหมือนตัวเดวิดที่ถูกบังคับกดดัน จนในที่สุดก็ไม่สามารถควบคุมร่างกายตัวเองได้ นอกจากนี้ผลจากการที่เขาถูกบังคับยังทำให้เขาเป็นจริงจังและกดดันตัวเองโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าเขาจะตัดขาดจากพ่อและมาเรียนดนตรีที่อังกฤษแล้วก็ตาม เขายังคงพยายามที่จะเล่นเพลงยากๆ และฝึกซ้อมอย่างหนัก จนเริ่มเกิดอาการผิดปกติทางจิต และในการแสดงครั้งสุดท้ายเขาก็ล้มลงหมดสติกลางเวที


หากมองให้ลึกลงไป การที่เขายังคงฝึกอย่างหนัก อาจเป็นเพราะเขายังปรารถนาที่จะให้พ่อยอมรับและภาคภูมิใจในตัวเขา โดยเขาเลือกฝึกเพลงของแร็คมานินอฟ ซึ่งเป็นเพลงที่พ่อของเขาต้องการให้เขาเล่นตั้งแต่วัยเด็ก เบื้องลึกในจิตใจของเขาอาจปรารถนาที่จะกลับไปหาพ่อและครอบครัวของเขาอีกครั้งก็เป็นได้


สำหรับพ่อของเดวิดนั้น ก็เป็นอีกตัวละครหนึ่งที่น่าสนใจและมีบทบาทโดดเด่นไม่แพ้ตังละครเอกอย่างเดวิด พ่อของเดวิดแม้ดูแล้วจะเป็นตัวละครที่มีพฤติกรรมไม่ดีเท่าไร แต่เขาก็เป็นคนที่รักครอบครัวมาก เพียงแต่ความรักของเขาเป็นความรักที่เห็นแก่ตัว เขาไม่เคยเปิดโอกาสให้ลุกตัดสินใจด้วยตัวเองเลย อีกทั้งยังเอาความกดดันที่ตนได้รับในวัยเด็กมาปลดปล่อยกับลูก ในวัยเด็กเขาอยากเล่นดนตรีแต่ถูกพ่อขัดขวางโดยการทุบไวโอลินที่เขาออมเงินซื้อมา เขาจึงบังคับให้เดวิดฝึกฝนและเอาชนะผู้อื่นโดยมองข้ามความรู้สึกและจิตใจของลูก นอกจากนี้พ่อของเดวิดยังเป็นคนที่ยึดมั่นในความคิดตนเอง ไม่เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ โดยจะเห็นได้จากฉากที่เขาไปหาเดวิดที่ห้องพักและเอาเหรียญรางวัลไปคล้องให้ แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะอย่างไร เขาก็ยังคงต้องการให้เดวิดแข่งขันและเอาชนะ เหรียญรางวัลอาจเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการแข่งขันและเอาชนะ นอกจากนี้พ่อของเดวิดก็ยังคงใส่แว่นตาอันเดิมที่แตกร้าวและมีเทปใสติดไว้ นี่ก็เป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งที่ทำให้เห็นว่าไม่ว่าจะนานเท่าไร เขาก็ยังคงไม่เปลี่ยนความคิดและยึดติดอยู่กับสิ่งเดิมๆ แต่ลึกลงไป ฉากนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความรักที่พ่อมีต่อเดวิด แม้เขาจะไม่ยอมรับแต่ก็ยังคงรักเดวิดไม่เปลี่ยนแปลง


ในเรื่องนี้นอกจากความขัดแย้งระหว่างเดวิดกับพ่อของเขาที่เห็นได้เด่นชัดแล้ว ก็ยังมีความขัดแย้งในจิตใจของตัวละครปรากฏให้เห็นด้วย โดยที่ตัวเดวิดนั้นจะเห็นได้ชัดจากตอนที่เขาต้องเลือกตัดสินใจว่าจะทำตามความฝันของตนโดยการไปเรียนต่อที่อังกฤษหรือเลือกที่จะทำตามความต้องการของพ่อและอยู่กับครอบครัวต่อไป แต่ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจไปเรียนตามความฝันของตนและตัดขาดกับครอบครัว นอกจากนี้พ่อของเดวิดก็มีความขัดแย้งในจิตใจเช่นกัน คือ ตัวเขาเองต้องการที่จะให้ลูกประสบความสำเร็จชนะการแข่งขันและเล่นเพลงยากๆ ตามที่เขาต้องการ แต่เมื่อเดวิดมีโอกาสไปเรียนต่อเขากลับห้ามไม่ให้เดวิดไปโดยยกเหตุผลเรื่องครอบครัวมาอ้างว่าถ้าเดวิดไปแล้วจะทำให้ครอบครัวแตกแยก


จุดไคลแม็กซ์ของเรื่องนี้อยู่ที่ฉากการเล่นเปียโนร่วมกับวงออเคสตร้าของเดวิด การเล่นครั้งนี้ทำให้ผู้ชมลุ้นระทึกว่าเดวิดจะสามารถไปถึงจุดสูงสุดของชีวิตการเล่นเปียโนได้หรือไม่ เพระเพลงที่เขาเลือกคือ คอนเซอร์โตหมายเลขสาม ของแร็คมานินอฟ ซึ่งถือว่าเป็นเพลงที่ยากที่สุด ในฉากนี้เราจะเห็นได้ว่าเดวิดเล่นได้ดีมาก แต่ร่างกายของเขาเริ่มแสดงอาการผิดปกติออกมา และเมื่อเขาบรรเลงเพลงจบก็ล้มลงหมดสติกลางเวที แม้ว่าท้ายที่สุดจะต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจิตเวช แต่ชีวิตของเดวิดก็ถือได้ว่ามาถึงจุดสูงสุดแล้ว


เมื่อเรื่องราวชีวิตในวัยหนุ่มของเดวิดจบลงและเรื่องได้ดำเนินมาจนบรรจบกับเหตุการณ์ในตอนเปิดเรื่องที่เขาเดินฝ่าสายฝนไปเคาะประตูร้านอาหารแล้ว ชีวิตของเดวิดก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เหมือนสายฝนได้ชำระล้างความทุกข์ออกไปจากชีวิตเขาแล้วจนหมดสิ้น เขาได้กลับมาเล่นเปียโนอีกครั้งและได้พบเจอกับชีวิตที่มีความสุข ในครั้งนี้เขาเลือกที่จะเล่นเปียโนเพราะใจของเขารัก โหยหาที่จะได้สัมผัสและต้องการเล่นเพื่อให้ความสุขแก่ผู้ฟัง รางวัลที่เขาได้รับในครั้งนี้ไม่ใช่เหรียญทองหรือรางวัลใดๆ ทั้งสิ้นแต่เป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตศิลปิน นั่นก็คือความชื่นชมและยอมรับในผลงานของเขา


เรื่องราวของเดวิด เฮลฟ์ก็อต อาจทำให้หลายๆ คนได้ตระหนักถึงความรักในหลายๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความรักแบบเห็นแก่ตัวของพ่อเดวิดซึ่งทำให้ชีวิตลูกชายที่เขารักต้องพบเจอกับชะตากรรมอันโหดร้าย หรือความรักของกิลเลียนภรรยาของเดวิดที่รักในสิ่งที่เดวิดเป็นทำให้เขามีกำลังใจจนสามารถกลับมาเล่นเปียโนบนเวทีได้อีกครั้ง ความรักแม้จะเป็นความรักเหมือนกันแต่กลับเปลี่ยนแปลงชีวิตคนคนหนึ่งได้ไม่เหมือนกัน และความรักที่มาพร้อมกับความเข้าใจนั้นก็ทำให้ชีวิตของเดวิดดีขึ้น หลังจากที่ต้องอยู่กับความมืดมนในชีวิตมานาน นอกจากนี้ยังให้แง่คิดเกี่ยวกับการเลี้ยงดูของคนในครอบครัวอีกด้วย เด็กควรมีโอกาสได้เลือกทางเดินของตน เลือกที่จะทำตามความฝันของตนมากกว่าที่จะต้องทำตามความฝันของพ่อแม่ คนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องได้ทำในสิ่งที่ตนอยากจะทำ เหมือนกับเดวิดดวงดาวที่เปล่งประกายฉายแววเป็นนักเปียโนผู้ยิ่งใหญ่ แต่กลับไม่มีโอกาสที่จะได้ทอแสงเจิดจรัสบนฟากฟ้าเพราะเส้นทางการเป็นนักเปียโนของเขาถูกปิดกั้นด้วยจิตใจที่คับแคบของพ่อ แต่เมื่อเขาได้ตัดสินใจที่จะทำตามความต้องการของตัวเอง ชีวิตของเขาก็กลับมาส่องแสงสว่างสดใสอีกครั้ง

SHINE

ภัทราภรณ์

Shine ผลงานการกำกับของ สก็อต ฮิคค์ เข้าฉายในปี 1996 เป็นภาพยนตร์ซึ่งสร้างขึ้นมาจากชีวิตจริงของเดวิด เฮลฟ์ก็อต นักเปียโนชาวออสเตรเลียผู้ซึ่งมีปัญหาทางจิตและได้ผ่านความโหดร้ายในชีวิตมากมาย ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลอคาเดมี อวอร์ดส์ ประจำปี 1997 สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมโดยเจฟฟรี่ รัช ผู้รับบทเป็นเดวิดตอนแก่และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลต่างๆอีกมากมาย ทั้งรางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ตัดต่อภาพยอดเยี่ยม นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยมและภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

Shine เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเดวิด เด็กชายผู้มีพรสวรรค์ในการเล่นเปียโน พ่อของเขาพยายามเคี่ยวเข็ญให้เดวิดหมั่นฝึกซ้อมการเล่นเปียโนและเข้าแข่งขันในรายการต่างๆ เพื่อทดแทนความฝันของตนที่ไม่มีโอกาสเล่นดนตรี โดยไม่สนใจว่าเดวิดจะมีความสามารถเพียงพอที่จะเล่นเพลงยากๆได้หรือไม่ เดวิดผ่านการประกวดหลายครั้งและสามารถเอาชนะมาได้ จนกระทั่งได้รับทุนไปศึกษาต่อยังสถาบันสอนวิชาดนตรีชื่อดังที่ประเทศอเมริกา แต่พ่อของเดวิดไม่ยอมให้ไป ต่อมาเดวิดได้มีโอกาสพบกับนักเขียนชื่อดัง แคทเธอรีน พลิชาร์ด และเดวิดก็ได้ไปเล่นดนตรีให้เธอฟังอยู่บ่อยๆ จนเกิดเป็นความผูกพันและเป็นที่พักพิงทางใจของเดวิด เธอคอยให้กำลังใจเดวิดเสมอทำให้เดวิดมีความเข้มแข็งมากขึ้น และสามารถตัดสินใจเลือกที่จะไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ เมื่อมีจดหมายเชิญให้เขาไปศึกษาต่อในสถาบันดนตรี โดยไม่สนใจคำคัดค้านของพ่อจนถึงกับตัดพ่อตัดลูกกัน

ระหว่างที่เขาอยู่ที่อังกฤษ เดวิดได้รับการฝึกฝนอย่างหนักจากอาจารย์ชื่อดังจนสามารถเล่นเพลงที่ยากที่สุดได้และได้ขึ้นแสดงร่วมกับวงออเคสตร้า แต่เมื่อเขาบรรเลงเพลงจบก็ล้มลงหมดสติกลางเวที จากนั้นก็ได้รับการรักษาแต่ไม่ประสบผลสำเร็จและเขาต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชเป็นเวลานาน หลังจากที่เขาออกจากโรงพยาบาลก็ได้ไปพักอาศัยอยู่กับเบริล อัลค็อต แต่ด้วยพฤติกรรมของเดวิด ทำให้เบริล ลำบากใจอย่างมาก และไม่สามารถดูแลเดวิดต่อไปได้ จึงได้ส่งเดวิดไปอยู่ที่อพาร์ทเมนท์แห่งหนึ่ง เดวิดเล่นเปียโนบ่อยเกินไป จนทำให้เจ้าของอพาร์ทเมนท์รำคาญ จึงถูกล็อคเปียโนไว้ ทำให้เขาต้องเดินทางออกตามหาเปียโนไปจนพบเปียโนในร้านอาหารแห่งหนึ่งซึ่งก็ทำให้เขาได้เล่นเปียโนในร้านนั้นและเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า ต่อมาไม่นานเขาก็ได้พบกับกิลเลียน หญิงสาวซึ่งได้เห็นความดี ความน่ารัก อารมณ์ขัน และความสามารถทางดนตรีของเดวิดจนเกิดความประทับใจและแปรเปลี่ยนกลายเป็นความรัก จนในที่สุดทั้งสองก็ได้แต่งงานกัน และด้วยความรักและความเข้าใจจากกิลเลียนทำให้เดวิดสามารถหวนกลับมาเล่นเปียโน และสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังได้อีกครั้ง

ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดเรื่องที่เดวิดตัวละครเอกของเรื่อง กำลังพูดอะไรบางอย่างกับตัวเองซึ่งการพูดของเดวิดนั้นค่อนข้างเร็วและฟังไม่ได้ศัพท์ จุดนี้ทำให้เห็นได้ว่าเดวิดนั้นมีอาการผิดปกติ และต่อด้วยฉากที่เดวิดเดินฝ่าสายฝนไปเคาะประตูร้านอาหารแห่งหนึ่งเพื่อที่จะขอเล่นเปียโน และการพูดของเขาก็เป็นการย้ำให้เห็นว่าเดวิดนั้นมีอาการผิดปกติจริงๆ ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ผู้ชมอยากรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เดวิดมีอาการเช่นนี้ และเรื่องก็ได้มีการตัดฉากสลับกันไปมาระหว่างชีวิตในอดีตและปัจจุบันของเดวิดเพื่อบอกเล่าเหตุการณ์และสิ่งที่เดวิดต้องเผชิญมา รวมทั้งสาเหตุที่ทำให้เขามีอาการผิดปกติทางจิต

เดวิด ตัวละครเอกของเรื่องเป็นเด็กที่ค่อนข้างเก็บกด เนื่องจากเขาถูกพ่อบังคับให้ฝึกซ้อมเปียโนอย่างหนักและควบคุมความคิด การตัดสินใจของเขา เดวิดไม่มีโอกาสที่จะเลือกทำอะไรที่ตนเองพอใจเลย เขาจะทำทุกอย่างที่พ่อของเขาเห็นว่าดี ซึ่งการที่เขาถูกบังคับนี้เองก็ส่งผลให้เขาเป็นคนที่ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเองและไม่มีความมั่นใจ เมื่อเขาถูกบังคับมากๆ จนถึงขีดสุดของความอดทนเดวิดจึงมีอาการผิดปกติทางร่างกายคือเขาถ่ายอุจจาระลงในอ่างอาบน้ำ ฉากนี้มีการใช้สัญลักษณ์แทนตัวเดวิด คือ ก๊อกน้ำที่ปิดไม่สนิทและมีน้ำรั่วออกมาตลอดเวลา ซึ่งก็เหมือนตัวเดวิดที่ถูกบังคับกดดัน จนในที่สุดก็ไม่สามารถควบคุมร่างกายตัวเองได้ นอกจากนี้ผลจากการที่เขาถูกบังคับยังทำให้เขาเป็นจริงจังและกดดันตัวเองโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าเขาจะตัดขาดจากพ่อและมาเรียนดนตรีที่อังกฤษแล้วก็ตาม เขายังคงพยายามที่จะเล่นเพลงยากๆ และฝึกซ้อมอย่างหนัก จนเริ่มเกิดอาการผิดปกติทางจิต และในการแสดงครั้งสุดท้ายเขาก็ล้มลงหมดสติกลางเวที

หากมองให้ลึกลงไป การที่เขายังคงฝึกอย่างหนัก อาจเป็นเพราะเขายังปรารถนาที่จะให้พ่อยอมรับและภาคภูมิใจในตัวเขา โดยเขาเลือกฝึกเพลงของแร็คมานินอฟ ซึ่งเป็นเพลงที่พ่อของเขาต้องการให้เขาเล่นตั้งแต่วัยเด็ก เบื้องลึกในจิตใจของเขาอาจปรารถนาที่จะกลับไปหาพ่อและครอบครัวของเขาอีกครั้งก็เป็นได้

สำหรับพ่อของเดวิดนั้น ก็เป็นอีกตัวละครหนึ่งที่น่าสนใจและมีบทบาทโดดเด่นไม่แพ้ตังละครเอกอย่างเดวิด พ่อของเดวิดแม้ดูแล้วจะเป็นตัวละครที่มีพฤติกรรมไม่ดีเท่าไร แต่เขาก็เป็นคนที่รักครอบครัวมาก เพียงแต่ความรักของเขาเป็นความรักที่เห็นแก่ตัว เขาไม่เคยเปิดโอกาสให้ลุกตัดสินใจด้วยตัวเองเลย อีกทั้งยังเอาความกดดันที่ตนได้รับในวัยเด็กมาปลดปล่อยกับลูก ในวัยเด็กเขาอยากเล่นดนตรีแต่ถูกพ่อขัดขวางโดยการทุบไวโอลินที่เขาออมเงินซื้อมา เขาจึงบังคับให้เดวิดฝึกฝนและเอาชนะผู้อื่นโดยมองข้ามความรู้สึกและจิตใจของลูก นอกจากนี้พ่อของเดวิดยังเป็นคนที่ยึดมั่นในความคิดตนเอง ไม่เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ โดยจะเห็นได้จากฉากที่เขาไปหาเดวิดที่ห้องพักและเอาเหรียญรางวัลไปคล้องให้ แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะอย่างไร เขาก็ยังคงต้องการให้เดวิดแข่งขันและเอาชนะ เหรียญรางวัลอาจเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการแข่งขันและเอาชนะ นอกจากนี้พ่อของเดวิดก็ยังคงใส่แว่นตาอันเดิมที่แตกร้าวและมีเทปใสติดไว้ นี่ก็เป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งที่ทำให้เห็นว่าไม่ว่าจะนานเท่าไร เขาก็ยังคงไม่เปลี่ยนความคิดและยึดติดอยู่กับสิ่งเดิมๆ แต่ลึกลงไป ฉากนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความรักที่พ่อมีต่อเดวิด แม้เขาจะไม่ยอมรับแต่ก็ยังคงรักเดวิดไม่เปลี่ยนแปลง

ในเรื่องนี้นอกจากความขัดแย้งระหว่างเดวิดกับพ่อของเขาที่เห็นได้เด่นชัดแล้ว ก็ยังมีความขัดแย้งในจิตใจของตัวละครปรากฏให้เห็นด้วย โดยที่ตัวเดวิดนั้นจะเห็นได้ชัดจากตอนที่เขาต้องเลือกตัดสินใจว่าจะทำตามความฝันของตนโดยการไปเรียนต่อที่อังกฤษหรือเลือกที่จะทำตามความต้องการของพ่อและอยู่กับครอบครัวต่อไป แต่ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจไปเรียนตามความฝันของตนและตัดขาดกับครอบครัว นอกจากนี้พ่อของเดวิดก็มีความขัดแย้งในจิตใจเช่นกัน คือ ตัวเขาเองต้องการที่จะให้ลูกประสบความสำเร็จชนะการแข่งขันและเล่นเพลงยากๆ ตามที่เขาต้องการ แต่เมื่อเดวิดมีโอกาสไปเรียนต่อเขากลับห้ามไม่ให้เดวิดไปโดยยกเหตุผลเรื่องครอบครัวมาอ้างว่าถ้าเดวิดไปแล้วจะทำให้ครอบครัวแตกแยก

จุดไคลแม็กซ์ของเรื่องนี้อยู่ที่ฉากการเล่นเปียโนร่วมกับวงออเคสตร้าของเดวิด การเล่นครั้งนี้ทำให้ผู้ชมลุ้นระทึกว่าเดวิดจะสามารถไปถึงจุดสูงสุดของชีวิตการเล่นเปียโนได้หรือไม่ เพระเพลงที่เขาเลือกคือ คอนเซอร์โตหมายเลขสาม ของแร็คมานินอฟ ซึ่งถือว่าเป็นเพลงที่ยากที่สุด ในฉากนี้เราจะเห็นได้ว่าเดวิดเล่นได้ดีมาก แต่ร่างกายของเขาเริ่มแสดงอาการผิดปกติออกมา และเมื่อเขาบรรเลงเพลงจบก็ล้มลงหมดสติกลางเวที แม้ว่าท้ายที่สุดจะต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจิตเวช แต่ชีวิตของเดวิดก็ถือได้ว่ามาถึงจุดสูงสุดแล้ว

เมื่อเรื่องราวชีวิตในวัยหนุ่มของเดวิดจบลงและเรื่องได้ดำเนินมาจนบรรจบกับเหตุการณ์ในตอนเปิดเรื่องที่เขาเดินฝ่าสายฝนไปเคาะประตูร้านอาหารแล้ว ชีวิตของเดวิดก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เหมือนสายฝนได้ชำระล้างความทุกข์ออกไปจากชีวิตเขาแล้วจนหมดสิ้น เขาได้กลับมาเล่นเปียโนอีกครั้งและได้พบเจอกับชีวิตที่มีความสุข ในครั้งนี้เขาเลือกที่จะเล่นเปียโนเพราะใจของเขารัก โหยหาที่จะได้สัมผัสและต้องการเล่นเพื่อให้ความสุขแก่ผู้ฟัง รางวัลที่เขาได้รับในครั้งนี้ไม่ใช่เหรียญทองหรือรางวัลใดๆ ทั้งสิ้นแต่เป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตศิลปิน นั่นก็คือความชื่นชมและยอมรับในผลงานของเขา

เรื่องราวของเดวิด เฮลฟ์ก็อต อาจทำให้หลายๆ คนได้ตระหนักถึงความรักในหลายๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความรักแบบเห็นแก่ตัวของพ่อเดวิดซึ่งทำให้ชีวิตลูกชายที่เขารักต้องพบเจอกับชะตากรรมอันโหดร้าย หรือความรักของกิลเลียนภรรยาของเดวิดที่รักในสิ่งที่เดวิดเป็นทำให้เขามีกำลังใจจนสามารถกลับมาเล่นเปียโนบนเวทีได้อีกครั้ง ความรักแม้จะเป็นความรักเหมือนกันแต่กลับเปลี่ยนแปลงชีวิตคนคนหนึ่งได้ไม่เหมือนกัน และความรักที่มาพร้อมกับความเข้าใจนั้นก็ทำให้ชีวิตของเดวิดดีขึ้น หลังจากที่ต้องอยู่กับความมืดมนในชีวิตมานาน นอกจากนี้ยังให้แง่คิดเกี่ยวกับการเลี้ยงดูของคนในครอบครัวอีกด้วย เด็กควรมีโอกาสได้เลือกทางเดินของตน เลือกที่จะทำตามความฝันของตนมากกว่าที่จะต้องทำตามความฝันของพ่อแม่ คนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องได้ทำในสิ่งที่ตนอยากจะทำ เหมือนกับเดวิดดวงดาวที่เปล่งประกายฉายแววเป็นนักเปียโนผู้ยิ่งใหญ่ แต่กลับไม่มีโอกาสที่จะได้ทอแสงเจิดจรัสบนฟากฟ้าเพราะเส้นทางการเป็นนักเปียโนของเขาถูกปิดกั้นด้วยจิตใจที่คับแคบของพ่อ แต่เมื่อเขาได้ตัดสินใจที่จะทำตามความต้องการของตัวเอง ชีวิตของเขาก็กลับมาส่องแสงสว่างสดใสอีกครั้ง

แสงที่สาดส่องมาเพื่อชีวิตของชายคนหนึ่ง...

ภัทรา

การพูดเร็วด้วยน้ำเสียงที่ผู้ชมฟังแล้วต้องเกิดความรู้สึกสงสัยอย่างมากในลักษณะของตัวละครว่า “ทำไมเขาถึงมีลักษณะการพูดเช่นนี้” ถือเป็นการเปิดเรื่องของภาพยนตร์เรื่อง Shine ที่ทำให้ผู้ชมเห็นถึงลักษณะเด่นของตัวละครเอกซึ่งก็คือเดวิด นักเปียโนคนหนึ่งซึ่งมีลักษณะที่ผิดปกติจากบุคคลทั่วไป คือเป็นผู้ป่วยทางจิต แต่ทำไมเขาจึงเป็นเช่นนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงได้ดำเนินเรื่องราวของตัวละครเอกไปเพื่อให้ผู้ชมคิดพิจารณาและคลายจุดสงสัยไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง

ผู้ชายวัยกลางคนคนหนึ่งวิ่งตากฝนและสูบบุหรี่โดยที่บุหรี่นั้นไม่ได้ติดไฟแล้ว เขาวิ่งไปที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งเพื่อจะขอเขาไปในร้านนั้น หลังจากนั้นเมื่อมีชายอีกคนมาเปิดประตูให้เขาจึงเข้าไปทักทายกับผู้คนที่อยู่ในร้านนั้น แล้วภาพในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ตัดมาที่โรงเรียนในวัยเด็กของเขาเป็นฉากที่เขากำลังจะเล่นเปียโนในการแข่งขันกับเพื่อนอีกจำนวนหนึ่ง เขาคนนี้ชื่อเดวิด แฮลฟ์ก็อตต์ พ่อของเขามาดูการแข่งขันในครั้งนี้ด้วยโดยแสดงให้เห็นว่าเขามีความภาคภูมิใจในการแสดงของลูกชายเป็นอย่างมาก แต่แล้วผลที่ออกมาคือเขาแพ้การแข่งขันจึงทำให้พ่อของเขาโกรธมาก และพยายามสอนเขาว่าเขาจะต้องเอาชนะให้ได้ในครั้งต่อไปด้วยการบังคับให้ลูกพูดตามและเปิดแผ่นเสียงให้ฟังโดยไม่ต้องการให้สิ่งอื่นๆเข้ามารบกวน ซึ่งในครอบครัวของเดวิดมีพ่อ แม่ และน้องสาวของเขาอีกสองคน ซึ่งทุกคนก็ดูจะมีความกังวลในลักษณะนิสัยของพ่อ

หลังจากนั้นไม่นานต่อมาเดวิดได้ไปเรียนเปียโนกับอาจารย์และมีจดหมายส่งมาว่าเขาจะได้ไปเรียนต่อที่อเมริกา และต่อมาเขาก็ได้รู้จักกับนักเขียนหญิงคนหนึ่งซึ่งมีอายุมากแล้วและได้ไปเล่นเปียโนให้หล่อนฟัง จากนั้นไม่นานเขาก็เสียใจมากที่รู้ว่าพ่อไม่ให้เขาไปเรียนที่อเมริกา และเขาก็สับสนว่าทั้งที่พ่ออยากให้เขาชนะการแข่งขันเปียโนแต่ทำไมถึงไม่อยากให้เขาไปเรียนที่อเมริกา แต่แล้ววันหนึ่งเขาก็ได้รับทุนจากโรงเรียนดนตรีในพระราชูปถัมภ์ เขาต้องการจะไปเรียนจึงทำให้เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาต้องทะเลาะกับพ่อครั้งใหญ่ และเขาก็ออกจากบ้านไปเพื่อเรียนดนตรีตามที่เขาต้องการ เขาพยายามฝึกการเล่นเพลงแบบแร็คมานีน็อฟ ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เขาล้มลงในวันแข่งขันและทำให้เขาหมดสติไป จากนั้นเขาก็กลับมาที่บ้านและโทรศัพท์หาพ่อแต่พ่อไม่ยอมให้เขาเข้าบ้าน ด้วยความเสียใจอย่างมากเขาจึงต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลทางจิตเวชในที่สุด และสถานที่นี้เองที่ทำให้เขาได้พบกับคำว่าความรักกับผู้หญิงคนหนึ่ง หล่อนได้พาเขาไปอยู่ด้วย และเขาก็ได้ไปเล่นเปียโนที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งซึ่งเขาก็เล่นได้เป็นอย่างดีและได้แต่งงานกับหญิงสาวคนนั้นและได้เล่นเปียโนอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนรอบข้าง และตัวของเขาเอง ยกเว้นพ่อของเขาซึ่งได้จากเขาไปเสียแล้ว

จากการที่ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอให้เห็นความผิดปกติของเดวิดในตอนปัจจุบันก่อน แล้วนำผู้ชมไปหาสาเหตุของความผิดปกติทางจิตนั้นโดยย้อนเรื่องราวไปในช่วงเวลาเด็กของเขา ซึ่งทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างมาก รวมทั้งเดวิดที่เป็นตัวละครเอกของเรื่องมีลักษณะที่น่าสนใจเป็นอย่างมากเพราะถึงแม้ว่าเขาจะป่วยทางจิตแต่เขาก็สามารถเล่นเปียโนได้เป็นอย่างดี และในขณะที่เขามีความผิดปกตินั้นเขามักจะแสดงกริยาเหมือนกับในวัยเด็กหรือในช่วงที่อยู่กับพ่อเสมอ เช่น การก้าวกระโดดตามช่องที่เด็กคนอื่นเคยเล่นในวัยเด็ก เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุาตุนี้ ารกระโดดตามช่องที่เด็กคนอื่นเคยเล่นในวัยเด็กที่ทำให้เกิดจุดสนใจว่าใจรถอบอยู่เสมอ ซึ่งทำให้ผู้ชมเกิดความเพลิดเพลินและเข้าใจว่าตัวละครมีความสามารถ้เขาไป ซึ่งพ่อก้สอนใเขาคุ้นคิดแต่เรื่องที่พ่อบังคับให้เขาทำ จนกระทั่งสิ่งนั้นกลายมาเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาต้องเสียสติไปใช่หรือไม่ และตัวละครรองคือพ่อของเดวิดก็คือผู้ที่ทำให้การดำเนินชีวิตและความคิดของเดวิดเกิดความสับสนและความกดดัน ดังจะเห็นได้จากตอนที่เดวิดได้รับทุนไปเรียนเปียโนที่อเมริกาแต่พ่อกลับไม่ต้องการให้เขาไป ซึ่งพ่อคือผู้ที่สอนให้เขารู้เสมอว่าเขาจะต้องชนะการแข่งขันเปียโนให้ได้ และลักษณะนิสัยของพ่อที่เด่นชัดคือพ่อเป็นคนที่ไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงยังคงจมอยู่กับสิ่งเดิมๆ เช่น การที่พ่อไม่ยอมเปลี่ยนเลนส์แว่นตาที่มีรอยร้าว เป็นต้น

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นคือความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ซึ่งก็คือพ่อกับเดวิด เนื่องจากพ่อจะคอยย้ำเตือนให้เดวิดทำตามคำสั่งอยู่ตลอดเวลาและคาดหวังกับตัวเขามากเกินไป จึงทำให้เขาเกิดความมืดมิดในจิตใจและทนรับเรื่องราวต่างๆไม่ได้จึงทำให้เขาป่วยเป็นโรคทางจิต โดยเขาจะพูดเร็วๆและไม่ยอม
สบสายตากับผู้อื่นและไม่รับรู้ว่าตนเองทำอะไรลงไป

จากภาพยนตร์เรื่องนี้จะมีการเปิดฉากที่เน้นไปที่ตัวละครเป็นสำคัญ ฉากในเรื่องก็สามารถทำให้ผู้ชมรับรู้ได้ถึงความเศร้าและความหม่นหมองของตัวละคร เช่น ฉากที่มีฝนตกในขณะที่เดวิดวิ่งไปยังร้านอาหารแห่งหนึ่ง และในฉากที่เขากลับมาหาพ่อที่บ้านและพ่อไม่ยอมให้เขากลับเข้าบ้าน ฝนที่ตกนี้เป็นสิ่งที่สามารถสื่อให้ผู้ชมรู้สึกร่วมไปกับตัวละครได้ว่าเขากำลังเศร้าและสิ้นหวัง นอกจากนี้ยังมีฉากที่สำคัญคือ ฉากที่เดวิดเปิดก๊อกน้ำไว้และนั่งอยู่ในอ่างอาบน้ำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกดดันจากการถูกบังคับจากพ่อจึงต้องการต่อต้านและเขาก็เริ่มมีอาการผิดปกติทางจิตให้เห็นคือเขาถ่ายในอ่างอาบน้ำโดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้

และความประทับใจจากภาพยนตร์เรื่องนี้คือการดำเนินเรื่องที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและความน่าสนใจของตัวละคร ซึ่งพ่อคาดหวังกับตัวของเขามากเกินไปจึงทำให้เขาเกิดความกดดันภายในจิตใจและทำให้เขากลายเป็นผู้ป่วยทางจิตในที่สุด แต่ในตอนท้ายของเรื่องเขาก็ได้พบกับแสงสว่าง ซึ่งก็คือการเล่นเปียโนที่ปราศจากแรงกดดันและออกมาจากจิตวิญญาณของเขาเอง จึงทำให้เขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

SHINE

เฟื่องฟ้า

ในมุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวชนั้น มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ จากสื่อต่างๆที่นำเสนอข่าวในแง่ลบและผู้สร้างภาพยนตร์หลายๆเรื่องก็ยังมีการนำเสนอภาพของผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นฆาตกรโรคจิต จึงยิ่งเป็นการตอกย้ำความรู้สึกของผู้คนให้หวาดกลัวและคิดว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นบุคคลอันตรายไม่น่าเข้าใกล้ แต่มีภาพยนตร์อีกไม่น้อยที่เสนอมุมมองในด้านดีของผู้ป่วยเหล่านี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่อง shine

ภาพยนตร์เรื่อง shine ในปี1996 เป็นผลงานของScott Hicks ผู้กำกับชาวออสเตรเลีย ดัดแปลงจากชีวิตจริงของเดวิด เฮฟกอท อัจฉริยะทางเปียโนชาวออสเตรเลียที่ป่วยเป็นโรคจิตเวช ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลอคาเดมี อวอร์ดส์ ประจำปี1997 สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมโดยเจฟฟรี่ รัช ผู้รับบทเป็นเดวิดในวัยกลางคน

เป็นเรื่องราวของเดวิด เฮฟกอท เกิดในครอบครัวของชาวยิว เขาถูกพ่อเคี่ยวเข็ญอย่างหนักเรื่องการฝึกเล่นเปียโน เดวิดผ่านการประกวดหลายครั้ง และสามารถเอาชนะมาได้ จนกระทั่งได้รับการเชิญไปศึกษาต่อยังสถาบันสอนวิชาดนตรีชื่อดัง ณ ประเทศอเมริกา แต่พ่อของเดวิดไม่ยอม จึงทำให้เดวิดยังคงต้องใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ต่อไป ในช่วงนั้นเดวิดได้พบกับนักเขียนชื่อดังผู้ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เขาเข้มแข็งและเด็ดเดี่ยวขึ้น เมื่อเขาได้รับจดหมายเชิญให้ไปเรียนดนตรีที่ลอนดอน เขาจึงไม่ลังเลที่จะไปโดยไม่สนใจคำคัดค้านของพ่อเป็นเหตุให้พ่อของเขาประกาศตัดพ่อตัดลูก เดวิดได้รับการฝึกสอนจากอาจารย์ชื่อดังที่ลอนดอน ซึ่งทำให้เขาสามารถบรรเลงบทเพลงที่ได้ชื่อว่ายากที่สุด “เปียโน คอนเชอร์โต ราช หมายเลข 3 ของ รัคมานินอฟ” เมื่อแสดงจบเขาล้มลงหมดสติ และรักษาตัวเป็นเวลานาน โดยแพทย์ได้กำชับห้ามเล่นเปียโนโดยเด็ดขาด เพราะจะทำ ให้อาการกำเริบได้

หลังจากที่เขาออกจากโรงพยาบาลก็ได้ไปพักอาศัยอยู่กับหญิงคนหนึ่ง แต่เธอทนพฤติกรรมของเขาไม่ได้ จึงส่งเดวิดไปอยู่ที่อพาร์ทเมนท์แห่งหนึ่ง เขาเล่นเปียโนบ่อยเกินไป ทำให้เจ้าของอพาร์ทเมนท์ล็อคเปียโนไว้ เขาจึงออกตามหาเปียโนเพื่อที่จะเล่น จนไปพบเปียโนที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ครั้งแรกๆ ที่เขาไปขอเล่นไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นใคร แต่ก็ต้องประหลาดใจในความสามารถของเขา และที่นั่นเขากลับมามีชื่อเสียงอีกครั้ง เขาได้พบกับพ่อครั้งหนึ่ง แต่บาดแผลระหว่างเขากับพ่อนั้นยากเกินที่จะเยียวยาแล้ว ไม่นานนักเขาได้พบกับนักพยากรณ์สาวจากซิทนีย์ ทั้งคู่เกิดความประทับใจในกันและกัน จึงแปรเปลี่ยนกลายเป็นความรัก ในที่สุดก็ได้แต่งงานกัน ด้วยความรักและความเข้าใจ จากภรรยาและครอบครัว ทำให้เดวิดสามารถหวนกลับมาเล่นเปียโน และสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังได้อีกครั้ง โดยมีแม่และน้องสาวของเขามาให้กำลังใจด้วย แต่พ่อของเขาจากไปเสียก่อนที่จะได้เห็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของเขา ในตอนจบเขากับภรรยาไปที่หลุมศพพ่ออย่างไม่มีคำตอบว่า ที่ผ่านมาเป็นความผิดของใครที่เขาบ้าและพ่อตาย

การเปิดเรื่อง ชายวัยกลางคนผู้หนึ่ง ซึ่งมีลักษณะท่าทางแปลกๆ พูดกับตัวเองคนเดียว เนื้อหาการพูดนั้นจับใจความไม่ได้ กำลังวิ่งอยู่กลางถนนและไปหยุดยืนอยู่ที่หน้าร้านอาหารแห่งหนึ่ง

จุดสงสัย ชายวัยกลางคนที่มีลักษณะแปลกๆหยุดยืนอยู่ที่หน้าร้านอาหาร สายตาจ้องมองไปที่เปียโน

เหตุการณ์เริ่มพัฒนา เมื่อพ่อของเดวิดยอมให้เดวิดมีครูสอนเปียโน ทำให้เขาเริ่มพัฒนาความสามารถทางดนตรีอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนได้รับรางวัลต่างๆมากมาย

ความขัดแย้ง เป็นความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ คือ เดวิดกับพ่อของเขา การที่เดวิดได้รับเชิญครั้งแรกให้ไปเรียนยังสถานศึกษาด้านดนตรีที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ เขาดีใจที่ได้รับโอกาสนั้นและตั้งตารอคอยวันที่จะได้ไป แต่พ่อของเขาไม่อนุญาตให้ไป เมื่อได้รับเชิญอีกเป็นครั้งที่สองเขาจึงไม่ยอมให้พ่อมาขัดขวางการตัดสินใจ จึงเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างเดวิดกับพ่อ

การพัฒนาความขัดแย้งไปจนถึงจุดวิกฤติ เมื่อเดวิดได้รับจดหมายแจ้งว่าเขาได้รับทุนไปเรียนต่อด้านดนตรีที่ลอนดอน เขาไปปรึกษากับแคทเธอรีน ซึ่งเธอทำให้เขาเกิดความเชื่อมั่นและตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่าจะขอเลือกเส้นทางชีวิตของตนเอง หลังจากที่เคยถูกพ่อขัดขวางไม่ให้ไปเรียนที่อเมริกาเมื่อครั้งแรก

จุดไคลแม็กซ์ เมื่อเดวิดบอกพ่อว่าตนได้รับทุนไปเรียนต่อด้านดนตรีที่ลอนดอน แต่พ่อของเขาไม่อนุญาต พร้อมกับประกาศว่าหากเขาเดินออกจากบ้านไป จะตัดความเป็นพ่อลูกกันและไม่ให้เขากลับมาที่บ้านหลังนี้อีก ซึ่งเดวิดพูดแค่ว่า “ผมเสียใจ”แล้วก็เดินออกจากบ้านไป

การปิดเรื่อง เดวิดและภรรยามาที่หลุมฝังศพของพ่อของเขา และพูดคุยกันว่าเป็นความผิดของใครที่พ่อเขาตายกับเขาเป็นบ้า ซึ่งก็ไม่สามารถหาคำตอบได้

เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้เน้นที่ตัวละคร คือ เดวิด เฮฟกอตเป็นตัวละครหลักในการดำเนินเรื่อง มีบทบาทเป็นผู้ถูกกระทำ เขาถูกพ่อเคี่ยวเข็ญอย่างหนักในการฝึกซ้อมเปียโน เดวิดมีชีวิตวัยเด็กและวัยรุ่นอยู่ภายใต้ความมีกดดันที่ดูเหมือนค่อยๆ สะสม เขาอยู่ระหว่างความฝันอันยิ่งใหญ่ที่พ่อตั้งไว้ให้เขาประสบความสำเร็จ กับโอกาสอันน้อยนิดที่พ่อปิดไว้ไม่ให้เขาไปถึง

ภาพยนตร์เรื่องนี้ผู้เขียนต้องการนำเสนอการเลี้ยงดูบุตรในแบบที่ผิด การที่พ่อของเดวิดเข้ามาจัดการกับชีวิตของเดวิดทุกอย่างมากเกินไป ส่งผลให้ตัวเดวิดเองเกิดความสับสน ไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูก หรือสิ่งที่ผิดเพราะพ่อจัดการให้แบบเบ็ดเสร็จ และทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตัวเองไปด้วย สะสมความกดดันจากผู้เป็นพ่อมาเรื่อยๆ จนในที่สุดก็มาระเบิดในการเล่นราช 3 อันเป็นสุดยอดของการเล่นเปียโน ทำให้เขาเสียสติและกลายเป็นคนป่วยจิตเวชในที่สุด การเลี้ยงดูของครอบครัวมีผลอย่างมากต่อความคิดและพฤติกรรมของเด็กในอนาคต มีพ่อแม่จำนวนมากทำลายศักยภาพของลูกเพราะการเลี้ยงดูที่ผิดๆ เอาความคิดความต้องการของตัวเองใส่เข้าไปในตัวลูก ไปกดดัน บังคับให้เป็นในสิ่งที่ตนเองเคยอยากเป็นแต่เป็นไม่ได้ ทำให้เด็กเกิดความกดดัน ส่งผลให้เกิดอาการผิดปรกติทางจิตขึ้นดังเช่นชีวิตของเดวิด ซึ่งในท้ายสุดแล้วเขาไม่สามารถตอบคำถามได้เลยว่าใครเป็นคนผิด

Shine บุรุษผู้ส่องประกาย

พุทธิดา



Shine เปิดเรื่องขึ้นมาโดยให้คนดูได้เห็นภาพด้านข้างของชายผู้หนึ่ง ที่เอาแต่พูดพร่ำไม่หยุด รัวและเร็วจนจับใจความแทบไม่ได้ ซึ่งคนดูจะได้ทราบในภายหลังว่า เขาคือ เดวิด เฮลฟ์ก็อท นักเปียโนอัจฉริยะของออสเตรเลีย ที่มีสภาพไม่ต่างไปจากชายสติไม่สมประกอบธรรมดาๆคนหนึ่ง กำลังวิ่งฝ่าสายฝนเหมือนกับเด็กๆ และมาหยุดที่หน้าร้านอาหาร ชื่อ”โมบาย” จับจ้องเปียโนที่ตั้งอยู่กลางร้านไม่วางตา เสียงเปียโนที่คลอเบาๆประกอบฉากอยู่ตลอด ชวนให้คนดูสงสัยว่า ชายผู้นี้มีความรู้สึกผูกพันอันใดกับเปียโนนัก ความมืดทึม และบรรยากาศขมุกขมัวในฉากนี้ค่อยๆทอดบรรยากาศต่อเนื่องไปสู่บรรยากาศชีวิตวัยเด็กอันหม่นหมองของ ด.ช.เดวิด เฮลฟ์ก็อท


เดวิด อาศัยอยู่ในครอบครัวที่เข้มงวด พ่อเป็นผู้ที่วางกฎเกณฑ์และกำหนดกรอบการดำเนินชีวิตให้กับทุกคนภายในบ้าน โดยที่ไม่มีสิทธิ์โต้แย้งใดๆ เดวิดจึงกลายเป็นเด็กเงียบ ที่ไม่กล้าแสดงความรู้สึก และชอบเออออตามน้ำ พ่อเคี่ยวเข็ญให้เขาฝึกซ้อมเปียโนอย่างหนักทุกวัน เพื่อทดแทนส่วนที่ขาดหายไปของตนในวัยเด็ก ที่เคยออมเงินไว้ซื้อไวโอลินแต่โดนพ่อ(ปู่ของเดวิด)ขัดขวางทุบไวโอลินทิ้ง เขาจึงยกเอาความฝันเหล่านั้นมาไว้ที่เดวิดแทน และสอนว่า “ต้องชนะเท่านั้น” เดวิดเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ที่ชนะการแข่งขันทุกครั้ง แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของพ่อที่อยากให้เขาเล่นแร็คมานีนอฟ เพลงที่เป็นสุดยอดของเปียโนให้ได้ วันหนึ่งเดวิดได้รับเชิญให้ไปศึกษาต่อที่สถาบันดนตรีที่มีชื่อเสียงของอเมริกา แต่พ่อไม่ยอมให้ไป เดวิดไม่กล้าขัดคำสั่งพ่อ จึงจำต้องทิ้งโอกาสอันงามไปอย่างน่าเสียดาย


จากการที่พ่อไม่อนุญาตให้เดวิดไปเรียนต่อที่อเมริกา ทั้งๆที่จะสามารถผลักดันให้เดวิดเก่งยิ่งขึ้นและก้าวไปสู่ความสำเร็จอย่างที่พ่อหวังเอาไว้ได้ อาจจะดูเผด็จการเกินไป แต่ที่จริงน่าจะมีเหตุผลแฝงอยู่ว่า ครอบครัวเฮลฟ์ก็อทในความเป็นจริงมีเชื้อสายยิว (หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง) เคยรอดพ้นจากภัยสงครามและการคุกคามของนาซี ดังนั้น การอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งครอบครัว โดยที่ไม่มีใครล้มหายตายจากไปสักคนเดียวนั้น จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับพ่อของเดวิด ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นหัวหน้าครอบครัว ที่จริงพ่อของเดวิดก็เป็นพ่อคนหนึ่งที่รักลูก และมีความอ่อนโยนอยู่ลึกๆ จะสังเกตเห็นได้จากฉากที่เขาเล่นกับลูกๆตอนที่ผ่าฟืน หรือแม้แต่ฉากที่เขาเก็บหนังสือพิมพ์ที่มีข่าวของเดวิดไว้เป็นอย่างดี แต่การที่เขาไม่แสดงความรู้สึกรักลูกอย่างอ่อนโยนอย่างที่พ่อแม่คนอื่นๆเขาทำกัน ก็น่าจะเป็นเพราะกลัวเสียระบบ ถ้าหากว่าเขาไม่สามารถรักษาระเบียบวินัยภายในบ้านให้คงไว้อย่างที่เคยเป็น โดยการวางตัวเองไว้ในฐานะผู้คุ้มกฎเช่นนั้นได้ เขากลัวว่าสิ่งต่างๆจะเปลี่ยนแปลงไป เขาก็เป็นแค่เพียงคนที่กลัวการสูญเสียเท่านั้นเอง


ฉากที่เราจะเห็นพัฒนาการของตัวละครเดวิดอย่างเห็นได้ชัดเจนก็คือ เมื่อเขาได้รับโอกาสให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ เขาขัดคำสั่งของพ่อที่ห้ามไม่ให้เขาไป และเลือกทางเดินชีวิตด้วยตัวเอง การที่เดวิดทะเลาะกับพ่อรุนแรง ถูกพ่อทุบตี และเลือกเดินออกจากบ้านไปในสภาพตัดพ่อตัดลูก ไม่มีบ้านจะให้ย้อนกลับมาอีกแล้ว คนดูคงรู้สึกได้ถึงความบีบคั้นหัวใจและความกลัวของเด็กชายคนหนึ่งที่ไม่เคยแม้แต่จะคิดตัดสินใจอะไรด้วยตนเองแม้สักครั้ง กลับต้องออกไปเผชิญโลกที่เขาไม่เคยเข้าใจเพียงลำพัง โดยที่ไม่รู้ว่ามีอะไรรออยู่ข้างหน้าบ้าง ในตอนนี้ ตัวละครเดวิดจะได้เติบโต และก้าวล่วงจากความเป็นเด็กสู่ความเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาก


ในอังกฤษ เดวิดต้องทนกับภาวะตึงเครียด ทั้งจากการทราบข่าวการเสียชีวิตของแคทเธอรีน พริตชาร์ต นักเขียนที่เดวิดผูกพันและเป็นที่พึ่งทางใจของเขา ราวกับว่าเป็นญาติมิตรสนิทคนเดียวที่เหลืออยู่ในโลก และจากการฝึกซ้อมเพลงแร็คมานีนอฟอย่างหนักหนาสาหัส ในที่สุดเขาก็ได้ขึ้นโชว์ และทุ่มเทกายใจทั้งหมดไปกับจังหวะที่เร้าอารมณ์ของแร็คมานีนอฟ จนเครียดจัดและเกร็งจนช็อคเข้าโรงพยาบาล และกลายเป็น “คนสติหลุด”ที่พูดไม่หยุดราวกับต่อมพูดอักเสบ ซี่งอาจเป็นผลจากความเก็บกดในวัยเด็กที่ไม่สามารถพูดอย่างที่ใจคิดได้ กลายมาเป็นพูดทุกอย่างที่คิดโดยหยุดไม่ได้ไป


ครอบครัวเฮลฟ์ก็อทประท้วงหลังจากดูหนังเรื่องนี้ว่าบิดเบือนความจริง ตรงที่เดวิดไม่ได้ล้มลงมาสติแตกหลังการแสดงดังที่ปรากฏในหนัง แต่ Scott Hicks ผู้กำกับบอกว่า “นี่เป็นเพียงภาษาภาพยนตร์ที่สื่อให้คนดูเข้าใจว่าเดวิดได้ก้าวไปถึงจุดสุดยอดทางเปียโนแล้วเขาก็ตกลงมา..นอกจากนี้หนังเรื่องนี้ไม่ใช่สารคดีชีวประวัติของเดวิด แต่เป็นหนังดัดแปลงต่างหาก” ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ในการดัดแปลงเรื่องราวเล็กๆน้อยๆ และสร้างสรรค์บทบาทของตัวละครให้ดูน่าสนใจมากขึ้น เพื่อดึงดูดความน่าสนใจของคนดู และทำให้หนังมีอรรถรสมากขึ้น ที่ถึงแม้จะดูเกินจริงไปบ้าง แต่ผู้กำกับก็ทำได้สำเร็จตรงที่ สามารถทำให้คนดูใจหายใจคว่ำ และอดลุ้นไม่ได้ว่าเรื่องราวชีวิตของหนุ่มน้อยเดวิดที่ติดตามมาตั้งแต่ต้นจะดำเนินต่อไปเช่นไร


หลังจากที่เดวิดเริ่มมีอาการทางจิตเภท หมอก็สั่งห้ามเขาไม่ให้เล่นเปียโนอีกเด็ดขาด เพราะกลัวว่าจะไปกระตุ้นอารมณ์และทำให้อาการของเขากำเริบ ถ้าหากจะบอกว่าเปียโนทำให้เขามีค่าขึ้นก็คงไม่ผิดนัก เพราะเมื่อไม่มีเปียโน เดวิดก็กลายเป็นเพียงคนเพี้ยนๆคนหนึ่งที่ไม่น่าสนใจอะไร จากการเจ็บป่วยคราวนี้เดวิดต้องพักรักษาตัวเป็นสิบๆปี และเปลี่ยนผู้อุปถัมภ์อยู่บ่อยครั้ง จนได้มาอยู่กับครอบครัวของซิลเวีย และได้รู้จักกับกิลเลี่ยน นักดูดวง เพื่อนของซิลเวีย ทั้งสองได้แต่งงานกันในที่สุด และในช่วงนี้เดวิดได้เริ่มกลับมาเล่นเปียโนและมีชื่อเสียงอีกครั้ง จะสังเกตเห็นข่าวลงในหนังสือพิมพ์ว่า “Remember who?” และเฉลยว่านี่คือ “David Shines” Shine ในที่นี้จึงหมายความว่า ส่องประกาย หรืออย่างที่อาจารย์ในสถาบันดนตรีที่ลอนดอนเคยพูดถึงเดวิดว่า “ฉายแววอัจฉริยะ” จึงเป็นการสื่อว่า คนที่มีพรสวรรค์เปรียบได้กับเพชรน้ำงาม ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ก็จะยังคงส่องประกายงดงามอยู่เสมอ


ช่วงเวลานี้พ่อของเดวิดมาหา และให้โอกาสเขากลับบ้าน แต่เดวิดพอใจกับชีวิตของเขาตอนนี้แล้ว และพ่อของเขาก็เดินคอตกกลับบ้านไป อาจจะด้วยความรู้สึกผิดหวังที่เดวิดลูกชายอันเป็นที่รักไม่ยอมกลับบ้าน ผสานกับความรู้สึกผิดหวังในตัวเอง ที่เขาค้นพบความจริงที่ว่า เขาไม่มีอำนาจพอที่จะควบคุมใครๆได้อีกแล้ว ฉากนี้เดวิดพูดลาก่อนกับพ่อ อาจจะดูเป็นการร่ำลาธรรมดาๆทั่วไป ไม่ต่างจากการทักทายสวัสดี เมื่อพบเจอกัน แต่ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า นี่เท่ากับเป็นการปลดแอกชีวิตของเขาจากการตกอยู่ในอาณัติของพ่อเป็นเวลานาน ที่แม้แต่ตอนแยกกับพ่อไปอยู่ลอนดอน จนกระทั่งป่วย เดวิดก็ยังอ้างคำพูดของพ่ออยู่เสมอ เช่น “เขาจะถูกลงทัณฑ์ชั่วชีวิต เพราะว่าทำผิด” หรือ “คนอ่อนแอจะถูกขยี้เหมือนแมลง ต้องเข้มแข็ง” เป็นต้น แต่หลังจากฉากร่ำลาพ่อไปแล้ว เดวิดก็ดูจะมีความสุข และทำอะไรอิสระตามใจมากขึ้น บรรยากาศที่เคยหม่นๆมาตลอดทั้งเรื่องจากการใช้สีมืดๆทึมๆเป็นโทนหลักของหนัง ก็ดูจะสว่างไสวมากขึ้น เสียงเปียโนที่ใช้ประกอบตลอดทั้งเรื่องจากที่เคยเป็นเสียงที่เอื่อยๆ ดูหม่นๆตามบรรยากาศของหนังนั้น ก็ฟังดูชัดเจน และสบายๆมากขึ้นไปด้วย เสียงเปียโนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในหนังเรื่องนี้ ก็ยังมีโทนอื่นๆอีก ยกตัวอย่างเช่น ฉากปะทะอารมณ์ระหว่างเดวิดกับพ่อ เสียงเปียโนฟังดูบีบคั้น เร่งเร้า และรุนแรง , ฉากที่กิลเลี่ยนกลับมาใคร่ครวญเรื่องคำขอแต่งงานของเดวิด เสียงเปียโนในตอนนี้ก็ฟังดูเร่งเร้าแต่คนละแบบกันกับตัวอย่างเมื่อครู่ตรงที่ เสียงดนตรีจะแฝงความอ่อนหวาน และความเร่าร้อนไว้ด้วยกัน สื่อถึงอารมณ์รัก และความปรารถนาอย่างชัดเจน


ในตอนท้ายของเรื่อง เดวิดได้มีโอกาสขึ้นโชว์เดี่ยวเปียโนที่บ้านเกิด มีคนสำคัญในชีวิตของเขามาดูหลายคน ได้แก่ คนในครอบครัวเฮลฟ์ก็อท(ยกเว้นพ่อ เพราะเขาได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยที่ในหนังไม่ได้กล่าวถึงสาเหตุ) , ครูโรเซ่น ครูดนตรีคนแรกของเดวิด , ครอบครัวของซิลเวีย และกิลเลี่ยน ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากของเขาเอง เมื่อจบการแสดง เดวิดได้รับเสียงปรบมือล้นหลาม จนเขาถึงกับหลั่งน้ำตาออกมา เป็นน้ำตาแห่งความปลื้มปิติ เบิกบานใจ และในขณะเดียวกันก็เป็นการปลดปล่อยความเก็บกดและอัดอั้นที่มีมานานแสนนาน เพราะเวทีนี้เป็นเวทีเดียวกันกับที่เขามาแข่งขันในตอนเด็กและต้องเกร็งกับสายตาที่คอยจ้องจับผิดของพ่อ ณ วันนี้เขาสามารถเล่นได้ในสไตล์ที่เป็นตัวเขาเอง ไม่มีใครมาบังคับ โดยที่คนข้างล่างเวทีเหล่านั้นก็ยอมรับเขา มันจึงกลายเป็นการเล่นดนตรีด้วยความสุขอย่างที่ควรจะเป็นมานานแสนนานแล้ว เหมือนกับว่าเขาได้ทำเวลาของเขาแทบทั้งชีวิตหล่นหายไป แต่ตอนนี้เขาเป็นอิสระแล้ว ฉากจบนี้จึงถือเป็นฉากจบที่สวยหรูและถือได้ว่าเป็นการประสบความสำเร็จของเดวิดอย่างแท้จริง


หนังเรื่องนี้แม้ว่าจะดูน่าเบื่อไปหน่อยสำหรับวัยรุ่น เพราะค่อนข้างเอื่อยเฉื่อยไม่ทันใจ แต่ก็ค่อยๆให้ข้อคิด และแฝงความประทับใจให้แก่คนดูอย่างซึมลึกเข้ามาในหัวใจทีละน้อย ผ่านตัวละครที่ดูน่าเบื่ออย่าง “เดวิด”เด็กเนิร์ดขี้แหย , “ปีเตอร์”พ่อผู้เข้มงวดและเผด็จการ และตัวละครอื่นๆที่ดูไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ทั้งหมดนี้ดูจะเป็นตัวละครที่ดูหม่นหมองและขาดความน่าสนใจ แต่ตัวละครในเรื่องนี้ก็ดูมีความเป็นคนจริงๆอยู่มาก ตรงที่มีพัฒนาการ และมีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ไปตามสถานการณ์ตลอดเวลา จึงทำให้หนังเรื่องนี้ดูจริง และน่าเชื่อถือมากขึ้น และสิ่งที่เหลือไว้ให้คนดูได้ขบคิดต่อเมื่อหนังจบก็น่าสนใจ ตรงที่ไม่มีหนังเรื่องใดเสนอมุมมองเช่นนี้ ยกตัวอย่างเช่น เพชร ไม่ว่าเมื่อไหร่ก็จะยังคงเป็นเพชรที่ส่องประกายเสมอ หรือ ความรักและกำลังใจเป็นพลังสำคัญที่สามารถชุบชีวิตคนๆหนึ่งได้ราวกับเกิดใหม่ เช่นเดียวกับความรักและกำลังใจที่เดวิด เฮลฟ์ก็อท ได้รับจากกิลเลี่ยน ภรรยาผู้แสนดีของเขานั่นเอง

Shine โชคดีที่สวรรค์ไม่ลำเอียง

พุทธิดา

Shine เปิดเรื่องขึ้นมาโดยให้คนดูได้เห็นภาพด้านข้างของชายผู้หนึ่ง ที่เอาแต่พูดพร่ำไม่หยุด รัวและเร็วจนจับใจความแทบไม่ได้ ซึ่งคนดูจะได้ทราบในภายหลังว่า เขาคือ เดวิด เฮลฟ์ก็อท นักเปียโนอัจฉริยะของออสเตรเลีย ที่มีสภาพไม่ต่างไปจากชายสติไม่สมประกอบธรรมดาๆคนหนึ่ง กำลังวิ่งฝ่าสายฝนเหมือนกับเด็กๆ และมาหยุดที่หน้าร้านอาหาร ชื่อ”โมบาย” จับจ้องเปียโนที่ตั้งอยู่กลางร้านไม่วางตา เสียงเปียโนที่คลอเบาๆประกอบฉากอยู่ตลอด ชวนให้คนดูสงสัยว่า ชายผู้นี้มีความรู้สึกผูกพันอันใดกับเปียโนนัก ความมืดทึม และบรรยากาศขมุกขมัวในฉากนี้ค่อยๆทอดบรรยากาศต่อเนื่องไปสู่บรรยากาศชีวิตวัยเด็กอันหม่นหมองของ ด.ช.เดวิด เฮลฟ์ก็อท

เดวิด อาศัยอยู่ในครอบครัวที่เข้มงวด พ่อเป็นผู้ที่วางกฎเกณฑ์และกำหนดกรอบการดำเนินชีวิตให้กับทุกคนภายในบ้าน โดยที่ไม่มีสิทธิ์โต้แย้งใดๆ เดวิดจึงกลายเป็นเด็กเงียบ ที่ไม่กล้าแสดงความรู้สึก และชอบเออออตามน้ำ พ่อเคี่ยวเข็ญให้เขาฝึกซ้อมเปียโนอย่างหนักทุกวัน เพื่อทดแทนส่วนที่ขาดหายไปของตนในวัยเด็ก ที่เคยออมเงินไว้ซื้อไวโอลินแต่โดนพ่อ(ปู่ของเดวิด)ขัดขวางทุบไวโอลินทิ้ง เขาจึงยกเอาความฝันเหล่านั้นมาไว้ที่เดวิดแทน และสอนว่า “ต้องชนะเท่านั้น” เดวิดเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ที่ชนะการแข่งขันทุกครั้ง แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของพ่อที่อยากให้เขาเล่นแร็คมานีนอฟ เพลงที่เป็นสุดยอดของเปียโนให้ได้ วันหนึ่งเดวิดได้รับเชิญให้ไปศึกษาต่อที่สถาบันดนตรีที่มีชื่อเสียงของอเมริกา แต่พ่อไม่ยอมให้ไป เดวิดไม่กล้าขัดคำสั่งพ่อ จึงจำต้องทิ้งโอกาสอันงามไปอย่างน่าเสียดาย

จากการที่พ่อไม่อนุญาตให้เดวิดไปเรียนต่อที่อเมริกา ทั้งๆที่จะสามารถผลักดันให้เดวิดเก่งยิ่งขึ้นและก้าวไปสู่ความสำเร็จอย่างที่พ่อหวังเอาไว้ได้ อาจจะดูเผด็จการเกินไป แต่ที่จริงน่าจะมีเหตุผลแฝงอยู่ว่า ครอบครัวเฮลฟ์ก็อทในความเป็นจริงมีเชื้อสายยิว (หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง) เคยรอดพ้นจากภัยสงครามและการคุกคามของนาซี ดังนั้น การอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งครอบครัว โดยที่ไม่มีใครล้มหายตายจากไปสักคนเดียวนั้น จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับพ่อของเดวิด ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นหัวหน้าครอบครัว ที่จริงพ่อของเดวิดก็เป็นพ่อคนหนึ่งที่รักลูก และมีความอ่อนโยนอยู่ลึกๆ จะสังเกตเห็นได้จากฉากที่เขาเล่นกับลูกๆตอนที่ผ่าฟืน หรือแม้แต่ฉากที่เขาเก็บหนังสือพิมพ์ที่มีข่าวของเดวิดไว้เป็นอย่างดี แต่การที่เขาไม่แสดงความรู้สึกรักลูกอย่างอ่อนโยนอย่างที่พ่อแม่คนอื่นๆเขาทำกัน ก็น่าจะเป็นเพราะกลัวเสียระบบ ถ้าหากว่าเขาไม่สามารถรักษาระเบียบวินัยภายในบ้านให้คงไว้อย่างที่เคยเป็น โดยการวางตัวเองไว้ในฐานะผู้คุ้มกฎเช่นนั้นได้ เขากลัวว่าสิ่งต่างๆจะเปลี่ยนแปลงไป เขาก็เป็นแค่เพียงคนที่กลัวการสูญเสียเท่านั้นเอง

ฉากที่เราจะเห็นพัฒนาการของตัวละครเดวิดอย่างเห็นได้ชัดเจนก็คือ เมื่อเขาได้รับโอกาสให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ เขาขัดคำสั่งของพ่อที่ห้ามไม่ให้เขาไป และเลือกทางเดินชีวิตด้วยตัวเอง การที่เดวิดทะเลาะกับพ่อรุนแรง ถูกพ่อทุบตี และเลือกเดินออกจากบ้านไปในสภาพตัดพ่อตัดลูก ไม่มีบ้านจะให้ย้อนกลับมาอีกแล้ว คนดูคงรู้สึกได้ถึงความบีบคั้นหัวใจและความกลัวของเด็กชายคนหนึ่งที่ไม่เคยแม้แต่จะคิดตัดสินใจอะไรด้วยตนเองแม้สักครั้ง กลับต้องออกไปเผชิญโลกที่เขาไม่เคยเข้าใจเพียงลำพัง โดยที่ไม่รู้ว่ามีอะไรรออยู่ข้างหน้าบ้าง ในตอนนี้ ตัวละครเดวิดจะได้เติบโต และก้าวล่วงจากความเป็นเด็กสู่ความเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาก

ในอังกฤษ เดวิดต้องทนกับภาวะตึงเครียด ทั้งจากการทราบข่าวการเสียชีวิตของแคทเธอรีน พริตชาร์ต นักเขียนที่เดวิดผูกพันและเป็นที่พึ่งทางใจของเขา ราวกับว่าเป็นญาติมิตรสนิทคนเดียวที่เหลืออยู่ในโลก และจากการฝึกซ้อมเพลงแร็คมานีนอฟอย่างหนักหนาสาหัส ในที่สุดเขาก็ได้ขึ้นโชว์ และทุ่มเทกายใจทั้งหมดไปกับจังหวะที่เร้าอารมณ์ของแร็คมานีนอฟ จนเครียดจัดและเกร็งจนช็อคเข้าโรงพยาบาล และกลายเป็น “คนสติหลุด”ที่พูดไม่หยุดราวกับต่อมพูดอักเสบ ซี่งอาจเป็นผลจากความเก็บกดในวัยเด็กที่ไม่สามารถพูดอย่างที่ใจคิดได้ กลายมาเป็นพูดทุกอย่างที่คิดโดยหยุดไม่ได้ไป

ครอบครัวเฮลฟ์ก็อทประท้วงหลังจากดูหนังเรื่องนี้ว่าบิดเบือนความจริง ตรงที่เดวิดไม่ได้ล้มลงมาสติแตกหลังการแสดงดังที่ปรากฏในหนัง แต่ Scott Hicks ผู้กำกับบอกว่า “นี่เป็นเพียงภาษาภาพยนตร์ที่สื่อให้คนดูเข้าใจว่าเดวิดได้ก้าวไปถึงจุดสุดยอดทางเปียโนแล้วเขาก็ตกลงมา..นอกจากนี้หนังเรื่องนี้ไม่ใช่สารคดีชีวประวัติของเดวิด แต่เป็นหนังดัดแปลงต่างหาก” ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ในการดัดแปลงเรื่องราวเล็กๆน้อยๆ และสร้างสรรค์บทบาทของตัวละครให้ดูน่าสนใจมากขึ้น เพื่อดึงดูดความน่าสนใจของคนดู และทำให้หนังมีอรรถรสมากขึ้น ที่ถึงแม้จะดูเกินจริงไปบ้าง แต่ผู้กำกับก็ทำได้สำเร็จตรงที่ สามารถทำให้คนดูใจหายใจคว่ำ และอดลุ้นไม่ได้ว่าเรื่องราวชีวิตของหนุ่มน้อยเดวิดที่ติดตามมาตั้งแต่ต้นจะดำเนินต่อไปเช่นไร

หลังจากที่เดวิดเริ่มมีอาการทางจิตเภท หมอก็สั่งห้ามเขาไม่ให้เล่นเปียโนอีกเด็ดขาด เพราะกลัวว่าจะไปกระตุ้นอารมณ์และทำให้อาการของเขากำเริบ ถ้าหากจะบอกว่าเปียโนทำให้เขามีค่าขึ้นก็คงไม่ผิดนัก เพราะเมื่อไม่มีเปียโน เดวิดก็กลายเป็นเพียงคนเพี้ยนๆคนหนึ่งที่ไม่น่าสนใจอะไร จากการเจ็บป่วยคราวนี้เดวิดต้องพักรักษาตัวเป็นสิบๆปี และเปลี่ยนผู้อุปถัมภ์อยู่บ่อยครั้ง จนได้มาอยู่กับครอบครัวของซิลเวีย และได้รู้จักกับกิลเลี่ยน นักดูดวง เพื่อนของซิลเวีย ทั้งสองได้แต่งงานกันในที่สุด และในช่วงนี้เดวิดได้เริ่มกลับมาเล่นเปียโนและมีชื่อเสียงอีกครั้ง จะสังเกตเห็นข่าวลงในหนังสือพิมพ์ว่า “Remember who?” และเฉลยว่านี่คือ “David Shines” Shine ในที่นี้จึงหมายความว่า ส่องประกาย หรืออย่างที่อาจารย์ในสถาบันดนตรีที่ลอนดอนเคยพูดถึงเดวิดว่า “ฉายแววอัจฉริยะ” จึงเป็นการสื่อว่า คนที่มีพรสวรรค์เปรียบได้กับเพชรน้ำงาม ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ก็จะยังคงส่องประกายงดงามอยู่เสมอ

ช่วงเวลานี้พ่อของเดวิดมาหา และให้โอกาสเขากลับบ้าน แต่เดวิดพอใจกับชีวิตของเขาตอนนี้แล้ว และพ่อของเขาก็เดินคอตกกลับบ้านไป อาจจะด้วยความรู้สึกผิดหวังที่เดวิดลูกชายอันเป็นที่รักไม่ยอมกลับบ้าน ผสานกับความรู้สึกผิดหวังในตัวเอง ที่เขาค้นพบความจริงที่ว่า เขาไม่มีอำนาจพอที่จะควบคุมใครๆได้อีกแล้ว ฉากนี้เดวิดพูดลาก่อนกับพ่อ อาจจะดูเป็นการร่ำลาธรรมดาๆทั่วไป ไม่ต่างจากการทักทายสวัสดี เมื่อพบเจอกัน แต่ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า นี่เท่ากับเป็นการปลดแอกชีวิตของเขาจากการตกอยู่ในอาณัติของพ่อเป็นเวลานาน ที่แม้แต่ตอนแยกกับพ่อไปอยู่ลอนดอน จนกระทั่งป่วย เดวิดก็ยังอ้างคำพูดของพ่ออยู่เสมอ เช่น “เขาจะถูกลงทัณฑ์ชั่วชีวิต เพราะว่าทำผิด” หรือ “คนอ่อนแอจะถูกขยี้เหมือนแมลง ต้องเข้มแข็ง” เป็นต้น แต่หลังจากฉากร่ำลาพ่อไปแล้ว เดวิดก็ดูจะมีความสุข และทำอะไรอิสระตามใจมากขึ้น บรรยากาศที่เคยหม่นๆมาตลอดทั้งเรื่องจากการใช้สีมืดๆทึมๆเป็นโทนหลักของหนัง ก็ดูจะสว่างไสวมากขึ้น เสียงเปียโนที่ใช้ประกอบตลอดทั้งเรื่องจากที่เคยเป็นเสียงที่เอื่อยๆ ดูหม่นๆตามบรรยากาศของหนังนั้น ก็ฟังดูชัดเจน และสบายๆมากขึ้นไปด้วย เสียงเปียโนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในหนังเรื่องนี้ ก็ยังมีโทนอื่นๆอีก ยกตัวอย่างเช่น ฉากปะทะอารมณ์ระหว่างเดวิดกับพ่อ เสียงเปียโนฟังดูบีบคั้น เร่งเร้า และรุนแรง , ฉากที่กิลเลี่ยนกลับมาใคร่ครวญเรื่องคำขอแต่งงานของเดวิด เสียงเปียโนในตอนนี้ก็ฟังดูเร่งเร้าแต่คนละแบบกันกับตัวอย่างเมื่อครู่ตรงที่ เสียงดนตรีจะแฝงความอ่อนหวาน และความเร่าร้อนไว้ด้วยกัน สื่อถึงอารมณ์รัก และความปรารถนาอย่างชัดเจน

ในตอนท้ายของเรื่อง เดวิดได้มีโอกาสขึ้นโชว์เดี่ยวเปียโนที่บ้านเกิด มีคนสำคัญในชีวิตของเขามาดูหลายคน ได้แก่ คนในครอบครัวเฮลฟ์ก็อท(ยกเว้นพ่อ เพราะเขาได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยที่ในหนังไม่ได้กล่าวถึงสาเหตุ) , ครูโรเซ่น ครูดนตรีคนแรกของเดวิด , ครอบครัวของซิลเวีย และกิลเลี่ยน ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากของเขาเอง เมื่อจบการแสดง เดวิดได้รับเสียงปรบมือล้นหลาม จนเขาถึงกับหลั่งน้ำตาออกมา เป็นน้ำตาแห่งความปลื้มปิติ เบิกบานใจ และในขณะเดียวกันก็เป็นการปลดปล่อยความเก็บกดและอัดอั้นที่มีมานานแสนนาน เพราะเวทีนี้เป็นเวทีเดียวกันกับที่เขามาแข่งขันในตอนเด็กและต้องเกร็งกับสายตาที่คอยจ้องจับผิดของพ่อ ณ วันนี้เขาสามารถเล่นได้ในสไตล์ที่เป็นตัวเขาเอง ไม่มีใครมาบังคับ โดยที่คนข้างล่างเวทีเหล่านั้นก็ยอมรับเขา มันจึงกลายเป็นการเล่นดนตรีด้วยความสุขอย่างที่ควรจะเป็นมานานแสนนานแล้ว เหมือนกับว่าเขาได้ทำเวลาของเขาแทบทั้งชีวิตหล่นหายไป แต่ตอนนี้เขาเป็นอิสระแล้ว ฉากจบนี้จึงถือเป็นฉากจบที่สวยหรูและถือได้ว่าเป็นการประสบความสำเร็จของเดวิดอย่างแท้จริง

หนังเรื่องนี้แม้ว่าจะดูน่าเบื่อไปหน่อยสำหรับวัยรุ่น เพราะค่อนข้างเอื่อยเฉื่อยไม่ทันใจ แต่ก็ค่อยๆให้ข้อคิด และแฝงความประทับใจให้แก่คนดูอย่างซึมลึกเข้ามาในหัวใจทีละน้อย ผ่านตัวละครที่ดูน่าเบื่ออย่าง “เดวิด”เด็กเนิร์ดขี้แหย , “ปีเตอร์”พ่อผู้เข้มงวดและเผด็จการ และตัวละครอื่นๆที่ดูไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ทั้งหมดนี้ดูจะเป็นตัวละครที่ดูหม่นหมองและขาดความน่าสนใจ แต่ตัวละครในเรื่องนี้ก็ดูมีความเป็นคนจริงๆอยู่มาก ตรงที่มีพัฒนาการ และมีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ไปตามสถานการณ์ตลอดเวลา จึงทำให้หนังเรื่องนี้ดูจริง และน่าเชื่อถือมากขึ้น และสิ่งที่เหลือไว้ให้คนดูได้ขบคิดต่อเมื่อหนังจบก็น่าสนใจ ตรงที่ไม่มีหนังเรื่องใดเสนอมุมมองเช่นนี้ ยกตัวอย่างเช่น เพชร ไม่ว่าเมื่อไหร่ก็จะยังคงเป็นเพชรที่ส่องประกายเสมอ หรือ ความรักและกำลังใจเป็นพลังสำคัญที่สามารถชุบชีวิตคนๆหนึ่งได้ราวกับเกิดใหม่ เช่นเดียวกับความรักและกำลังใจที่เดวิด เฮลฟ์ก็อท ได้รับจากกิลเลี่ยน ภรรยาผู้แสนดีของเขานั่นเอง

Shine

พิมพ์อัณณ์

Shine เป็นภาพยนตร์สัญชาติออสเตรเลีย ที่ออกฉายในปี 1996 เป็นหนึ่งในผลงานการกำกับภาพยนตร์ของสก๊อต ฮิกส์ (Scott Hicks) ผู้กำกับชาวออสเตรเลีย ซึ่งดัดแปลงมาจากชีวประวัติของเดวิด เฮล์ฟก็อตต์ (David Helfgott) นักเปียโนชาวออสเตรเลีย ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลมากมายจากหลายสถาบัน อาทิ รางวัล Film of the Year Award จากAustralian Film Institute รางวัลนักแสดงนำยอดเยี่ยมซึ่งรับบทโดยเจฟฟรีย์ รัช (Geoffrey Rush)ผู้แสดงเป็นเดวิด เฮล์ฟก็อตต์ในวัยกลางคน จากสถาบันต่างๆไม่ว่าจะเป็น Academy Award, Los Angeles Film Criticsและ New York Film Critics

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอเรื่องราวของเดวิด เฮล์ฟก็อตต์ (David Helfgott)เด็กหนุ่มผู้มีพรสวรรค์ในการเล่นเปียโน เดวิดเกิดในครอบครัวของชาวยิวที่อพยพจากโปแลนด์มาตั้งรกรากอยู่ที่ออสเตรเลีย เขาเริ่มหัดเล่นเปียโนตั้งแต่เด็กโดยมีพ่อเป็นผู้สอน เดวิดถูกฝึกฝนให้เล่นเปียโนอย่างจริงจังเพื่อจะได้ประสบความสำเร็จในการแข่งขัน พ่อของเดวิดจะเลือกเพลงให้เขาเล่นและปลูกฝังให้เขานึกถึงแต่ชัยชนะเป็นสำคัญ ในการแข่งขันการเล่นเปียโนครั้งแรกของเดวิด ทำให้เด็กหนุ่มพบกับคุณโรเซ่น ครูสอนเปียโนที่เห็นความสามารถในตัวเดวิดและเสนอที่จะสอนการเล่นเปียโนให้แก่เขา จากการสอนของคุณโรเซ่นทำให้ฝีมือของเดวิดพัฒนายิ่งขึ้น

เด็กหนุ่มได้เข้าร่วมการแข่งขันการเล่นเปียโนรายการต่างๆ จนสามารถเป็นผู้ชนะที่อายุน้อยที่สุดในการแข่งขันระดับรัฐ ซึ่งครั้งนี้ เดวิดได้รับโอกาสจากไอแซ็ค สเติร์น นักไวโอลินที่มีชื่อเสียงให้ไปศึกษาต่อยังสถาบันดนตรีชื่อดังในประเทศอเมริกา หากแต่ครอบครัวของเดวิดไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะส่งเขาไปเรียนต่างประเทศ คุณโรเซ่นจึงเสนอให้เข้าร่วมงานสังคมต่างๆเพื่อระดมทุน ช่วงเวลานั้นเองที่ทำให้เดวิดได้รู้จักกับนักเขียนชื่อดัง แคทเธอรีน พลิชาร์ด เดวิดมักไปเล่นเปียโนให้เธอฟังจนเกิดเป็นความผูกพัน

หลังจากนั้นไม่นานเดวิดก็ได้รับจดหมายเชิญจากสถาบันดนตรีอย่างเป็นทางการ แต่แล้วพ่อของเขากลับเปลี่ยนใจไม่ให้เดวิดไปเรียนต่อ เหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อจิตใจของเขาอย่างยิ่ง อีกทั้งยังเป็นเหตุให้เด็กหนุ่มไม่ได้เรียนกับคุณโรเซ่นอีกต่อไป ต่อมาเดวิดได้เข้าแข่งขันระดับประเทศหากแต่ครั้งนี้ชายหนุ่มต้องพบกับความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตามเดวิดก็ได้รับทุนเรียนฟรีที่สถาบันดนตรีในกรุงลอนดอน ในครั้งนี้เดวิดตัดสินใจไปเรียนต่อโดยไม่ฟังคำคัดค้านจากผู้เป็นพ่อ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองขาดสะบั้นลง

หลังจากเดวิดเรียนที่สถาบันได้ระยะหนึ่ง เขาก็ได้รับเกียรติจาก ซีซิล พาร์ค นักเปียโนชื่อดังมาเป็นผู้ฝึกสอน ด้วยความตั้งใจจริงของเดวิดทำให้เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของการแข่งขันครั้งสำคัญเพื่อจะได้ไปเล่นที่แอลเบิร์ตฮอลล์ เดวิดเลือกที่จะบรรเลงเพลงคอนแชร์โตหมายเลขสามหรือ “Rach III” จากผลงานของคีตกวีรัคมานินอฟ ซึ่งเปรียบได้กับปราการด่านสุดท้ายก่อนจะก้าวสู่ความเป็นนักเปียโนที่ยิ่งใหญ่ เขาจึงทุ่มเทพลังทั้งหมดในการฝึกซ้อมครั้งนี้ แต่แล้วก่อนวันแข่งขันเขาก็ได้รับข่าวร้ายว่าแคทเธอรีนผู้ที่เขายึดเป็นที่พึ่งทางใจได้เสียชีวิต

เมื่อถึงวันแข่งขันเดวิดก็สามารถสื่อถึงจิตวิญญาณของบทเพลงได้อย่างดีเยี่ยม แต่แล้วทันทีที่การบรรเลงสิ้นสุดชายหนุ่มก็ล้มหมดสติอยู่บนเวที เดวิดถูกส่งตัวไปรักษาและพบว่าเขาป่วยเป็นโรคจิตเภท หลังจากนั้นเดวิดเลือกที่จะเดินทางกลับบ้าน หากแต่เขาได้รับการปฏิเสธจากผู้เป็นพ่อ เดวิดจึงไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ต่อมาเดวิดได้รู้จักกับ เบอริล นักเปียโนในโบสถ์ซึ่งรู้สึกถูกชะตากับเดวิดจึงได้รับอุปการะเขา แต่ด้วยพฤติกรรมที่ผิดปกติของเดวิดทำให้เบอริลลำบากใจ เธอจึงส่งเดวิดไปพักที่อพาร์ทเมนท์แห่งหนึ่งพร้อมกับซื้อเปียโนให้แก่เขา เมื่อเดวิดต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวเขาจึงเลือกที่จะเล่นเปียโนทั้งวันทั้งคืนหลังจากไม่ได้เล่นมากว่า 20 ปี เสียงของเปียโนที่ดังตลอดเวลาได้สร้างความรำคาญให้แก่เพื่อนร่วมชั้น เป็นเหตุให้เจ้าของที่พักล็อคเปียโนของเขา

เดวิดจึงเดินไปเรื่อยเปื่อยเพื่อหาเปียโนเล่น จนกระทั่งเห็นเปียโนในร้านอาหารชื่อโมบาย และที่นี้เองที่เขาได้แสดงความสามารถทางดนตรีให้ทุกคนได้เห็น เดวิดจึงได้เล่นเปียโนประจำที่ร้านแห่งนี้โดยอยู่ในความดูแลของซิลเวีย จากนั้นไม่นานเดวิดก็เริ่มมีชื่อเสียงและมีภาพลงในหนังสือพิมพ์ เมื่อพ่อของเดวิดเห็นข่าวจึงเดินทางมาหาและเปิดโอกาสให้เขาได้กลับบ้าน หากแต่เดวิดเลือกที่จะหันหลังให้พ่อ จากนั้นไม่นานเดวิดได้พบรักและแต่งงานกับกิลเลียนเพื่อนของซิลเวีย ด้วยความรักและเข้าใจจากกิลเลียนและคนรอบข้างทำให้เดวิดกลับมาเล่นเปียโนและได้จัดการแสดงของเขาเอง และนี้เป็นครั้งแรกที่เดวิดรู้สึกได้ถึงความสุขอย่างแท้จริงบนเวที เขาไม่จำเป็นต้องแข่งขันเพื่อชัยชนะอีกต่อไป จากนั้นไม่นานพ่อของเดวิดก็เสียชีวิตลง

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นแนวเรื่องเน้นตัวละคร โดยมีเดวิด เฮล์ฟก็อตต์ เป็นตัวละครเอกที่มีบุคลิกและอารมณ์อันซับซ้อนตั้งแต่วัยเด็ก ประกอบกับเหตุการณ์ต่างๆที่กระทบจิตใจอย่างรุนแรง ส่งผลให้เขาป่วยเป็นโรคจิตเภทในเวลาต่อมา ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เดวิดป่วยเป็นโรคจิตเภทน่าจะมาจากการเลี้ยงดูของพ่อซึ่งตั้งความหวังทั้งหมดที่มีอยู่ให้แก่เดวิด การเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดและปลูกฝังให้อยู่เพียงในกรอบที่ตนวางไว้ โดยไม่เคยถามความต้องการที่แท้จริงของเดวิด ส่งผลให้เดวิดกลายเป็นเด็กที่เก็บกด อ่อนแอและไม่มีความมั่นใจยิ่งขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับความสามารถในการเล่นเปียโนของเขาอย่างสิ้นเชิง ประกอบกับอารมณ์และการแสดงออกที่แปรปรวนของผู้เป็นพ่อที่กระทำต่อเขาก็ล้วนแต่ทำให้เขาเกิดความเครียดและเก็บกดมากยิ่งขึ้น ดังเช่น การที่พ่อบอกว่ารักเดวิดหากแต่กลับเป็นผู้ทำลายความฝันของเขาเสียเอง เมื่อถึงจุดๆหนึ่งเราก็พบว่าเดวิดเริ่มมีอาการผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด นั้นคือ เขาไม่สามารถควมคุมระบบขับถ่ายของตนเองได้ ด้วยอารมณ์ที่ไม่มั่นคงของพ่อทำให้เดวิดรู้สึกเก็บกดมากยิ่งขึ้น จากนั้นไม่นานเดวิดก็ตัดสินใจไปเรียนต่อที่อังกฤษซึ่งนั้นเองเป็นจุดแตกหักระหว่างเขากับพ่อ

การไปอยู่อังกฤษของเดวิดไม่ได้ทำให้เขาหลุดจากกรอบความคิดที่พ่อได้ครอบไว้แม้แต่น้อย เพราะเขายังคงรู้สึกผิดเสมอในการจากมา และเมื่อไม่ได้รับจดหมายตอบกลับจากทางบ้านยิ่งทำให้เขารู้สึกเคว้งคว้างยิ่งขึ้น ผ่านไปไม่นานเดวิดก็เริ่มมีอาการผิดปกติปรากฎให้เห็น เช่น การหมกมุ่นอยู่กับการเล่นเปียโนจนลืมใส่กางเกงใน ต่อมาหลังจากที่เขาได้แสดงการบรรเลงบทเพลงแรคหมายเลขสามในแข่งขันการเล่นเปียโนครั้งสุดท้าย เดวิดได้กลายเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทตั้งแต่บัดนั้นและหมอได้ห้ามเขาเล่นเปียโนอีก

เมื่อเขากลับออสเตรเลียและตัดสินใจโทรกลับบ้าน เขาก็ได้รับการปฏิเสธจากพ่อ ส่งผลให้เขาเลือกที่จะอยู่ในโลกส่วนตัว เราจะเห็นได้ถึงความเศร้าหมองของเดวิดในความจริงที่ว่าเขาสามารถไปที่ไหนก็ได้แต่เขากลับไม่มีที่ให้ไป เพราะบ้านที่เขาต้องการกลับไม่ได้เปิดประตูต้อนรับเขาอีกต่อไป เดวิดต้องอยู่โรงพยาบาลนานกว่า 20 ปี อาการของเขาเริ่มดีขึ้นหลังจากที่เขาได้พบรักกับกิลเลี่ยน จะเห็นได้ว่าตัวละครเอกของเรื่องได้ผ่านมรสุมชีวิตมามากมายโดยเฉพาะด้านจิตใจ ซึ่งส่งผลให้เขาป่วยเป็นโรคจิตเภท ดังนั้นพฤติกรรมต่างๆของเดวิดที่เราพบเห็นนั้นล้วนแต่มีนัยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น การที่เขาสูบบุหรี่ตลอดเวลาเป็นการสื่อว่าเขานึกถึงแคทเธอรีน ผู้ซึ่งเขาเคารพรักและสอนให้เขาสูบบุหรี่ และการที่เดวิดชอบจับหน้าอกผู้หญิงได้สื่อว่าเขาต้องการความรักจากแม่ นอกจากนั้นลักษณะการพูดที่เร็ว ไม่ได้ศัพท์ ยิ้มหัวเราะตลอดเวลา อีกทั้งลักษณะการเดินแบบเด็ก ล้วนแสดงให้เห็นว่าเขาต้องการใฝ่หาช่วงเวลาในวัยเด็กที่ขาดหายไป ทุกวันนี้เดวิดยังคงเป็นผู้ป่วย หากแต่ความรักของคนรอบข้างได้ฉุดเขาออกมาจากความมืด เดวิดจึงได้เห็นแสงอีกครั้ง

การสร้างฉากและบรรยากาศในภาพยนตร์เรื่องนี้ นับได้ว่ามีความโดดเด่นอย่างยิ่งโดยเฉพาะการนำเอาบทเพลงคลาสสิคมาประกอบตลอดทั้งเรื่อง นับได้ว่าเป็นจุดเด่นของการสร้างบรรยากาศให้แก่เรื่องอย่างยิ่ง บทเพลงที่นำมาประกอบก็ล้วนแต่ถูกคัดสรรให้เข้ากับเนื้อเรื่อง ซึ่งล้วนแต่สื่อให้เห็นถึงอารมณ์ ความรู้สึกของตัวละครอย่างงดงาม เหมาะสมและลื่นไหล ด้วยความซาบซึ้งใจไปกับบรรยากาศของภาพยนตร์ซึ่งนำเอาบทเพลงคลาสสิคที่โด่งดังมาประกอบ ไม่ว่าจะเป็น เพลงเปียโน Raindrop ของโชแปง เพลง Nulla In Mundo Pax Sincera ของ Antonio Vivaldi จึงไม่แปลกที่ใครหลายคนเลือกที่จะชมภาพยนตร์เรื่องนี้อีกครั้ง นอกจากบรรยากาศที่เต็มไปด้วยเสียงเพลงแล้ว ฉากในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็มีความโดดเด่นและน่าสนใจอยู่หลายฉาก เริ่มจากฉากเปิดและฉากปิดของเรื่องที่มีลักษณะเหมือนและตัดกันอย่างชัดเจน

เราจะเห็นได้ว่าในฉากเปิดเรื่องมีการใช้เสียงฝนและความมืดนำมาก่อนแล้วจึงเพิ่มเสียงของผู้ชายคนหนึ่งที่บ่นพึมพำฟังไม่ได้ศัพท์อยู่คนเดียวซึ่งเขายังคงอยู่ภายใต้ความมืดเช่นกัน จากนั้นจึงมีการปรับให้เห็นรูปหน้าของผู้ชายที่เป็นต้นเสียงที่ยังคงพูดอีกสักพัก แล้วเขาก็วิ่งฝ่าสายฝนในช่วงเวลากลางคืนจนไปหยุดที่หน้าร้านอาหารแห่งหนึ่งที่มีเปียโนตั้งอยู่ และชายคนนั้นก็ต้องการเข้าไปในร้านเพื่อเล่นเปียโน ส่วนในฉากปิดเราจะเห็นภาพการสนทนาอย่างชัดเจนระหว่างผู้ชายคนเดียวกันในฉากเปิดเรื่องกับผู้หญิงคนหนึ่งในสุสานเกี่ยวกับการจากไปของปีเตอร์ ผู้เป็นพ่อของเขา ระหว่างการเดินทางออกจากสุสานเราจะเห็นได้ถึงใบหน้าที่เปี่ยมสุขของคนทั้งสองที่เดินเคียงคู่ไปด้วยกันพร้อมกับเสียงเพลงที่บรรเลงประกอบ

จากรายละเอียดข้างต้นทำให้เราเห็นถึงความเหมือนและต่างของฉากทั้งสองที่เปรียบกันได้อย่างลงตัว ซึ่งทั้งสองฉากมีความเหมือนในการเสนอความเกี่ยวข้องระหว่างตัวละครเอกกับเสียง รวมถึงการนำเอาเสียง แสง บุคคลและวัตถุ มาใส่ไว้ในฉากเช่นเดียวกัน ขณะเดียวกันในความเหมือนก็มีความต่างในรายละเอียดอย่างชัดเจน กล่าวคือ ทั้งฉากเปิดและปิดของเรื่องต่างนำเสนอด้านตรงข้าม เริ่มจากเสียงที่มีความต่างในท่วงทำนองจากเสียงฝนที่ขาดหายไม่ต่อเนื่องมาเป็นเสียงดนตรีที่มีชีวิตและท่วงทำนองที่ลื่นไหล ความมืดในช่วงเวลากลางคืนที่นำเสนอ ความทุกข์ทนเศร้าหมอง การปกปิดและความอึดอัด มาเป็นความสว่างในช่วงเวลากลางวันที่นำเสนอ ความสุขสดใส การเปิดเผย ความโล่งสบายและอิสระ สุดท้ายคือความเปลี่ยนแปลงของตัวละครเอก จะเห็นได้ว่าเขาอยู่คนเดียวไม่มีรอยยิ้มและพูดในสิ่งที่ไม่มีใครเข้าใจในฉากเปิด หากแต่ในฉากปิดเขาไม่ได้อยู่คนเดียวอีกต่อไป วันนี้เขามีคนที่พร้อมจะพูดคุยและรับฟังในสิ่งที่เขาคิดด้วยความเข้าใจ
สัญลักษณ์ที่เด่นชัดในภาพยนตร์เรื่องนี้คือแว่นตา อันเปรียบได้กับกรอบความคิดซึ่งในภาพยนตร์เรื่องนี้มีผู้ที่สื่อสัญลักษณ์ของแว่นตาเพียงสองคน คือเดวิดกับปีเตอร์ผู้เป็นพ่อโดยมีความแตกต่างดังนี้ แว่นของปีเตอร์เปรียบได้กับสัญลักษณ์ของการยึดติดอยู่ภายในกรอบที่เขาได้เลือกเอง โดยเห็นสัญลักษณ์เหล่านี้ผ่านฉากต่างๆ คือ
ตั้งแต่ฉากแรกที่เห็นปีเตอร์ เราจะเห็นได้ว่าการมองโลกของเขาเป็นการมองแบบยึดตนเองเป็นหลัก ปีเตอร์เลือกที่จะอยู่ภายใต้กรอบที่เขากำหนดเช่นเดียวกับที่เขาไม่เคยถอดแว่นตา เขาดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อมั่นที่ว่าความคิดของเขาล้วนเป็นสิ่งที่ถูกต้องและดีที่สุดสำหรับทุกคนในครอบครัว ดังนั้นการกระทำทุกอย่างของเขาจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนในครอบครัวต้องยอมรับโดยไม่มีข้อโต้แย้ง แต่แล้วความเชื่อมั่นในกรอบที่ปีเตอร์ยึดติดก็ถูกสั่นคลอนโดยการตัดสินใจออกจากบ้านของเดวิด และนั้นก็เป็นครั้งเดียวที่เราได้เห็นการถอดแว่นเพื่อซับน้ำตาของเขา หากแต่ก็เป็นเพียงแค่ช่วงสั้นๆ เพราะในที่สุดปีเตอร์ก็เลือกที่จะสวมแว่นซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาเลือกที่จะอยู่ภายใต้กรอบความคิดของตนเอง จนกระทั่งฉากสุดท้ายที่เราได้เห็นปีเตอร์ไปหาเดวิดที่ร้านอาหาร เราพบว่าแว่นตาของเขาแตก หากแต่ปีเตอร์ยังคงไม่เปลี่ยนแว่นตา เขาเลือกที่จะนำกระดาษกาวมาพันไว้เท่านั้น แว่นตาของเขาจึงเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความคิดที่คับแคบอยู่แต่ในกรอบ ซึ่งการที่เขาไม่เปลี่ยนแว่นก็เท่ากับเขาเลือกที่จะอยู่กับความคิดเดิมๆที่เขายึดติดมาเนิ่นนานและไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง แม้ว่าเขาจะเคยเสียน้ำตาภายใต้กรอบแว่นอันนี้มาแล้วก็ตาม
ส่วนแว่นของเดวิดจะสื่อออกมาในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการสวม การถอด การตก หรือการเปลี่ยนแว่นตาของเดวิดล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับ การกระทำ ความคิดและความรู้สึกของเขาทั้งสิ้น แว่นตาของเดวิดจึงมีนัยสำคัญที่น่าติดตาม เริ่มตั้งแต่การสวมแว่นตาตั้งแต่เด็กของเดวิด ซึ่งไม่ได้หมายถึงผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาเท่านั้น หากแต่ยังสื่อให้เห็นว่าเขาถูกผู้เป็นพ่อครอบงำทางความคิดตั้งแต่เด็กกระทั่งโต เราจึงได้พบกับภาพของความกดดัน ความมุ่งมั่น ความไม่มั่นใจ ความสับสนต่างๆ ภายใต้กรอบแว่นของเดวิด ซึ่งล้วนเป็นผลจากการถูกครอบงำทางความคิดทั้งสิ้น

เรามักจะเห็นสัญลักษณ์ผ่านฉากสำคัญของเรื่องหลายฉาก อาทิ ฉากสำคัญในการบรรเลงบทเพลงแรคหมายเลขสามของเดวิด ซึ่งเขาได้หมดสติล้มลงหลังจากการแสดงจบพร้อมๆกับการตกลงของแว่น การตกของแว่นในครั้งนี้จึงเปรียบได้กับการหลุดออกจากกรอบที่พ่อได้ครอบให้แก่เดวิดด้วยการย้ำเสมอว่าเดวิดต้องบรรเลงเพลงนี้ให้ได้ เพราะมันจะเป็นผลงานที่ทำให้พ่อภูมิใจที่สุด

นอกจากนั้นแว่นอันเดียวกันนี้ก็ยังได้รับการนำไปเปรียบเทียบกับแว่นอันที่เดวิดใส่ในการแสดงใหญ่ครั้งแรกหลังจากป่วยเป็นโรคจิตเภท แว่นทั้งสองยังคงเป็นสัญลักษณ์ในการถูกครอบงำทางความคิดหากแต่เป็นการเปรียบให้เห็นมุมมองอีกด้านผ่านประกายและความสดใสของแว่นที่ต่างก็ตั้งในมุมเดียวกัน กล่าวคือ แว่นอันแรกเสนอให้เห็นว่าการเล่นดนตรีเพื่อสนองกรอบที่ถูกครอบจากภายนอกโดยหวังเพียงแต่ชัยชนะ ความสำเร็จที่ได้มาจึงไม่ต่างจากความสุขจอมปลอมเช่นเดียวกับความมัวของแว่น หากแต่แว่นอันที่สองเสนอให้เห็นว่าการเล่นดนตรีภายใต้กรอบของตัวเองอย่างอิสระ ไม่ยึดติดกับผลแพ้ชนะ ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จที่แท้จริงที่ทำให้เรามีความสุขสดใส เช่นเดียวกับประกายที่สดใสของแว่น

แว่นของเดวิดก็เคยแตกเช่นเดียวกับแว่นของปีเตอร์ แว่นของเขาแตกหลังจากที่เปียโนถูกล็อคซึ่งในเวลานั้นเดวิดรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มีที่พึ่ง สุดท้ายเขาเลือกที่จะเปลี่ยนแว่นซึ่งเปรียบได้กับสัญลักษณ์แห่งการเปิดกรอบทางความคิด หลังจากเปลี่ยนแว่นเดวิดก็เลือกที่กล้าเดินไปหาเปียโนเล่น จนในที่สุดเขาได้พบมิตรภาพที่ดีกลับมา และการเปลี่ยนแว่นในครั้งนี้ยังถือได้ว่าเขาเลือกที่จะหลุดออกจากกรอบของปีเตอร์ผู้เป็นพ่ออย่างถาวร เราจะเห็นได้จากการเผชิญหน้ากันครั้งสุดท้ายว่าเดวิดเลือกจะเปลี่ยนแว่น และนั้นทำให้ชีวิตเขาพบกับแสงสว่าง ดังนั้นแว่นของเดวิดจึงเปรียบได้กับสัญลักษณ์ของการถูกครอบงำทางความคิด การหลุดพ้นจากกรอบที่ถูกครอบงำ และการเปลี่ยนกรอบความคิด

แก่นเรื่องที่ได้รับจากภาพยนตร์เรื่องนี้คือ“แสงสว่างที่ส่องทางให้แก่ผู้ป่วยนั้นมิได้มาจากใครคนใดคนหนึ่งหากแต่เกิดจากทุกคนร่วมด้วยช่วยกัน”
ผู้ป่วยโรคจิตเภทอย่างเช่นเดวิด ล้วนมีปมภายในใจที่ส่งผลให้เขาเป็นเช่นนั้น เราจึงควรศึกษาหาปมที่ซ่อนอยู่ในใจของผู้ป่วยด้วยความอดทน ขณะเดียวกันก็ต้องกระตุ้นให้ผู้ป่วยกล้าที่เผชิญหน้ากับปัญหาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการช่วยผู้ป่วยให้สามารถกลับมาดำรงชีวิตอย่างปกติเช่นเดิมคงเป็นไปไม่ได้ หากแต่เราสามารถช่วยผู้ป่วยให้กลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขร่วมกับผู้คนในสังคมได้ แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมในการให้โอกาสแก่ผู้ป่วย ที่สำคัญคือ เราต้องไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่เพียงลำพังหรือรู้สึกโดดเดี่ยว ประกอบกับต้องดูแลผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ พร้อมที่จะรับฟังปัญหาและความคิดเห็นของเขา ไม่ควรว่ากล่าวต่อพฤติกรรมที่ผิดแผกของเขา แต่ควรแนะนำให้เขาเข้าใจอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้ให้แสงสว่างแก่เดวิดเท่านั้น หากแต่ยังส่องคำถามมายังเราด้วยว่า วันนี้เราได้ให้ความสำคัญกับคนในครอบครัวแล้วหรือยัง ใครหลายคนอาจจะมัวไข่วคว้าหาความสุขความสำเร็จให้แก่ชีวิต จนลืมไปว่าความสุขอยู่ใกล้แค่ตัวเรา ใครๆต่างบอกว่าครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทุกคนต่างก็รักครอบครัวของตน หากแต่เรารักอย่างถูกต้องแล้วหรือ บทเรียนชีวิตของเดวิดคงจะเป็นคำตอบที่ดีให้แก่เราได้ว่า ความรักอาจเป็นดั่งยาทิพย์ที่ช่วยฟื้นชีวิตเรา หากแต่ความรักก็เป็นดั่งยาพิษที่พร้อมจะพรากชีวิตไปจากเราได้เช่นกัน ทั้งหมดอยู่ที่คุณตัดสินใจเลือก

Shine โชคดีที่สวรรค์ไม่ลำเอียง

พิชญ์สินี

ผลงานภาพยนตร์กำกับโดย Scott Hicks ฉายครั้งแรกเมือ่วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2539
เรื่องราวของ เดวิด เฮลฟ์กอทท์ เด็กชายชาวออสเตรเลียน ผู้มีความสามารถทางด้านเปียโน
แต่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากพ่อผู้เข้มงวดและมีทัศนคติที่คับแคบ คอยพร่ำสอนให้ลูกชายของเขาต้องชนะในการแข่งขันเปียโนทุกครั้ง ทำให้เดวิดได้รับความกดดันมาก พ่อต้องการให้เขาเล่น

บทเพลงของแร็คมานีนอฟ ซึ่งเป็นบทเพลงคอนแชร์โตที่ยากมาก พ่อจึงให้เขาไปเรียนเปียโนกับครูโรเซน หลังจากที่เขาลงแข่งขันเปียโน เขาก็ได้รับทุนไปเรียนต่อที่อเมริกาและลอนดอน แต่พ่อกลับไม่ให้เขาไป แต่เดวิดก็ตัดสินใจที่จะไปลอนดอน แม้ว่าเขากับพ่อจะต้องตัดขาดจากกันก็ตาม ที่นั่นเขาได้ใช้บทเพลงของแร็คมานีนอฟในการแข่งขันเปียโน หลังจบการแสดงเขาก็เป็นลมล้มหมดสติไป และทำให้เดวิดกลายเป็นคนเสียสติไปในที่สุด แต่แล้วเขาก็ได้รู้จักกับกิลเลียน นักโหราศาสตร์
ผู้เปรียบเสมือนดวงดาวที่คอยนำทางให้กับเขา เดวิดแต่งงานกับกิลเลียนและตัดสินใจที่จะเล่นบทเพลงของแร็คมานีนอฟอีกครั้ง ถึงแม้ว่าพ่อของเขาจะไม่มีโอกาสได้ฟังบทเพลงที่พ่อคาดหวังว่าจะได้ฟังจากเขา แต่ทว่าเขาก็ได้สานต่อเจตนารมณ์ของพ่อได้สำเร็จ

ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดเรื่องด้วย ภาพของเดวิด เฮลฟ์กอทท์ ในวัยกลางคนกำลังพูดพึมพำกับตัวเอง เขาเดินฝ่าสายฝนที่กระหน่ำโปรยปรายลงมาไปยังร้านอาหารแห่งหนึ่ง และจ้องมองผ่านกระจกไปยังเปียโนที่วางอยู่ในร้าน เขาเคาะประตูเพื่อขอเข้าไปในร้าน และได้พบกับซิลเวีย
ซิลเวียจึงขับรถไปส่งเขาที่อพาร์ทเม้นท์

เหตุการณ์เริ่มพัฒนาด้วยการเล่าเรื่องเกี่ยวกับเดวิดในวัยเด็ก ว่าเดวิดเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ในการเล่นเปียโน แต่ด้วยความที่ทางบ้านของเดวิดไม่ได้ร่ำรวยมากพอที่จะให้เดวิดไปเรียนเปียโนกับครู พ่อของเดวิดจึงให้เดวิดฟังเพลงจากแผ่นเสียง และหัดเล่นเปียโนเอง เมื่อเดวิดไปแข่งขันเปียโนครั้งแรกเขาก็ได้รับรางวัลความกล้าหาญที่สามารถเล่นเปียโนด้วยเพลงที่ยากได้ แต่พ่อก็มักจะพร่ำบอกเขาเสมอว่าเขาแพ้อยู่เสมอ และจะต้องชนะให้ได้ พ่อตัดสินใจพาเดวิดไปเรียนเปียโนกับครูเบน โรเซน ครูตัดสินใจไม่สอนบทเพลงของแร็คมานีนอฟให้เดวิดตามที่พ่อของเดวิดต้องการแต่ครูกลับสอนบทเพลงของโมสาร์ทให้เขาแทน พ่อของเดวิดไม่สามารถพูดอะไรได้ เพราะเขาไม่มีค่าจ้างให้ครู เดวิดจึงได้เรียนบทเพลงของโมสาร์ท เดวิดมีความสามารถในการเล่นเปียโนจนได้รับทุนไปเรียนต่อที่อเมริกา แต่พ่อก็ไม่อนุญาติให้เขาไป ด้วยเหตุผลที่พ่อบอกว่า “ไม่อยากให้ใครมาทำลายครอบครัวของเรา” หลังจากวันนั้นเดวิดก็ได้รู้จักกับแคทเธอรีน นักเขียนคนหนึ่งซึ่งได้กลายมาเป็นเพื่อนสนิทต่างวัยของเดวิด และเป็นเพื่อนเพียงคนเดียวที่เดวิดมีอยู่ในขณะนั้น แต่แล้วเดวิดก็ได้รับทุนไปเรียนต่อที่โรงเรียนดนตรีในพระราชูปถัมภ์ที่ลอนดอน แต่พ่อก็ไม่ยอมให้เดวิดไปอีกครั้ง และขู่กับเดวิดว่า “ถ้าเดินออกจากประตูนั้นไปก็ไม่ต้องกลับมาบ้านนี้อีก”

จุดสงสัยของภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ตรงที่ พ่อปิดบังสาเหตุที่แท้จริงว่าทำไมถึงไม่อยากให้เดวิดไปเรียนต่อที่อเมริกาและลอนดอน ทั้งๆที่พ่อก็ภูมิใจในตัวเดวิดและอยากเห็นเดวิดประสบความสำเร็จ สามารถเล่นบทเพลงของของแร็คมานีนอฟได้และได้เป็นนักเปียโนที่มีชื่อเสียง สังเกตได้จากการที่พ่อยอมให้เดวิดไปเรียนเปียโนกับครูโรเซน และยังตัดข่าวที่เกี่ยวกับเดวิดที่มีอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆมาเก็บไว้

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เป็นความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ คือ ความขัดแย้งระหว่างพ่อที่ไม่ยอมให้เดวิดไปอเมริกาและลอนดอน แต่เดวิดกลับต้องการไปเรียนรู้และหาประสบการณ์

จุดวิกฤตเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งระหว่างพ่อกับเดวิด ทำให้เดวิดตัดสินใจเลือกที่จะไปเรียนต่อที่ลอนดอน โดยไม่สนใจคำทัดทานของพ่อ ที่ลอนดอนเดวิดได้พบกับประสบการณ์ชีวิต
ที่แปลกใหม่ และทำให้เขาได้มีโอกาสเรียนบทเพลงของแร็คมานีนอฟที่พ่ออยากให้เขาเล่น

จุดไคลแม็กซ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือฉากที่เดวิดลงแข่งขันเปียโนด้วยบทเพลงของแร็คมานีนอฟ แต่เพราะความกดดันที่อยากจะเล่นเพลงนี้ให้ได้ดีเพื่อที่จะได้กลับไปหาพ่อได้อีกครั้งพร้อมทั้งคาดหวังกับชัยชนะที่พ่อต้องการให้เขาได้รับ ผสมผสานกับความเศร้าโศกเสียใจที่ได้รับข่าวว่าแคทเธอรีนเพื่อนเพียงคนเดียวของเขานั้นเสียชีวิตแล้ว สิ่งเหล่านี้ทวีคูณความกดดันให้กับ

เดวิด หลังจากจบการแสดงเขาก็เป็นลมหมดสติไป หลังจากเหตุการณ์นั้นเขาก็เสียสติจนต้องเข้ารับการบำบัดที่โรงพยาบาลทางจิตเวชเป็นระยะเวลานานจนล่วงเข้าสู่วัยกลางคน เมื่อเดวิดเสียสติทุกอย่างในชีวิตของเขาก็ได้เปลี่ยนไปหมด เขาไม่กล้าที่จะเล่นเปียโนอีก

ภาพยนตร์เรื่องนี้ปิดเรื่องแบบสุขนาฏกรรม เดวิดได้พบกับความสุขในชีวิต คือการได้แต่งงานกับกิลเลียนผู้เป็นเหมือนดวงดาวซึ่งคอยส่องแสงนำทางให้กับขีวิตของเขา และเป็นผู้จุดประกายให้เขาหวนกลับมาเล่นบทเพลงของแร็คมานีนอฟอีกครั้ง แต่ทว่าครั้งนี้เขาไม่มีความกดดันใดๆอีกแล้ว และถึงแม้ว่าพ่อของเขาจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ถึงความสำเร็จของเขาแล้วก็ตาม แต่ว่าเขาก็ได้สานต่อความฝันให้กับพ่อผู้ซึ่งล่วงลับจากโลกนี้ไปแล้วได้อย่างสมบูรณ์

Shine เป็นภาพยนตร์ที่แฝงไว้ด้วยทัศนคติและให้มุมมองทางความคิดที่ดีในหลายๆด้าน เนิ้อเรื่องเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ตัวละครแต่ละตัวแสดงอารมณ์ได้ชัดเจน ทำให้เราเกิดความรู้สึกร่วมไปด้วย การที่พ่ออบรมสั่งสอนลูกด้วยความรักแบบผิดวิธีและทัศนคติที่คับแคบนั้น ทำให้ลูกไม่มีความสุข คนในครอบครัวก็พลอยไม่มีความสุขไปด้วย บทเพลงที่เคยไพเราะอย่างแร็คมานีนอฟก็กลับกลายเป็นเพลงที่สร้างความเจ็บปวด หากคนเราเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่นเท่ากับที่เข้าใจในความรู้สึกของตัวเองบ้าง สังคมในทุกระดับก็จะมีแต่ความสุข

Shine โชคดีที่สวรรค์ไม่ลำเอียง

พัฒนวัชร

“Shine” ภาพยนตร์ออสเตรเลีย ที่มีรางวัล มากมายเป็นเครื่องประกันคุณภาพความเข้มข้น ในการนำเสนอชะตากรรมชีวิต ของ David helfgott นักเปียโนผู้ไม่เคยถูกเติมเต็มทั้งความฝันและความรักอย่างถูกต้องจาก พ่อผู้ปิดกั้น และเชื่อมั่นในความคิดและความเชื่อของตัวเอง พ่อสอนเดวิดให้เล่นเปียโน และเขาก็มีพรสวรรค์ที่น่าทึ่ง นำมาซึ่งความภาคภูมิใจให้พ่อของเขาเป็นอย่างมาก

วันหนึ่งหนูน้อยเดวิดเข้าแข่งขันเปียโน และโรเซ่นกรรมการผู้ตัดสิน มองเห็นความสามารถของเดวิด จึงสอนเดวิดเล่นเปียโนต่อ และในการแข่งขันในวัยที่โตขึ้นเดวิดชนะและได้ทุนไปเรียนต่ออเมริกา แต่พ่อไม่ยอมให้ไป เขาได้เจอกับนักเขียนคนหนึ่งซึ่งชื่นชมและเมตตาเขาราวกับแม่ ต่อมา เดวิดเข้าแข่งขันเปียโนอีกครั้ง และแม้เขาไม่ชนะ แต่เขาก็ได้รับทุนให้เรียนต่อด้านดนตรี นักเขียนที่เป็นดั่งแม่คนที่สองของเขาเป็นแรงดลใจให้ เขาเลือกที่จะทำตามใจตัวเองถึงขั้นแตกหักกับพ่อ และไปเรียนที่ลอนดอนที่นั่นเขาได้พบกับอาจารย์ ที่เห็นความอัจฉริยะของเดวิด เขาสอนเดวิดจนพัฒนาไปไกล

เดวิดขอให้อาจารย์สอนเพลงแรคเมอนีนอฟ ซึ่งเป็นเพลงที่พ่อเขาอยากให้เขาเล่นและเขาก็อยากเล่น ซึ่งเป็นเพลงที่ยากมาก อาจารย์ทุ่มจิตวิญญาณสอนเขา จนเดวิดสามารถที่จะปิดตาเล่นได้ และถึงวันที่เขาแสดง เขาเล่นเพลงนี้อย่างสุดชีวิต สิ้นเสียงเพลง เดวิดยืนขึ้นและล้มลง เขาเสียสติ กลายเป็นคนพูดติดอ่างและวกวน เขาพบกับเบอริลซึ่งเคยชื่นชมเดวิดมาก รับเขามาอยู่ที่บ้าน แต่ไม่นานก็ต้องพาเดวิดไปอยู่กับชายคนหนึ่งเพราะทนไม่ไหว เขาได้กลับมาเล่นเปียโนอีกครั้ง และวันหนึ่งได้รู้จักซิลเวียในร้านอาหารที่เขาได้ไปเล่นประจำ เขามาอยู่ที่บ้านซิลเวีย และพบกับแกรเบียล เธอถูกชะตากับเดวิดมาก และเดวิดได้ขอแกรเบียลแต่งงาน เขาได้ขึ้นแสดงเปียโนอีกครั้ง และครั้งนี้เขาเล่นจบลงและยืนรับเสียงปรบมือชื่นชมอย่างยาวนาน และอยู่กับคนรักอย่างมีความสุข


ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ความสำคัญกับตัวละครเป็นหลัก นั่นคือเดวิดเด็กผู้มากด้วยพรสวรรค์และความสามารถ เติบโตในกรอบและกำมือของผู้เป็นพ่อ พ่อของเดวิดเป็นคนสอนเปียโนและควบคุมความคิดทุกอย่างแทนเดวิด เดวิดจึงกลายเป็นเด็กไม่ค่อยปกติ พูดจาแปลก มีพฤติกรรมต่างจากเด็กปกติทั่วไป ไม่มีโอกาสได้เล่นร่าเริงอย่างเด็กคนอื่นๆ ดูอ่อนแอทั้งร่างกายและความคิด ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับพ่อ พ่อผู้มีปมด้อยและรอยอดีตปวดร้าวในวัยเด็ก เชื่อมั่นในความคิดของตัวเอง ความผิดปกติของเดวิด น่าจะมีที่มาจากหัวใจที่พิการของผู้เป็นพ่อเอง ที่หวังให้เดวิดเป็นตัวแทนสนองจิตใจส่วนลึกของตน พ่อของเดวิดมักเล่าเรื่องที่ตอนเด็กเขาอดออมจนซื้อไวโอลินได้ แต่พ่อของพ่อเขาก็ฟาดไวโอลินตัวนั้นจนพัง และไม่ยอมให้พ่อของเดวิดในวัยเด็กได้เล่นดนตรี พ่อของเดวิดแม้จะรักเดวิดมากแต่ก็รักในทางที่ผิดมหันต์
ทั้งที่ตัวเองรักในการเล่นดนตรี และสอนเดวิดมาเอง กลับปิดกั้นไม่ให้เดวิดทำตามที่ใจอยากบนเส้นทางดนตรีของตัวเอง อาจเป็นเพราะความฝัน ความหวังทุกอยากคือเดวิด และกลัววันที่เดวิดกำลังจะจากไปเขาจึงไม่ยอมให้เดวิดทำตามความตั้งใจ ทำให้เดวิดกลายเป็นคนเก็บกด


พฤติกรรมของตัวละครน่าสนใจอย่างมาก มีหลายๆจุดที่แสดงถึงความพิการทางใจของแต่ละตัวละคร ตอนที่พ่อของเดวิดเก็บเปียโนหลังเล่นเสร็จ พ่อนั่งวางมือที่กุมบนเปียโน สื่อถึงความหวัง ความตั้งใจที่จะเคี่ยวเข็ญ ตีกรอบแข็งข้น และกุมทุกอยากไว้ในมือ และตอนที่พ่อของเขานั่งเปิดดูความภูมิใจที่มีต่อตัวเดวิดด้วยใบหน้าเปี่ยมสุข ซึ่งเป็นกระดาษหน้าหนังสือพิมพ์ตัดแปะในสมุดเกี่ยวกับความสามารถทางเปียโนของเดวิด หลังจากนั่งอยู่นาน ภาพที่เห็นคือ พ่อเลื่อนผ้าปิดมาปูปิดรอยขาดตรงที่ตั้งแขนโซฟา สื่อให้เห็นถึงการปิดบังบาดแผลและความเสียหายทางใจของผู้เป็นพ่อเอง พ่อมักบอกเดวิดเสมอว่า คนแข็งแรงเท่านั้นที่จะอยู่รอด แต่เขาแข็งแรงแค่ภายนอกเท่านั้น ในตอนที่ครูของเดวิดมาเคาะประตูหน้าบ้านเพื่อขอร้องว่าอย่าปิดโอกาสเดวิด แต่พ่อเขาเพียงยืนนิ่งอยู่หลังประตูบ้านในความมืด แสดงถึง การปิดกั้นประตูใจ และความหม่นมืดภายในใจ ทำให้เห็นว่าทุกอย่างมันย้อนกลับมาเกิดกับเดวิดอย่างที่เคยเกิดกับตัวพ่อของเดวิดเอง เพราะแม้จะฝึกฝนให้เดวิดได้เล่นดนตรี ชดเชยสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ทำในวัยเด็ก แต่กลับทำอย่างเดียวกันกับเดวิด แบบที่ตัวเองเคยถูกกระทำมา และตอนที่ไปรับเดวิดที่โบสถ์ เขาเดินจากมาพร้อมเดวิด และถอดหมวกทางศาสนาออกทันที เขาไม่ยอมรับสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากความคิดตัวเอง ตอนที่เดวิดขอไปเรียนต่อลอนดอน เขาทุบตีด้วยความโกรธ ที่เดวิดกล้าหลีกหนีกรอบที่พ่อตีไว้ให้ เขาบอกว่าเดวิดจะเสียครอบครัวไป นั่นเพราะเขารู้ดีในสิ่งที่มันเกิดขึ้นกับเขา และถึงขนาดที่ครั้งสุดท้ายที่เขามาหาเดวิด เขาก็ยังคงความเป็นตัวเอง แต่มอบเหรียญรางวัลนั้นให้และกอดเขา แสดงความรักและฝากความหวังไว้กับเดวิดเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะเดินจากไป ทั้งหมดล้วนแล้วแต่สะท้อนความเจ็บปวดฝังใจ และความอ่อมแอในจิตใจของตัวละครทั้งสิ้น


เดวิดเองก็มีพฤติกรรมที่น่าสนใจมาก เขามีพรสวรรค์ ตั้งแต่เด็ก แต่อ่อนแอและเก็บกด ตอนที่เขาต้องพูดหลังรับรางวัล เขาต้องฟังสิ่งที่พ่อบอกแล้วพูดตามแต่ต่อด้วยประโยคที่ตัวเองอยากพูดโดยไม่เกี่ยวข้องกับที่ควรเป็น นั่นชี้ว่า อย่างตะกุกตะกัก และประหลาดเล็กน้อยทุกอย่างขึ้นอยู่กับพ่อตลอด และตอนที่ได้พบกับนักเขียนหญิงและหัดสูบบุหรี่ ก็เป็นจุดที่มองได้ว่า เขาต้องการเสริมสร้างความมั่นใจให้ตัวเอง และแม้ว่าจะเริ่มอยากทำอะไรนอกเหนือกรอบที่พ่อเขาวางไว้ก็ไม่กล้า ได้แต่เก็บมันเอาไว้ และก๊อกน้ำที่มีน้ำหยดลงมาช้าๆ ก็หมายถึง จิตใจที่ไม่สามารถปิดกั้นได้สนิท เก็บกด และจนได้กำลังใจจากนักเขียนหญิงผู้ที่รักและเอ็นดูเขาราวกับแม่ ทำให้เขารู้สึกว่ามีคนเชื่อมั่นในตัวเขา ทุกอย่างก็ระเบิดออกมาเขากล้าที่จะเลือกทางเดินชีวิตนอกกรอบ แต่แม้ได้ไปเรียนที่ลอนดอน แต่สิ่งเดียวที่ยังรักษาหัวใจเขาไว้ได้อยู่ก็มีเพียงถุงมือแดงที่หญิงนักเขียนมอบไว้ให้ เขาใส่มันซ้อมตลอด แทนความรู้สึกที่ขาดหาย สร้างความเชื่อมั่นให้เขา เขารู้สึกโดดเดี่ยวและไม่เหลืออะไรตอนที่รู้ว่า คนที่เขารักและเชื่อมั่นในตัวเขา ได้จากไปแล้ว และตอนที่เขาเล่นเพลงแรคเมอนีนอฟก่อนที่จะเสียสติ เขาเล่นด้วยหัวใจ และอารมณ์ที่ขาดความยับยั้ง แรงกดดันในใจ ทำให้เขาอยู่กับเปียโนและจิตวิญญาณของตัวเท่านั้น ไม่ได้ยินเสียงรอบกายภายนอก มีเพียงเสียงหัวใจตัวเอง แต่นิ้วก็ยังไล่โน้ตหนักหน่วงรวดเร็วอย่างวิจิตรพิสดาร จนจบเพลง นั่นคือความกดดันทุกอย่างได้ปลดปล่อย เพียงแต่ เขาไม่สามารถรับรู้อะไรได้อีก แม้แต่เสียงชื่นชมปรบมือ

ในเมื่อไม่เหลืออะไร เขาจึงต้องการกลับบ้านแต่พ่อไม่ยกโทษให้ เขาจึงเลือกอยู่กับตัวเอง ในโลกของตัวเอง กลายเป็นคนผิดปกติ แต่ดูเจ็บปวดน้อยลง คล้ายย้อนกลับสู่วัยเด็กที่ขาดหายอีกครั้ง เท้าที่กระโดดคล้ายการเล่นเกม ในตอนที่เดินกับพยาบาลแสดงให้เห็นถึงช่วงเวลา ความรัก และความสุขที่ขาดหาย การจับหน้าอก แสดงถึงการขาดความอบอุ่น บุหรี่ที่คาบตลอดเวลา อาจหมายถึง สิ่งที่สร้างความมั่นใจให้กับตัวเองได้เป็นสิ่งแรก และไม่ต้องการที่ขาดมันไป จึงคาบบุหรี่ตลอดเวลา การที่เดวิดวิ่งฝ่าสายฝนทั้งที่ปากคาบบุหรี่ เหมือนความทุกข์ที่สาดกระหน่ำใส่ แต่เขาไม่รับรู้สิ่งอื่นใดต่อไปอีกแล้ว เขาอยู่กับจิตใจเสียงเพลงและตัวโน้ต ดนตรี และบุหรี่ซึ่งเป็นความเชื่อมั่นแรกที่คาบอยู่เท่านั้น เขาเปิดน้ำทิ้งไว้ ราวกับจะช่วยชะล้างแผลในใจได้ เขากระโดดบนเครื่องเล่น เปลือย ฟังเพลง ภาพที่ฉายเพียงใบหน้าเปี่ยมรอยยิ้มแห่งความสุข กับท้องฟ้ากว้างว่างเปล่าคง สื่อถึง จิตใจที่เป็นอิสระ ตอนที่พ่อมาหา เขาเลือกตอบพ่อว่า “ไม่รู้”ทั้งที่ตอนเด็กๆ เขามักตอบว่า พ่อของพ่อเขาฟาดไวโอลินตัวนั้นจนพัง หมายถึงเค้าเลือกที่จะไม่คล้อยตามพ่ออีกต่อไปแล้ว เขาเชื่อมั่น และเลือกที่จะอยู่กับตัวเอง โดยพูดว่า “ลาก่อนพ่อ”
แกรเบียล ภรรยาของเดวิด เป็นคนเชื่อมันในเรื่องของดวงดาวและโชคลางเป็นอย่างมาก ใครจะคิดว่าผู้หญิงที่กำลังจะแต่งงานกับคนที่มีหน้ามีตาและร่ำรวย กลับเชื่อใจตัวเองและถามหาคำตอบจากดวงดาว แต่งงานกับคนผิดปกติอย่างเดวิด แกรเบียล คือตัวละครที่เติมเต็มทุกความขาดหายของเดวิด ปิดรอยแผลกว้างของหัวใจ แม้จะเหลือรอยแผลเป็นทิ้งไว้ แต่ไม่เหลือความเจ็บปวดให้ต้องทนทรมานอีกต่อไป

ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเจ็บปวดและความหวังของชีวิต ผ่านตัวละครที่มีชะตากรรมที่โหดร้าย เขาเล่นเพลงที่ยากที่สุด อย่างสุดชีวิตจนจบ แต่ไม่สามารถรับรู้ถึงความสำเร็จนั้น และแม้เขาจะกลายเป็นคนผิดปกติ แต่ความผิดปกติภายนอกนั้น ยังมีจิตใจที่เป็นอิสระ ไร้กรอบ และเป็นสุข ในโลกของตัวเองอยู่ และวันหนึ่งความหวังที่เคยตั้งไว้ก็สำเร็จ เขาได้รับเสียงปรบมือชื่นชมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ เขายืนขึ้นมารับรู้ถึงความสำเร็จของตัวเองได้อย่างสุขใจและเนิ่นนาน บาดแผลทุกอย่างทิ้งไว้เพียงรอยแผลเป็น และไม่เจ็บปวดอีกแล้ว ชีวิตจริงของคนเราทุกคน ล้วนมีความทุกข์ความเจ็บปวดเสมอ แต่การรู้จักที่จะเชื่อมั่นและหาทางลบความเจ็บปวดเหล่านั้น หันมาเริ่มต้นกับสิ่งใหม่ๆ ความสำเร็จก็จะยังรอเราอยู่เสมอ และวันที่เราสามารถทำได้ เราก็จะยิ้มรับอย่างเป็นสุข ขอเพียงมีจิตใจที่แข็งแกร่งและไม่ทดท้อต่อชะตากรรม