กนกกาญจน์ สุประดิษฐ์
05490003
สัตว์ประหลาดเป็นผลงานการกำกับของอภิชาติพงษ์ วีระเศษฐพงษ์ ซึ่งเป็นหนังที่ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากจากทั้งในและต่างประเทศถึงเนื้อหาที่ค่อนข้างเข้าใจยาก เป็นหนังไทยเรื่องแรกที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าฉายในเทศกาลหนังเมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างความฮือฮาอย่างมากให้กับวงการหนังไทย และยิ่งฮือฮาเข้าไปอีกเมื่อหนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัล Jury prize สร้างเกียรติประวัติให้แก่ชาติไทยเป็นอย่างมาก
แต่อย่างไรก็ตาม จากเนื้อหาของภาพยนตร์ที่ว่า ถ้าจะดูให้ง่ายก็ง่าย ถ้าจะดูให้ยากก็ยากนั้น ได้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพยนตร์หลายท่านออกมาวิพากษ์วิจารณ์ แตกออกเป็นสองฝ่าย บ้างวิจารณ์ว่า เป็นหนังที่เข้าใจยาก ดูยาก เนื้อเรื่องชวนให้หลับ บ้างถึงกับหลงใหลและชื่นชมในความสามารถของผู้กำกับที่สามารถสร้างหนังที่เป็นเอกลักษณ์ได้ถึงเพียงนี้
แต่อย่างไรก็ตาม จากเนื้อหาของภาพยนตร์ที่ว่า ถ้าจะดูให้ง่ายก็ง่าย ถ้าจะดูให้ยากก็ยากนั้น ได้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพยนตร์หลายท่านออกมาวิพากษ์วิจารณ์ แตกออกเป็นสองฝ่าย บ้างวิจารณ์ว่า เป็นหนังที่เข้าใจยาก ดูยาก เนื้อเรื่องชวนให้หลับ บ้างถึงกับหลงใหลและชื่นชมในความสามารถของผู้กำกับที่สามารถสร้างหนังที่เป็นเอกลักษณ์ได้ถึงเพียงนี้
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สร้างชื่อเสียงให้กับอภิชาติพงษ์เป็นอย่างมาก แต่เรื่องนี้อาจไม่ใช่เรื่องที่หลายๆคนชอบ เพราะเรื่องที่เขาสร้างนั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก มีนักวิจารณ์หนังหลายคนพูดว่า “ หนังเรื่องนี้ต้องเอาหัวใจมาดู อย่าเอาสมองมาดู “ ถ้าจะถามว่าทำไมหนังเรื่องนี้ถึงดูยาก นั่นอาจเป็นเพราะว่าหนังส่วนใหญ่มีรูปแบบที่เป็นพล็อตเรื่องมาแล้ว แต่หนังของอภิชาติพงษ์นั่นต้องใช้จิตนาการสูง ต้องคิดตามจึงเข้าใจยาก ซึ่งหากให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งที่เป็นคนไทยและที่เป็นต่างชาติดูก็คงจะทำให้งงได้เหมือนกัน เพราะหนังเรื่องนี้มีลักษณะพิเศษ มีภาษาและรหัสที่เป็นไปในแบบฉบับของมันเอง
อภิชาตพงษ์ได้นำเสนอรูปแบบของหนังเรื่องสัตว์ประหลาดในลักษณะของหนังผ่าครึ่ง หลายคนอาจจะสงสัยว่าหนังผ่าครึ่งคืออะไร หนังผ่าครึ่ง คือหนังที่มีสองเรื่องในเรื่องเดียวนั่นเอง
เรื่องแรกเขาตั้งชื่อเรื่องว่า Tropical Malady ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ แปลเป็นไทยได้ว่า ไข้มาลาเรีย เป็นเรื่องที่เน้นตัวละครเป็นหลัก นั่นคือนายทหารชื่อเก่งและโต้ง เน้นความรักระหว่างชายด้วยกัน หากแต่สามารถแสดงความรักต่อกันได้โดยปกติ ตัวพ่อแม่โต้งเองก็รู้ ชาวบ้านที่ถือว่าเป็นชาวชนบทจริงๆ ก็รับได้อย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ กลายเป็นความรักปกติสามัญ แต่ในที่สุดแล้วหนังเรื่องนี้ก็ทำให้ผู้ชมได้ตั้งคำถามว่า แล้วตกลงมันเป็นเรื่องปกติธรรมดาจริงหรือ? หรือคนจำพวกเก่งและโต้งจะต้องอยู่ในฐานะที่เป็นสัตว์ประหลาดของสังคมกันแน่
ส่วนเรื่องที่สองได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องล่องไพรของน้อย อินทนนท์ ซึ่งอภิชาตพงษ์ ได้ตั้งชื่อตอนนี้เป็นภาษาไทยว่า สัตว์ประหลาด เรื่องของตอนนี้ได้เน้นเอาสถานที่เป็นหลัก นั่นก็คือป่า เรื่องได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเก่งเดินทางเข้าไปในป่า ตามล่าเสือที่คาบวัวชาวบ้านไป จนนำไปสู่การที่เก่งได้กลายร่างของเป็นเสือสมิงเสียเอง หนังตอนนี้จะเป็นหนังเงียบ มีบทพูดเพียงไม่กี่บท ซึ่งนี้อาจจะเป็นหนังเรื่องเดียวกระมังที่ให้ความรู้สึกเกี่ยวกับป่าที่ช่างเงียบเหลือเกิน และเราอาจจะไม่เคยดูหนังเรื่องไหนที่พูดถึงป่าได้ลึกซึ้งขนาดนี้ ตอนนี้เป็นตอนที่แปลก เพราะเราจะได้ยินเสียงของความเงียบดังมากๆ ในขณะที่ดูจะทำให้เรานึกย้อนไปถึงบรรยากาศการไปตั้งแคมป์ในป่าเลยทีเดียว
เรื่องแรกจะมีบทพูดมากกว่า ส่วนเรื่องหลังเงียบ บทพูดน้อย เป็นเรื่องของการเดินป่าเป็นส่วนใหญ่ ถ้าจะถามว่าเรื่องไหนดูยากกว่ากัน หลายคนที่ได้ดูจะตอบว่าเรื่องหลังจะดูยากกว่า เพราะเป็นหนังเงียบ นั่นเพราะความเงียบไม่มีเสียงจึงทำให้ผู้ชมภาพยนตร์ต้องใช้จินตนาการของตัวเองค่อนข้างสูง
เราจะเห็นได้ว่า ในเรื่องแรก อภิชาตพงษ์ มีวิธีการนำเสนอที่เป็นเหมือนจริงมากๆ เหมือนในชีวิตประจำวันเลยทีเดียวก็ว่าได้ แต่เรื่องที่สองกลับใช้กลวิธีการนำเสนอแบบเหนือธรรมชาติมากๆด้วยเช่นกัน มีคนเปลี่ยนร่างได้ ลิงพูดได้ การที่เขาใช้วิธีการสองเรื่องแตกต่างกันนั้น เพราะเรื่องแรกเป็นเรื่องทางกายภาพ เป็นเรื่องของความเป็นจริงในปัจจุบัน จึงนำเสนอผ่านรูปแบบที่เป็นปกติสามัญ แต่ในเรื่องที่สองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภายในจิตใจของมนุษย์ จึงใช้การนำเสนอแบบเหนือจริง เรื่องนี้ได้พยายามบอกลักษณะภายนอกและภายในของมนุษย์ โดยอีกนัยหนึ่งของเรื่องนี้พยายามที่จะบอกถึงสัญชาตญาณความรุนแรง โดยประเด็นของเรื่องที่อภิชาตพงษ์ต้องการนำเสนอนั่นก็คือ สัญชาตญาณความรุนแรงภายในใจของมนุษย์และเรื่องของ Homosexual นั่นเอง
แต่กระนั้นแล้ว ก็ยังมีผู้ชมอีกหลายคนด้วยเช่นกันที่เกิดข้อสงสัยว่าแล้วสองเรื่องนี้เกี่ยวพันกันได้อย่างไร และมีความเกี่ยวโยงกันตรงไหน ซึ่งหากจะมองทางกายภาพแล้ว หนังสองเรื่องนี้ใช้ตัวแสดงชุดเดียวกัน แล้วการที่เอาเรื่องสองเรื่องมาวางใกล้เคียงกัน ไม่ทางใดทางหนึ่งก็ต้องเชื่อมกันอยู่แล้วเป็นธรรมดา อีกทั้งใน
เราจะเห็นได้ว่า ในเรื่องแรก อภิชาตพงษ์ มีวิธีการนำเสนอที่เป็นเหมือนจริงมากๆ เหมือนในชีวิตประจำวันเลยทีเดียวก็ว่าได้ แต่เรื่องที่สองกลับใช้กลวิธีการนำเสนอแบบเหนือธรรมชาติมากๆด้วยเช่นกัน มีคนเปลี่ยนร่างได้ ลิงพูดได้ การที่เขาใช้วิธีการสองเรื่องแตกต่างกันนั้น เพราะเรื่องแรกเป็นเรื่องทางกายภาพ เป็นเรื่องของความเป็นจริงในปัจจุบัน จึงนำเสนอผ่านรูปแบบที่เป็นปกติสามัญ แต่ในเรื่องที่สองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภายในจิตใจของมนุษย์ จึงใช้การนำเสนอแบบเหนือจริง เรื่องนี้ได้พยายามบอกลักษณะภายนอกและภายในของมนุษย์ โดยอีกนัยหนึ่งของเรื่องนี้พยายามที่จะบอกถึงสัญชาตญาณความรุนแรง โดยประเด็นของเรื่องที่อภิชาตพงษ์ต้องการนำเสนอนั่นก็คือ สัญชาตญาณความรุนแรงภายในใจของมนุษย์และเรื่องของ Homosexual นั่นเอง
แต่กระนั้นแล้ว ก็ยังมีผู้ชมอีกหลายคนด้วยเช่นกันที่เกิดข้อสงสัยว่าแล้วสองเรื่องนี้เกี่ยวพันกันได้อย่างไร และมีความเกี่ยวโยงกันตรงไหน ซึ่งหากจะมองทางกายภาพแล้ว หนังสองเรื่องนี้ใช้ตัวแสดงชุดเดียวกัน แล้วการที่เอาเรื่องสองเรื่องมาวางใกล้เคียงกัน ไม่ทางใดทางหนึ่งก็ต้องเชื่อมกันอยู่แล้วเป็นธรรมดา อีกทั้งใน
เรื่องแรกตอนที่นายทหารซึ่งก็คือเก่งกำลังดูรูปของโต้ง ก็มีเสียงของชาวบ้านตะโกนขึ้นมาว่า วัวถูกเสือคาบไป แล้วก็ตัดไปเรื่องที่สองโดยทันที มีภาพของเก่งเดินเข้าไปในป่า นั่นแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมต่อของเรื่องทั้งสอง
สังเกตได้ว่า ตอนต้นเรื่องก่อนที่จะขึ้นตัวเรื่องของหนัง มีบทกลอนเกี่ยวกับสัญชาตญาณ สันดานดิบของมนุษย์ว่า เรามีหน้าที่ที่จะควบคุมมันให้เชื่องเท่านั้นเอง ส่วน
สังเกตได้ว่า ตอนต้นเรื่องก่อนที่จะขึ้นตัวเรื่องของหนัง มีบทกลอนเกี่ยวกับสัญชาตญาณ สันดานดิบของมนุษย์ว่า เรามีหน้าที่ที่จะควบคุมมันให้เชื่องเท่านั้นเอง ส่วน
ในเรื่องที่สองจะพูดว่า we are not animal or human นั่นก็คือ เรามิใช่ทั้งคนและมิใช่ทั้งสัตว์ นี่ถือเป็นคีย์เวิร์ดของเรื่องเลยก็ว่าได้ เพราะการที่อภิชาตพงษ์ ได้นำเอาเรื่องของเสือสมิงมาใช้นั่นก็เพราะ มันได้แสดงถึงสัตว์ที่สามารถกลายร่างเป็นคนได้ เสือสมิงจึงไม่ใช่ทั้งสัตว์และมิใช่ทั้งคน และในท้ายที่สุด เก่งจะต้องเลือกวิธีการควบคุมสัญชาตญาณดิบนั่นคือเสือสมิงให้ได้ และวิธีการที่เก่งจะอยู่กับมันได้นั่นก็คือ เก่งจะต้องฆ่ามันและจะต้องปลดปล่อยมัน หรือไม่ก็จะต้องยอมให้มันกินแล้วกลายเป็นตัวมันซะเลย เมื่อเรานำเรื่องแรกกับเรื่องที่สองมาประกอบกัน ก็จะทำให้เราได้เห็นความหมายของเรื่องนี้ชัดเจนขึ้น ว่าอะไรคือสัญชาตญาณ และอะไรคือสันดานดิบที่เราจะต้องควบคุมมันให้ได้
หนังเรื่องสัตว์ประหลาดได้ทำลายโครงสร้างเดิมๆอย่างที่เราคุ้นเคยทิ้งไป ไม่มีฮีโร่ ไม่มีพระเอก ไม่มีนางเอก และเป็นหนังผ่าครึ่ง ซึ่งทำทีท่าว่าจะไม่มีความสัมพันธ์กันเลยระหว่างสองเรื่อง เวลาเรื่องที่สองขึ้นก็ขึ้นฉากใหม่เลย ทำให้เรารู้สึกว่าหนังได้ถูกแบ่งครึ่งเป็นคนละเรื่อง แต่มันก็ได้สร้างจุดที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความเกี่ยวโยงกันระหว่างสองเรื่อง สร้างความสับสนไม่น้อยเลยทีเดียว
นอกจากนี้แล้ว ว่ากันว่าผู้กำกับที่ดีนั้นก็จะต้องเลือกเฟ้นทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้าไปอยู่ในหนังของเขานั้นให้มีความหมายที่สุด แม้ว่ามันจะแกล้งพรางตัวว่าไม่มีก็ตาม อภิชาตพงษ์ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้มีเอกภาพในการนำเสนอเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจจะดูเหมือนว่ามันไม่มีอะไรเลย แต่ว่ามันกลับมีการเชื่อมโยงกันอยู่ตลอดเวลา เขาได้เลือกเฟ้นตัวแสดงอย่างเข้าถึงบุคลิกภาพของคนๆนั้นจริง โดยใช้บุคลิกของคนๆนั้นมาเป็นตัวดำเนินเรื่องเลย การแสดงที่ไม่เหมือนการแสดง ใช้ความเป็นจริงและลักษณะที่เป็นลักษณะของตัวเขาจริงๆมาใช้ ไม่มีการแอคติ้ง ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงดูเป็นธรรมชาติมากๆ
ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว อภิชาตพงษ์ยังได้ทำลายสิ่งที่เราคุ้นเคย เขาสร้างรูปลักษณ์ใหม่ๆ ไวยากรณ์ใหม่ๆ ขึ้นมา ฉะนั้นหากเราใช้ความคุ้นเคยเดิมๆดูก็คงจะลำบากสักหน่อย แต่ถ้าหากเราต้องการจะดูหนังเรื่องนี้ให้ถึงศาสตร์ของมันแล้วนั้น เราจะต้องพยายามที่จะเข้าใจมันก่อน เพราะมันเรียกร้องความคิดมาก อีกทั้งหนังได้พยายามผลักระยะให้กับคนดู โดยเขาจะมีกลวิธีคือ การใช้ภาพระยะไกลและลักษณะของการแอคชั่นนั่นจะมีน้อยมาก นั่นเป็นการเรียกร้องให้คนดูเป็นผู้เดินเข้าไปหามันเอง แล้วตัวคนดูเองก็จะถามว่าทำไม ทำไม ทำไม อยู่ตลอดเวลา ผิดกับหนังเรื่องอื่นๆที่คนดูจะถูกดึงเข้าไปมีส่วนร่วมโดยอัตโนมัติ และดูเหมือนว่าในแต่ละฉากของ
หนังเรื่องนี้ คนดูจะถูกโยนคำถามอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งจบเรื่อง เป็นความรู้สึกที่เสมือนว่า หนังจบ แต่อารมณ์ไม่จบ นั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น