วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง


โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง
คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ เขียน
ผุสดี นาวาวิจิต แปล
พิมพ์ครั้งที่ 17 เมษายน 2546
สำนักพิมพ์ผีเสื้อ
272 หน้า149 บาท

โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่น ที่ได้รับการแปลมาแล้วกว่าหลายภาษาทั่วโลก
เหตุการณ์ในเรื่อง เป็นเรื่องจริงของเด็กหญิงในโรงเรียนประถมศึกษา ในกรุงโตเกียว ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะสงบไม่นานนัก

โต๊ะโตะจังถูกไล่ออกจากโรงเรียนเก่าขณะเรียนชั้นประถมหนึ่ง ด้วยเหตุผลว่า "จะเป็นการรบกวนเด็กคนอื่นในชั้นเรียน"

โรงเรียนใหม่ของโต๊ะโตะจังชื่อโรงเรียน “โทโมเอ” ซึ่งแตกต่างจากโรงเรียนเก่าโดยสิ้นเชิง โดยมีห้องเรียนที่ดัดแปลงมาจากโบกี้รถไฟเก่าที่ไม่ใช้แล้ว โต๊ะโตะจังคิดว่าโรงเรียนนี้แปลกดี เธอสัญญากับตัวเองว่า “โรงเรียนดีๆ อย่างนี้ จะไม่ยอมขาดเรียนเลยสักวันเดียว” และ ณ ที่แห่งนี้เอง ทำให้เธอได้พบกับครูที่แสนดี ผู้ที่มีความรักและความเชื่อมั่นในตัวเด็กๆทุกคน ที่นี่เด็กๆที่นี่จึงได้เรียนรู้ตามใจปรารถนา และไม่มีตัวตนด้านใดถูกมองข้ามหรือทำลาย

กีฬาโรงเรียนมีรางวัลเป็นผักชนิดต่างๆ เด็กที่ได้รางวัลมากที่สุดคือเด็กที่เคลื่อนไหวช้าและร่างกายจะไม่โตกว่าเด็กประถมอีกต่อไป ครูโคบายาชิทำให้เด็กคนนี้ชนะกีฬาทุกประเภท และเขาชนะไปตลอดชีวิต แม้หลังจากโรงเรียนโทโมเอไม่หลงเหลืออยู่อีกแล้ว

จากความทรงจำที่ดีต่างๆ เกี่ยวกับโรงเรียนโทโมเอ โต๊ะโตะจังอยากเป็นครูเพื่อกลับมาสอนที่โรงเรียนแห่งนี้เมื่อเติบโตขึ้น

โรงเรียนโทโมเอในฝันถูกเผาจากการทิ้งระเบิดของกองทัพสหรัฐฯ สงครามโลกครั้งที่สองกำลังจะจบลง ครูโคบายาชิไม่ได้สร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ พื้นที่นั้นกลายเป็นห้างสรรพสินค้าในวันนี้ โต๊ะโตะจังอยู่บนขบวนรถไฟที่หนีสงคราและจำต้องทิ้งโรงเรียนไว้เบื้องหลัง เหลือไว้เพียงความทรงจำ

วรรณกรรมเรื่องนี้ จึงเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจช่วยส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีให้แก่เด็ก จากการอ่าน ซึ่งเป็นการขัดเกลาโดยออ้อม และแม้ว่าจะเป็นวรรณกรรมสำหรับเยาวชน แต่ก็สามารถให้แง่คิด และมุมมองแก่ผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยเฉพาะทัศนคติที่มีต่อเด็ก ผู้อ่านจึงอาจเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของเด็กได้อย่างลึกซึ้งผ่านวรรณกรรมเรื่องนี้

กฤษณา

3 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

มีรายละเอียดพอใช้ แต่ยังไม่ได้ดึงจุดเด่นในเรื่องมาเล่า ตอนท้ายมีลักษณะรีบจบ และลงท้ายไม่ฝากความประทับใจไว้เลย

7

หนุ่มอักษร...นอนตื่นสาย กล่าวว่า...

ขอร่วมวงสังสรรค์ด้วยคนนะครับอาจารย์

เห็นด้วยกับอาจารย์ตรงที่ว่ายังไม่ได้ดึงจุดเด่นของหนังสือออกมาอย่างเต็มที่ เพราะหนังสือเล่มนี้มีความโดดเด่นมากแทบทุกตอน สามารถดึงมาเล่าได้เกือบหมดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ "เด็กมีปัญหา" หลายๆ คนในเรื่องที่ถูกมองเป็นตัวปัญหาในสังคม แต่เมื่อเข้ามาที่โรงเรียนนี้กลับกลายเป็นคนสำคัญที่ใครๆ ก็รักและเอาใจใส่ หรือเรื่องแนวคิดที่ไม่เหมือนใครของคุณครูโคบายาชิ และอาจจะโยงเรื่องไปเปรียบเทียบกับวงการศึกษาไทยก็ได้ (คงดูน่าสนใจดีนะครับ)

::วุฒินันท์::

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถ้าแนะนำหนังสือเล่มนี้แล้วจะโยงมาวิจารณ์วงการการศึกษาไทย ครูว่าก็อาจจะนอกประเด็นได้นะ เพราะนี่เป็นการเขียนบทแนะนำหนังสือ อยากให้เขียนถึงความน่าสนใจในตัวบทมากกว่า ที่สำคัญคือผู้แนะนำควรมีวัตถุประสงค์ของการแนะนำที่ชัดเจนค่ะ