วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Atonement (ตราบาป ลิขิตรัก)


นางสาวเกศสุดา นาสีเคน 05490039


ไบรโอนี่ ทาร์ลิส แต่งนิยายเรื่องหนึ่งจากชีวิตจริงของเธอ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 ในขณะที่เธออายุ 13 ปี ไบรโอนี่เห็นซินซีเลีย (พี่สาว) กำลังมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับรอบบี้ ผู้ชายที่เป็นลูกของแม่บ้าน คนที่ซินซีเลียรักในบ้านของเธอเอง ด้วยนิสัยเพ้อเพ้อฝัน ช่างจินตนาการของ ไบรโอนี่ เธอจึงคิดว่า รอบบี้เป็นคนไม่ดี แล้วเหตุการณ์พลิกผันก็เกิดขึ้นไบรโอนี่ไปเจอลอร่า เด็กสาววัยเดียวกันกับเธอโดนข่มขืนกลางป่า ไบรโอนี่เห็นแต่หลังคนร้ายจึงเชื่อว่าเป็นรอบบี้ แล้วเธอก็ให้ปากคำตำรวจ ทำให้รอบบี้ติดคุกถึง 4 ปี เขากับซินซีเลียก็ได้พลัดพรากกัน เวลาต่อมาเกิดสงคราม รอบบี้เป็นทหารออกรบ ซินซีเลียเป็นพยาบาล ทั้งคู่เสียชีวิตกลางสนามรบ ส่วนไบรโอนี่ก็เพิ่งรู้ว่าคนที่ข่มขืนลอร่า คือ พอล มาแชล ไม่ใช่รอบบี้ ไบรโอนี่จึงแต่งนิยายเรื่องนี้ขึ้น แต่ตอนจบของนิยายเธอได้แต่งบิดเบือนความจริงตรงที่ว่า ไบรโอนี่ไปสารภาพผิดกับซินซีเลียและรอบบี้ และคนทั้งสองก็ได้กลับมารักกันและอยู่ด้วยกันตลอดไป แต่ในความจริงแล้วไบรโอนี่ไม่กล้าไปขอโทษพี่สาวเพราะเธอไม่กล้ายอมรับความจริง มันเป็นเพียงจินตนาการที่เธอสร้างขึ้น รอบบี้และซินซีเลียตายลงโดยที่เขาทั้งคู่ไม่ได้กลับมาใช้ชีวิตร่วมกัน เธอจึงแต่งเรื่องนี้เพราะ เธอเป็นผู้ก่อเหตุของเรื่องทั้งหมดและได้มอบความสุขในตอนจบของเรื่องให้รอบบี้และซินซีเลียเพื่อเป็นการไถ่บาป

การดำเนินเรื่องน่าสนใจชวนติดตาม โดยเล่าจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การเล่าเรื่องเหมือนการได้อ่านนิยายเรื่องที่ไบรโอนี่แต่ง ในแต่ละฉากมีการทิ้งปมปัญหาอย่างมีเหตุผลให้คนดูคิดต่อ การดำเนินเรื่องเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ไม่น่าเบื่อ ทำให้คนดูเข้าใจถึงอารมณ์ตัวละครแต่ละตัวอย่างลึกซึ้ง อีกทั้งการเล่าเรื่องนั้น เป็นการเล่าสองส่วนในเวลาเดียวกันคือ เล่าเรื่องจริงของไบรโอนี่และนิยายที่เธอแต่ง ทำให้เรื่องมีความซับซ้อนแต่ก็ไม่ยากเกินการทำความเข้าใจ

เรื่องนี้มีการใช้สัญลักษณ์ (symbol) เช่น ในฉากที่ “ไบรโอนี่มาหาพี่สาวเพื่อมาขอโทษ เธอใส่เสื้อคลุมสีแดง” มีนัยแฝงที่ว่า “สีแดง” ฝรั่งเชื่อว่าเป็นสีแห่งความชั่วร้าย อันตราย ก็เปรียบเสมือน ไบรโอนี่คือตัวอันตรายไม่มีใครอยากเข้าใกล้ “ไบรโอนี่มาขอโทษทำให้รอบบี้โกรธมาก ซินซีเลียจูบรอบบี้ให้อารมณ์เย็นลง ไบรโอนี่เบือนหน้าหนีมองนอกหน้าต่างเห็นหญิงชราเข็นอะไรบางอย่าง” หมายถึง หญิงชราเปรียบเสมือนไบรโอนี่รู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนอยู่คนเดียวบนโลกซึ่งหญิงชราดังกล่าวก็รู้สึก

ข้อคิดที่ได้จากเรื่องนี้ คือ ความไม่รู้เดียงสาแล้วทำอะไรโดยไม่คิด ตรึกตรอง และคำนึงถึงผู้อื่น ทำให้เกิดปัญหาใหญ่ได้ และที่สำคัญที่สุดคือ ตราบาปที่ไม่สามารถไถ่ได้เลย แม้จะต้องใช้เวลานานสักเพียงไหน อีกทั้งการแต่งนิยายของไบรโอนี่จะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น แต่ก็มีบางอย่างที่บิดเบื
อนความจริง ทำให้รู้ว่า นิยายสามารถบันทึกประวัติศาสตร์ที่สวยงามได้ แต่ไม่สามารถบันทึกเรื่องจริงของความทรงจำอันเจ็บปวดที่ไม่มีใครอยากกล่าวถึง

ไม่มีความคิดเห็น: