วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

นกที่ไร้รัง


นกที่ไร้รัง
กลอเรีย วีแลน ผู้แต่ง
กิติมา อมรทัต ผู้แปล
สำนักพิมพ์มติชน
159 หน้า
135 บาท


แม้คืนวันจะแปรเปลี่ยน โลกจะหมุนเวียนไปตามธรรมชาติ ชีวิตคนเราเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สิ่งที่ไม่คยเกิดก่อเกิดขึ้น ชีวิต ทรัพย์สิน ปัญญา วัตถุต่างๆ ก็ผกผันไปตามวันและเวลา มนุษย์ทุกคนล้วนแต่เรียนรู้ พัฒนาความสามารถ สติปัญญา ให้เจริญคล้อยตามไปกับสภาพสังคม ชีวิตไม่เคยหยุดนิ่ง ยิ่งในยุคปัจจุบันโลกเราเป็นโลกไร้พรมแดน เป็นโลกแห่งความเสมอภาค ความเท่าเทียมกัน อิสรภาพเสรีภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนพึงมี แต่มีอีกมุมหนึ่งที่เราอาจไม่เคยสัมผัสและรับรู้ ก็ยังมีชวิตของอีกหลายๆคนที่ยังไขว่คว้าหาสิ่งเหล่านั้น โลกใบกลมนี้ยังมีกรอบซึ่งเรียบเสมือนกรงที่กักขังยึดเหนี่ยวหญิงสาวผู้น่าสงสาร ผู้เฝ้าคอยเสรีภาพ ความทัดเทียมอยู่ บางส่วนบนพื้นโลก ดินแดนเอเชียใต้ประเทศอินเดีย ยังเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมบุรุษครอบงำสังคม จนมีผู้จำกัดความไว้อย่างเจ็บปวดว่า “ ถ้าจะเกิดเป็นคนอินเดียอย่าได้เกิดเป็นผู้หญิง ถ้าเกิดเป็นวัวในอินเดยอย่าเกิดเป็นวัวตัวผู้”

สิ่งต่างๆมากมายที่เราไม่เคยรับรู้หรือนึกถึงวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆในอินเดียถ่ายทอดได้อย่างลึกซึ้งกินใจ ลงบนหนังสือนวนิยายแปล ผลงานชิ้นเยี่ยมเจ้าของรางวัล National Book Award โดยผู้เขียนนาม กลอเรีย วีแลน เรียบเรียงแปลเป็นภาษาไทยโดย กิติมา อมรทัต ซึ่งหนังสือชิ้นเยี่ยมนี้มีชื่อว่า “ นกที่ไร้รัง” หนังสือดีที่จะสื่อความรู้และความบันเทิงเริงใจ แก่ผู้อ่านให้ได้ลิ้มลองและล่องลอยไปตามเนื้อหาที่น่าสนใจ น่าติดตาม ไขข้อปัญหาสงสัย ความใคร่รู้ในเรื่องวัฒนธรรมอินเดียได้อย่างมาก

“นกที่ไร้รัง” กล่าวถึงชีวิตหญิงสาวชาวอินเดียผู้หนึ่ง นามโกลี ผู้ที่อยู่ในครอบครัวยากจน โดยประเพณีของชาวอินเดียนั้น เมื่อผู้หญิงมีอายุที่เหมาะสมสำหรับการครองเรือนแล้วฝ่ายพ่อแม่ ญาติพี่น้อง จะต้องสรรหาชายหนุ่มมาเป็นคู่ครองของลูกสาว โดยที่ฝ่ายหญิงนั้นต้องเป็นผู้จัดเตรียมสินสอดทองหมั้นเพื่อไปขอฝ่ายชาย โกลีผู้น่าสงสารแต่งงานกับครอบครัวฝ่ายชายที่เจ้าบ่าวป่วยหนัก การแต่งงานกับโกลีนั้นก็แค่หวังสินสอดเพื่อนำไปเป็นค่าเดินทางไปยังแม่น้ำคงคา แม่น้ำที่เปรียบเสมือนสิ่งศักด์สิทธิ์เคารพบูชาของชาวอินเดีย พวกเขามความเชื่อกันว่า แหล่งน้ำนี้เป็นยาวิเศษสามารถช่วยให้หายป่วยได้ แต่แล้วสิ่งที่พวกเขาฝากความหวังไว้ก็ไม่ได้ช่วยสิ่งใด สามีของโกลีเสียชีวิต ซึ่งนี้ก็เป็นจุดหักเหที่สำคัญของชีวิตเธอ เนื่องจากการเป็นหม้ายในวัฒนธรรมอินเดียนี้เป็นสิ่งไม่ดี เป็นสิ่งอัปมงคล ชีวิตเธอจึงต้องรันทดทนทุกข์อยู่ที่บ้านสามี แม่สามีก็ไม่ชอบใจในตัวโกลี เธอต้องตรากตรำทำงานหนัก แต่ด้วยความใฝ่รู้ใฝ่เรียนหญิงสาวจึงแอบเรียนหนังสือกับพ่อสามีผู้ที่มีความเมตตาต่อเธอ จนเธอสามารถอ่านออกเขียนได้ แต่แล้วเคราะห์ซ้ำกรรมซัด พ่อสามีตาย แม่สามีจึงต้องไปอยู่กับน้องชาย โกลีขอตามไปด้วย เพราะเธอไม่สามารถกลับไปหาพ่อแม่ เนื่องจากถือเป็นการทำลายชื่อเสียงของครอบครัว แต่แล้วแม่สามีก็หลอกเธอ ปล่อยทิ้งไว้ในเมืองอันหว้าเหว่ ปราศจากบุคคลที่เธอรู้จัก ชีวิตหญิงสาวจึงต้องระหกระเหเร่ร่อน แต่โชคก็เข้าข้างเธออยู่บ้าง มีชายหนุ่มใจดีพาเธอไปอยู่ที่บ้านพักแม่หม้าย โกลีจึงมีที่อยู่ ที่กิน ที่ทำงาน เมืองแห่งนี้เป็นสถานที่ที่แม่หม้ายโดนหลอกมาปล่อยทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก โกลีเป็นคนขยันและมีฝีมือในการเย็บปักผ้า ผู้ใจบุญเจ้าของบ้านเห็นถึงฝีมือ จึงส่งสริมให้เธอมีอาชีพทางด้านนี้ ชีวิตของหญิงสาวดำเนินไปเรื่อยๆจนความรักก่อเกิดเบ่งบานกับหนุ่มใจดีผู้ที่พาเธอมายังบ้านแม่หม้าย ชายหนุ่มพยายามตั้งหลักปักฐาน สร้างครอบครัวและขอเธอแต่งงาน ชีวิตของโกลีในเวลานี้เสมือนกับตายแล้วเกิดใหม่ นกที่ไร้รังยามนี้กำลังโบยบินไปยังบ้านของมัน

เพียงแค่ได้เห็นชื่อเรื่อง “นกที่ไร้รัง” ก็เป็นสิ่งดึงดูดใจให้ใคร่อยากอ่าน ชื่อเรื่องนั้นดูเศร้า อ้างว้าง แต่ในความเศร้านี้ยังแฝงไปด้วยความน่าสนใจกับสิ่งที่ประพันธ์ออกมา ยิ่งอ่านไปแล้วนั้น เสมือนดั่งว่าตกลงสู่ห้วงแห่งมนตร์เสน่ห์ ความเศร้าเกาะกินใจ แต่ความชื่นชม ปลาบปลื้มใจก็ผสมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน นอกจากได้รับความบันเทิงเริงใจ หนังสือเล่มนี้ยังสอดแทรกเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีในสังคมประเทศอินเดีย ใช่เพียงเท่านี้เมื่ออ่านแล้วยังได้รับประโยชน์มาก ทั้งข้อคิด คติเตือนใจ ซึ่งคอยสอนแก่ผู้อ่านให้ได้ฉุกคิดตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น การอดทนทำงานโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ การกตัญญูรู้คุณคน ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นต้น

ในด้านภาษา มีการใช้ภาษาที่เรียบง่าย กะทัดรัดได้ใจความ มีวรรณศิลป์ต่างๆในการแต่ง อย่างเช่น มีการเปรียบเปรย “ดวงอาทิย์ตกทำให้ให้แม่น้ำเป็นสเทาเหมือนกับโคลน” หรือ “ขอบใจของฉันเหมือนกับแมงป่อง บัดนี้ต่อยฉันเข้าแล้ว” นอกจากนี้ผู้แต่งยังใช้สำนวนที่ไพเราะน่าฟัง อ่านแล้วรู้สึกได้ถึงความอบอุ่นโดยการใช้คำลงท้ายว่า “จ๊ะ” ใช้เมื่อผู้พูดมีความรู้สึกที่ดีต่อบุคคลที่กล่าวด้วย ตัวอย่างเช่น เมื่อเขาพูดกับชายใจดี “เธออยากให้ฉันสอนไหมจ๊ะ” เป็นต้น ในด้านเนื้อหานั้นก็เป็นเนื้อเรื่องที่เข้าใจง่าย ไม่มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อน อ่านแล้วเข้าใจในทันทีและตีความหมายได้ชัดเจน เนื้อหานั้นมีความสอดคล้องกับชื่อเรื่องได้เป็นอย่างดี จำนวนหน้านั้นก็มีจำนวนไม่มาก ทั้งตัวอักษรก็มีขนาดใหญ่ ผู้อ่านอ่านแล้วจะไม่เบื่อ ใช้เวลาในการอ่านไม่นาน ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงเหมาะสมกับคนทุกวัย หากเป็นวัยเด็กผู้ปกครองก็สามารถช่วยแนะนำและคอยสั่งสอนให้เด็กๆเข้าใจได้ง่าย

หนังสือดีกาลันตีด้วยรางวัลที่ผู้อ่านสามารถหาอ่านได้โดยง่าย ความรู้และโลกใบใหม่ความบันเทิงเริงใจ หล่อหลอมรวมกันในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งกำลังรอคอยท่านให้ได้สัมผัส ลิ้มลอง เหลือเพียงให้ท่านได้พิสูจน์และรับรู้ โดยเฉพาะผู้หญิงหรือบุคคลที่กำลังมีปัญหา เกิดความท้อแท้ใจ เกิดความอยุติธรรม เมื่อท่านอ่านแล้วท่านจะได้รู้ว่าไม่ใช่เพียงท่านที่เกิดปัญหาและยังต้องตั้งคำถามกับตนเองว่า “ สมควรแล้วหรือที่จะสิ้นหวังและติดอยู่กับความทุกข์”


รติพร

3 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับกำลังใจดีๆ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เล่าเรื่องได้ดี แต่ใช้ภาษาเยิ่นเย้อและยาวไปหน่อย ทำให้อ่านยาก ควรตัดคำนี้ กาลันตี เขียนผิด และน่าจะใช้คำอื่น รวมทั้งประโยคนี้ด้วย


7.5

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ