ชื่อหนังสื่อ : เอลิอัส กับคุณยายจากไข่
ชื่อผู้แต่ง : อิวา โพรชัสโควา
ผู้แปล : นฤมล ง้าวสุวรรณ
สำนักพิมพ์ : แพรวเยาวชน
ปีพิมพ์ : 2548
จำนวนหน้า : 140 หน้า ราคา : 125 บาท
“เอลิอัสกับคุณยายจากไข่” เป็นผลงานการเขียนของ อิวา โพรซัสโควา เธอได้รับรางวัลวรรณกรรมเยาวชนของเยอรมัน และในปี ค.ศ. 1987 ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงคุณภาพและความสนุกในหนังสือเล่มนี้ได้เป็นอย่างดี
เอลิอัส เด็กชายอายุ 7 ขวบ เขามีแม่แสนสวยเป็นนักตกแต่ง พ่อของเขาเป็นนักคิดเกมส์คอมพิวเตอร์ แต่เอลิอัสกลับหงอยเหงา เพราะพ่อกับแม่ไม่มีเวลาให้เขาเลย และยังไม่มีปู่ย่าตายายคอยให้ความอบอุ่นเหมือนเด็กคนอื่น ๆ เขาจึงนึกอิจฉาเพื่อนที่มีปู่ย่าตายาย วันหนึ่งเอลิอัสได้พบไข่สีเหลืองฟองโตจากการไปเดินหาลูกบอลในสวน เขาจึงนำไข่กลับมาที่บ้านด้วย สิ่งที่ฟักออกมาจากไข่นั้นไม่ใช่นกอย่างที่เขาคิดไว้ แต่เป็นคุณยายตัวเล็ก มีปีก และร้องเพลงไพเราะที่สุด เอลิอัสจึงมีคุณยายที่พิเศษกว่าใคร ๆ เขาไม่ได้บอกพ่อแม่หรือคนอื่น ๆ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เขาคอยเฝ้าดูแลคุณยายของเขา สอนให้คุณยายอ่านหนังสือ สอนไม่ให้พูดคำหยาบ สอนให้เดิน และสอนอาบน้ำ ความรักและความอ่อนโยนในจิตใจเป็นสิ่งที่เอลิอัสได้มาโดยไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตามเอลิอัสก็ยังคงต้องการความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการมีเวลาให้แก่กัน
วรรณกรรมเยอรมันสำหรับเยาวชนเรื่องนี้ เป็นวรรณกรรมเยาวชนที่ดีอีกเล่มหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาแนวเหนือจริงที่เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่ก็อ่านดี เพราะเป็นเรื่องที่อ่านง่าย โดยผู้แต่งใช้ภาษาที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจง่าย โดยถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านทางบทสนทนาของตัวละคร ที่ใช้ภาษาระดับสนทนา และผู้แปลก็สามารถแปลออกมาได้โดยที่ไม่ทำให้ผู้อ่านได้รับรสของวรรณกรรมน้อยลง อีกทั้งยังมีการสอดแทรกอารมณ์ขันให้ผู้อ่านได้หัวเราะและอมยิ้มไปกับความคิดของเอลิอัสตลอดทั้งเรื่อง ความน่ารักของเรื่องจึงอยู่ที่บทสนทนาระหว่างพ่อ แม่ และเอลิอัส เช่นตอนที่เอลิอัสตัดผมของแม่มาทำรังให้กับไข่สีเหลือง ที่พ่อถามว่า “ลูกตัดผมแม่ใช่ไหม ลูกตัดได้ยังไง” เขาตอบว่า “ผมใช้กรรไกรตัดครับ” ทำให้ผู้อ่านกลั้นหัวเราะไว้ไม่อยู่ และการถ่ายทอดความรู้สึกของเอลิอัสสู่ผู้อ่าน อย่างเช่นตอนที่เอลิอัสไม่สามารถขัดแม่ของเขาได้ เพราะ “ถ้าแม่บอกว่าแม่จะต้องไปเอาหนังสือที่ห้องสมุดวันนี้ละก็ แม่ก็จะไปให้ได้ แม้ว่าห้องสมุดจะเกิดไฟไหม้ และถ้าแม่ตั้งใจว่าจะซื้อแป้งกับน้ำมันละก็ แม่ก็จะซื้อมันให้ได้แม้แผ่นดินจะไหวก็ตาม”
กลวิธีการเขียนของผู้แต่งนั้นมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการเขียนที่สามารถทำให้ผู้อ่านเห็นด้วยและคล้อยตามไปกับความคิดของผู้แต่ง ด้วยประโยคเพียงไม่กี่ประโยคในตอนเกริ่นนำก่อนที่จะเข้าเนื้อเรื่อง คือ “พ่อแม่นี่เป็นสิ่งที่เราไม่มีสิทธิ์เลือกเลย เหมือนดินฟ้าอากาศที่เราเลือกไม่ได้ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม บ่นไปก็ไร้ประโยชน์” รวมทั้งการนำเสนอแก่นของเรื่อง คือ พ่อแม่ไม่มีเวลาให้กับลูก โดยกล่าวตั้งแต่ตอนเริ่มเรื่อง ซึ่งผู้แต่งไม่ได้กล่าวถึงตรง ๆ แต่ใช้ประโยคที่ทำให้เราเห็นได้ว่าพ่อกับแม่ของเอลิอัสนั้นไม่มีเวลาให้กับลูก ในประโยค “เชื่อไหมล่ะว่าแม่ของเขายังเล่นเกมมนุษย์อวกาศไม่เป็นจนแล้วจนรอด ส่วนพ่อของเขาก็ยังทำว่าวไม่เป็นจนทุกวันนี้” โดยในเนื้อเรื่องก็กล่าวถึงเกมนี้ ที่เอลิอัสมักจะชวนพ่อกับแม่เล่น แต่พ่อกับแม่ก็มักมีข้ออ้างเรื่องงานอยู่เสมอ และการที่ผู้แต่งกล่าวถึงพ่อแม่ของเพื่อน ๆ
เอลิอัสก็เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนขึ้นว่าพ่อแม่ของเอลิอัสนั้นไม่มีเวลาให้กับลูก รวมถึงการกล่าวถึงปู่ย่าตายายที่เอลิอัสไม่มีด้วย นอกจากนี้ผู้แต่งยังสามารถเขียนถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก และความคิดของ
เอลิอัสซึ่งเป็นเด็กวัย 7 ขวบได้เป็นอย่างดี
หากคุณกำลังมองหาหนังสือดี ๆ สักเล่ม ดิฉันขอแนะนำ เอลิอัสกับคุณยายจากไข่ ซึ่งเป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่งที่ให้ทั้งความบันเทิงและข้อคิดในเรื่องของความรัก ความอบอุ่น การมีเวลาดูแลเอาใจใส่คนในครอบครัวว่าเป็นสิ่งสำคัญ และมีเนื้อหาที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีของสังคมอีกด้วย
ชิดกมล
ชื่อผู้แต่ง : อิวา โพรชัสโควา
ผู้แปล : นฤมล ง้าวสุวรรณ
สำนักพิมพ์ : แพรวเยาวชน
ปีพิมพ์ : 2548
จำนวนหน้า : 140 หน้า ราคา : 125 บาท
“เอลิอัสกับคุณยายจากไข่” เป็นผลงานการเขียนของ อิวา โพรซัสโควา เธอได้รับรางวัลวรรณกรรมเยาวชนของเยอรมัน และในปี ค.ศ. 1987 ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงคุณภาพและความสนุกในหนังสือเล่มนี้ได้เป็นอย่างดี
เอลิอัส เด็กชายอายุ 7 ขวบ เขามีแม่แสนสวยเป็นนักตกแต่ง พ่อของเขาเป็นนักคิดเกมส์คอมพิวเตอร์ แต่เอลิอัสกลับหงอยเหงา เพราะพ่อกับแม่ไม่มีเวลาให้เขาเลย และยังไม่มีปู่ย่าตายายคอยให้ความอบอุ่นเหมือนเด็กคนอื่น ๆ เขาจึงนึกอิจฉาเพื่อนที่มีปู่ย่าตายาย วันหนึ่งเอลิอัสได้พบไข่สีเหลืองฟองโตจากการไปเดินหาลูกบอลในสวน เขาจึงนำไข่กลับมาที่บ้านด้วย สิ่งที่ฟักออกมาจากไข่นั้นไม่ใช่นกอย่างที่เขาคิดไว้ แต่เป็นคุณยายตัวเล็ก มีปีก และร้องเพลงไพเราะที่สุด เอลิอัสจึงมีคุณยายที่พิเศษกว่าใคร ๆ เขาไม่ได้บอกพ่อแม่หรือคนอื่น ๆ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เขาคอยเฝ้าดูแลคุณยายของเขา สอนให้คุณยายอ่านหนังสือ สอนไม่ให้พูดคำหยาบ สอนให้เดิน และสอนอาบน้ำ ความรักและความอ่อนโยนในจิตใจเป็นสิ่งที่เอลิอัสได้มาโดยไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตามเอลิอัสก็ยังคงต้องการความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการมีเวลาให้แก่กัน
วรรณกรรมเยอรมันสำหรับเยาวชนเรื่องนี้ เป็นวรรณกรรมเยาวชนที่ดีอีกเล่มหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาแนวเหนือจริงที่เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่ก็อ่านดี เพราะเป็นเรื่องที่อ่านง่าย โดยผู้แต่งใช้ภาษาที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจง่าย โดยถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านทางบทสนทนาของตัวละคร ที่ใช้ภาษาระดับสนทนา และผู้แปลก็สามารถแปลออกมาได้โดยที่ไม่ทำให้ผู้อ่านได้รับรสของวรรณกรรมน้อยลง อีกทั้งยังมีการสอดแทรกอารมณ์ขันให้ผู้อ่านได้หัวเราะและอมยิ้มไปกับความคิดของเอลิอัสตลอดทั้งเรื่อง ความน่ารักของเรื่องจึงอยู่ที่บทสนทนาระหว่างพ่อ แม่ และเอลิอัส เช่นตอนที่เอลิอัสตัดผมของแม่มาทำรังให้กับไข่สีเหลือง ที่พ่อถามว่า “ลูกตัดผมแม่ใช่ไหม ลูกตัดได้ยังไง” เขาตอบว่า “ผมใช้กรรไกรตัดครับ” ทำให้ผู้อ่านกลั้นหัวเราะไว้ไม่อยู่ และการถ่ายทอดความรู้สึกของเอลิอัสสู่ผู้อ่าน อย่างเช่นตอนที่เอลิอัสไม่สามารถขัดแม่ของเขาได้ เพราะ “ถ้าแม่บอกว่าแม่จะต้องไปเอาหนังสือที่ห้องสมุดวันนี้ละก็ แม่ก็จะไปให้ได้ แม้ว่าห้องสมุดจะเกิดไฟไหม้ และถ้าแม่ตั้งใจว่าจะซื้อแป้งกับน้ำมันละก็ แม่ก็จะซื้อมันให้ได้แม้แผ่นดินจะไหวก็ตาม”
กลวิธีการเขียนของผู้แต่งนั้นมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการเขียนที่สามารถทำให้ผู้อ่านเห็นด้วยและคล้อยตามไปกับความคิดของผู้แต่ง ด้วยประโยคเพียงไม่กี่ประโยคในตอนเกริ่นนำก่อนที่จะเข้าเนื้อเรื่อง คือ “พ่อแม่นี่เป็นสิ่งที่เราไม่มีสิทธิ์เลือกเลย เหมือนดินฟ้าอากาศที่เราเลือกไม่ได้ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม บ่นไปก็ไร้ประโยชน์” รวมทั้งการนำเสนอแก่นของเรื่อง คือ พ่อแม่ไม่มีเวลาให้กับลูก โดยกล่าวตั้งแต่ตอนเริ่มเรื่อง ซึ่งผู้แต่งไม่ได้กล่าวถึงตรง ๆ แต่ใช้ประโยคที่ทำให้เราเห็นได้ว่าพ่อกับแม่ของเอลิอัสนั้นไม่มีเวลาให้กับลูก ในประโยค “เชื่อไหมล่ะว่าแม่ของเขายังเล่นเกมมนุษย์อวกาศไม่เป็นจนแล้วจนรอด ส่วนพ่อของเขาก็ยังทำว่าวไม่เป็นจนทุกวันนี้” โดยในเนื้อเรื่องก็กล่าวถึงเกมนี้ ที่เอลิอัสมักจะชวนพ่อกับแม่เล่น แต่พ่อกับแม่ก็มักมีข้ออ้างเรื่องงานอยู่เสมอ และการที่ผู้แต่งกล่าวถึงพ่อแม่ของเพื่อน ๆ
เอลิอัสก็เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนขึ้นว่าพ่อแม่ของเอลิอัสนั้นไม่มีเวลาให้กับลูก รวมถึงการกล่าวถึงปู่ย่าตายายที่เอลิอัสไม่มีด้วย นอกจากนี้ผู้แต่งยังสามารถเขียนถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก และความคิดของ
เอลิอัสซึ่งเป็นเด็กวัย 7 ขวบได้เป็นอย่างดี
หากคุณกำลังมองหาหนังสือดี ๆ สักเล่ม ดิฉันขอแนะนำ เอลิอัสกับคุณยายจากไข่ ซึ่งเป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่งที่ให้ทั้งความบันเทิงและข้อคิดในเรื่องของความรัก ความอบอุ่น การมีเวลาดูแลเอาใจใส่คนในครอบครัวว่าเป็นสิ่งสำคัญ และมีเนื้อหาที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีของสังคมอีกด้วย
ชิดกมล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น