วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

จัน ดารา


นพเก้า วงศ์ธวัช 05490176


จัน ดารา
เป็นภาพยนตร์ที่ถูกดัดแปลงมาจากนวนิยายเชิงสังวาสของ “อุษณา เพลิงธรรม” ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์โดยฝีมือการกำกับของ นนทรีย์ นิมิบุตร ในนามของค่ายหนัง “ไท เอ็นเตอร์เท็นเม้นต์” ร่วมกับ “แอ๊พพลอส พิคเจอร์ส” ซึ่งหนังเรื่องนี้ ได้รับการการันตีจากรางวัลอันทรงเกียรติถึง 6 รางวัลพระสุรัสวดี เพื่อเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงคุณภาพของหนังเรื่องนี้ได้อย่างดีเยี่ยม
จัน ดารา เป็นเรื่องราวชีวิตของ “จัน” ภายใต้หลังคาบ้าน “วิสนันท์” ที่ใช้ชีวิตอยู่บนความโกรธแค้นและชิงชังซึ่งกันและกันระหว่างเขากับคุณหลวงผู้เป็นพ่อ ในขณะที่เขาไม่ได้รับความรักจากคนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพ่อ ทำให้เขาโหยหาความรักจากแม่ จึงพยายามหาทางออกโดยการเสพสังวาสกับผู้หญิงมากมายภายในบ้าน และพยายามค้นหาอดีตของตนเองกับพ่อที่แท้จริงของเขา จนในที่สุด ตัวเขาเองได้ค้นพบความจริงว่า ตัวเขานั้นก็ไม่ได้ต่างอะไรกับคุณหลวงผู้ที่เขาเกลียดชังมากที่สุด จนกลายมาเป็นเรื่องราวระหว่างพ่อกับลูกที่ได้กระทำกรรมต่อกัน ซึ่งทั้งสองมีความสัมพันธ์กันเพียงแค่ในนาม และดำเนินชีวิตด้วยความเกลียดชังซึ่งกันและกัน หากแต่เป็นเสมือนกระจกสะท้อนเงาของกันและกัน และได้สะท้อนให้เห็นถึงความจริงบางอย่างในชีวิตอันน่าขนลุกขนพองภายใต้จิตใจที่แท้จริงของมนุษย์

เรื่องราวเปิดฉากขึ้น ในขณะที่จันตื่นขึ้นในกลางดึกคืนหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยเสียงฟ้าร้องกึกก้อง เขาได้พบว่า คุณหลวงผู้เป็นพ่อกำลังเสพสังวาสกับน้าวาดผู้เป็นน้าของเขาภายใต้มุ้งนอนของเขาเอง และเขาก็ได้อธิบายประกอบด้วยว่า นี่เป็นภาพแรกในชีวิตของเขา
เหตุการณ์พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เมื่อวันหนึ่งในขณะที่จันกำลังเดินร้องเพลง “คุณหลวงอยู่ในกระทรวงมหาดไทย” อยู่นั้น คุณหลวงซึ่งกำลังจิบน้ำชาอยู่ได้ยินเข้า จึงคิดว่าจันร้องเพลงล้อเลียน คุณหลวง โกรธมาก จึงปาถ้วยน้ำชาใส่ศรีษะจันจนเลือดออก นั่นเป็นครั้งแรกที่ทำให้จันรู้ว่า คุณหลวงผู้เป็นพ่อของงเขานั้นเกลียดชังเขามากเพียงไหน และทำให้เขาเริ่มโหยหาความรักจากผู้เป็นแม่
จุดสงสัยของจันได้เริ่มขึ้นในวันหนึ่ง น้าวาดได้พาคุณแก้วซึ่งเป็นลูกของเธอกับจันไปถ่ายรูป คุณแก้วได้พยายามขัดขวางจันไม่ให้ถ่ายรูปกับน้าวาด พร้อมทั้งพูดว่า จันไม่ใช่ลูกของแม่เธอหรือของพ่อเธอ ทำให้จันเริ่มคิดว่า “คุณหลวงไม่ใช่พ่อที่แท้จริงของเขา แล้วพ่อที่แท้จริงของเขาหล่ะไปอยู่ที่ไหน”
ความขัดแย้งได้ก่อตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ความขัดแย้งนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ นั่นก็คือตัวของจันเองกับคุณหลวง ในขณะที่ความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น ระหว่างนั้นเองจันก็ได้แอบลักลอบสังวาสกับคุณบุญเลื่องภรรยาของคุณหลวง แต่เหตุการณ์ยังคงดำเนินต่อไปอีกจนกระทั่งถึงขีดสุด คุณแก้วได้ใส่ความจันว่า จันจับเธอไปทำมิดีมิร้าย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจันกับคุณหลวงขาดสะบั้นลง คุณหลวงไล่จันออกจากบ้านและห้ามไม่ให้จันใช้นามสกุลของเขาอีก นั่นจึงเป็น
ที่มาของนามสกุลใหม่ของเขา ที่เขาตั้งตามชื่อแม่ว่า จัน ดารา
หลังจากจันถูกไล่ออกจากบ้านมาเป็นเวลา 4-5 ปี จุดวิกฤติของเรื่องก็ได้ถือกำเนิดเกิดขึ้นเมื่อคุณแก้วได้ตั้งท้อง ทำให้คุณหลวงกับน้าวาดไม่มีทางเลือก จึงได้ตามจันกลับมาเพื่อขอให้จันแต่งงานกับคุณแก้ว โดยสัญญาจะยกบ้านวิสนันท์คืนให้กับจัน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ได้ซ้ำรอยเดิมกับเหตุการณ์ครั้งอดีตของคุณณหลวงกับแม่ของจัน
หลังจากที่จันเริ่มต้นใช้ชีวิตภายในบ้านวิสนันท์ได้ไม่นาน จันก็ได้ดำเนินรอยตามคุณหลวงทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสังวาสกับสาวใช้มากหน้าหลายตา ไปจนกระทั่งกระทำการอันเลวทรามต่ำช้าโดยการข่มขืน
คุณแก้วก็ตามที ในที่สุดเรื่องก็ดำเนินมาจนถึงจุดไคลแม็กซ์ของเรื่อง นั่นก็คือ วันหนึ่งจันกับคุณบุญเลื่องร่วมสังวาสกันในห้องนอนของคุณบุญเลื่อง แต่แล้วสิ่งไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อคุณหลวงได้เดินเข้ามาภายในห้อง และเห็นภาพจันกับคุณบุญเลื่องกำลังร่วมสังวาสกัน คล้ายกับเหตุการณ์ที่จันได้เห็นในวัยเด็ก จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้คุณหลวงช็อคจนกลายเป็นอัมพาต ไม่สามารถร่วมสังวาสกับใครได้อีก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และต้องนั่งรถเข็นไปตลอดชีวิต ในขณะที่จันก็ต้องสูญเสียลูกของตนเองกับคุณแก้ว เนื่องจากคุณแก้วได้ตัดสินใจทำร้ายตนเองจนกระทั่งแท้งลูก จากเหตุการณ์นี้เองที่ทำให้จันได้กลายสภาพเป็นเหมือนกับคุณหลวงนั่นก็คือ หมดอารมณ์ทางเพศ และไม่สามารถร่วมสังวาสกับใครได้อีก
ต่อมาภายหลังคุณแก้วได้ถอยไปอยู่เรือนหลังเล็ก สร้างอาณาจักรรักร่วมเพศของตน ไม่ขึ้นกับใครอีกต่อไป ส่วนด้านคุณหลวง สิ่งเดียวที่ยังยืนยันได้ว่ายังมีชีวิตอยู่นั่นก็คือ คุณหลวงยังคงมีลมหายใจแต่ก็ไม่สามารถกลับไปเป็นอย่างเก่า ได้แต่นอนอยู่บนเตียงเท่านั้น และคุณหลวงกับจันก็ยังคงต้องใช้หนี้กรรมในการเป็นกระจกเงาสะท้อนซึ่งกันและกัน และต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันต่อไป หลังจากนั้นจันก็ได้เฉลยถึงพ่อที่แท้จริงของเขา ว่าเป็นใครมาจากไหน ซึ่งแท้จริงแล้วเขาก็ไม่สามารถบอกได้ว่าพ่อของเขาเป็นใคร เพราะว่าแม่ของเขาถูกข่มขืนด้วยชายหลายคน จนจันเองก็ไม่อาจรู้ได้ว่าชายที่ข่มขืนแม่ของเขานั้น คนไหนคือพ่อที่แท้จริงของเขา และนี่ก็เป็นการปิดเรื่องจัน ดาราในท้ายที่สุด
สัญลักษณ์สำคัญที่เป็นเอกภาพของเรื่องจัน ดารา คือ แหวนทองที่จันนำมาใส่สร้อยคล้องคอเอาไว้กับตัว เพื่อเป็นการระลึกถึงแม่ เนื่องจากแหวนทองเป็นสิ่งเดียวของแม่ ที่จันได้พกติดตัว พร้อมกับมีความเชื่อลึกๆว่า ตัวของเขาจะไม่มีวันเป็นและทำอย่างคุณหลวง นั่นคือ ร่วมสังวาสกับผู้หญิงต่อหน้าแม่ของตนเอง ในที่นี้ต่อหน้าแม่ของจันเอง จันได้หมายความถึงภาพของแม่ที่แขวนอยู่บนฝาผนังในห้องหนังสือ ที่คุณหลวงได้ร่วมสังวาสกับสาวใช้บ่อยครั้ง แต่ในท้ายที่สุดเขาก็ได้ค้นพบตัวเองว่า เขาเองก็ไม่ต่างกับคุณหลวง และอาจจะเลวกว่าด้วยซ้ำ เพราะในวันแต่งงานของเขากับคุณแก้ว จันก็ได้ร่วมสังวาสกับสาวใช้ ต่อหน้ารูปภาพแม่ของตนเอง โดยที่เขาเองก็ไม่ได้ตั้งใจ ในระหว่างนั้นเองแหวนทองที่จันนำมาใส่สร้อยคล้องคอไว้ก็ได้ขาดสะบั้นลงและจันเองก็ไม่สามารถหาแหวนวงนั้นพบอีก นั่นจึงเป็นการอุปมาว่า ความเชื่อ และความมั่นใจในตนเองของจันเกี่ยวกับเรื่องที่เขาไม่มีวันเหมือนคุณหลวงนั้น ได้ขาดสะบั้นลงไปพร้อมๆกับสร้อยคล้องคอนั่นเอง
ภาพยนต์เรื่อง จัน ดารา นี้ มีเจตนาที่จะหวังตีแผ่เรื่องราวด้านมืดในจิตใจมนุษย์ ที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมาด้วยกิเลสตัณหา โดยอาศัยพฤติกรรมและความขัดแย้งของตัวละครเป็นตัวนำเสนอและตีแผ่เรื่องราวในชีวิตของตัวละครเหล่านี้ เพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่ข้าพเจ้าชื่นชอบมากที่สุดหลังจากได้ดูภาพยนต์เรื่องจัน ดารา คือ เสียงเพลงประกอบภาพยนต์และภาพที่มีสีแบบคลาสสิค เสียงเพลงประกอบภาพยนต์ เป็นตัวช่วยกระตุ้นอารมณ์ของผู้ชมให้มีความรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว อ้างว้าง และพริ้วไหวไปตามตัวละครได้เป็นอย่างดี ทำให้ได้ถึงแก่นอารมณ์ของตัวละครว่า ตัวละครนี้มีความเศร้ามากเพียงไร และกำลังมีความรู้สึกแบบไหน สังเกตุได้จาก พอตัวละครเอกพูดถึงเรื่องความรันทดและความอัปปรีย์ของชาติกำเนิดตัวเอง รวมไปถึงความรู้สึกถวิลหามารดาอันเป็นที่รัก เสียงเพลงประกอบภาพยนต์ก็จะมีจังหวะเศร้าตามไปด้วย ทำให้ผู้ชมเข้าใจถึงสถานะ บทบาท รวมไปถึงความรู้สึกของตัวละครเอกที่มีต่อเหตุการณ์นั้นๆ
สีของภาพก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ข้าพเจ้าดูภาพยนตร์แล้วรู้สึกไม่ขัดแย้งกับความเป็นจริง ที่ต้องการนำเสนอเรื่องราวของคนในยุคนั้น สีของภาพที่ออกแนวคลาสสิคให้ความรู้สึกกลมกลืน ดูแล้วสบายตา อีกทั้งยังแฝงด้วยอารมณ์เศร้า เพราะสีของภาพจะออกแนวเป็น สีส้มอมเหลือง ซึ่งเป็นสีที่ทำให้เกิดอารมณ์หดหู่ และชวนให้คิดถึงบรรยากาศของเรื่องที่ผลสรุปต้องออกมาเป็นแนวโศกนาฏกรรมสำหรับตัวข้าพเจ้าเองนั้น ข้าพเจ้ามีความคิดว่า ภาพยนตร์เรื่องจัน ดารา นั้น เป็นภาพยนตร์อีกเรื่องที่ควรค่าแก่การรับชม เนื่องจากมีโอกาสไม่มากนักที่ผู้กำกับหรือใครสักคนหนึ่ง จะกล้านำเรื่องราวเหล่านี้มาตีแผ่ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของคนในสังคม ในขณะที่สังคมของเราเป็นเช่นนี้ กล่าวคือ มักมีพวกมือถือสากปากถือศีลอยู่เต็มไปหมด และคนในสังคมมักไม่ยอมรับความเป็นจริง นอกจากภาพยนต์เรื่องนี้จะสอนให้เรารู้จักที่จะหันมาดูตัวเอง และมีการยับยั้งชั่งใจในเรื่องกิเลสตัณหาแล้ว ยังสอนให้รู้อีกด้วยว่า ในตัวของมนุษย์ทุกคนย่อมมีด้านมืดด้วยกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าใครจะรู้จักยับยั้งและปล่อยให้ด้านมืดนั้นออกมาทำลายตนเองมากหรือน้อยแค่ไหน และที่สำคัญที่สุดคือภาพยนต์เรื่องนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับผู้ชม เนื่องจากเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจ ไม่ให้หลงไปมัวเมากับกิเลสตัณหา เนื่องจากเรารู้แล้วว่า ถ้าเราหลงไปมัวเมากับมันแล้ว ผลที่ได้รับตามมานั้นมีจุดจบเช่น

ไม่มีความคิดเห็น: