วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

โหมโรง


น.ส.ตริยาภรณ์ บุญคง 05490144


วิเคราะห์ภาพยนตร์ เรื่องโหมโรง (The overture)


ภาพยนตร์เรื่องโหมโรง ภาพยนตร์ปลุกจิตสำนึกความเป็นไทย ที่คุณอิทธิสุนทร ไชยลักษณ์ ได้เปลี่ยนแง่มุมแห่งประสบการณ์หยิบมาสร้างเป็นภาพยนตร์เพื่อสะท้อนสภาพวัฒนธรรมสังคมโลกยุคโลกาภิวัฒน์ โดยสื่อให้เห็นถึงสิ่งที่น่าอัศจรรย์, สิ่งที่วิเศษในอดีตกาล นำมาถ่ายทอดผานตัวละคร และโลดแล่นอยู่บนหน้าจอภาพยนตร์ได้อย่างน่าประทับใจ


การจำลองชีวประวัติของเพชรน้ำงามแห่งวงการดนตรีไทย เช่น หลวงประดิษฐ์ไพเราะมาไว้ในภาพยนตร์นั้น สามารถสร้างได้อย่างกลมกลืนกับตัวเนื้อเรื่องอย่างไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจเมื่อได้รับชม การรับอรรถรสผ่าน "ศร" ตัวละครเอก สามารถตรึงใจผู้ชมได้ในทุกฉาก และพร้อมที่จะร่วมให้กำลังใจและชื่นชมในความสำเร็จไปในขณะเดียวกัน


ลักษณะการดำเนินเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นการเล่าเรื่องย้อนไปในอดีต มีการลำดับภาพที่โยงเรื่องในอดีตสลับกับเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน การเกริ่นนำก่อนเข้าสู่ตัวเรื่อง เป็นฉากในหมุ่บ้านแห่งหนึ่งท่ามกลางธรรมชาติ มีเด้กผู้ชายตัวน้อยผมจุกกำลังวิ่งไล่จับผีเสื้อกระทั่งเข้าไปถึงในห้องเก็บอุปกรณ์ดนจรีไทย และได้สะดุดตากับระนาดเอก 1 ราง สลับกับฉากที่ "ครูศร" ในวัยชราได้สนทนากับ "ทิว"เพื่อนสนิทของเขาก่อนสิ้นลม ศรมีความใฝ่ฝันที่จะเล่นดนตรีไทยให้เก่งเหมือนพ่อ "สิน" ครูดนตรีที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมายในสมัยนั้น และพี่ชายที่มีฝีมือระนาดเอกยอดเยี่ยม จนหาใครทัดเทียมได้ยากใน "อัมพวา"


จนกระทั่งวันที่ ศร ต้องสูญเสียพี่ชาย จากการดักแก้แค้นของพวกวัยรุ่นที่แพ้การประชันตีระนาดกับพี่ชายของเขานั้น ทำให้พ่อของ ศร มีอคติกับการเล่นดนตรีไทย จึงสั่งห้ามไม่ให้ ศร เล่นดนตรีไทย หากแต่เจตนารมณ์ที่จะเป็นนักดนตรีแทนพี่ชายได้พุ่งพล่านขึ้นในหัวใจของ ศร ศรจึงได้ขอความร่วมมือจาก "ทิว"เพื่อนสนิท แอบเอาผืนระนาดที่แม่เก็บไว้ไปฝึกตีที่วัดในตอนดึกของทุกคืน จนกระทั่งพ่อของ ศร ทราบเรื่อง และได้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ ศร จึงสนับสนุนให้ ศร เล่นดนตรีไทยอย่างจริงจัง โดยต้องผ่านพิธีไหว้ครูเสียก่อน


ความกระตือรือร้นที่จะเป็นนักดนตรีเอก ทำให้ ศร มุ่งมั่นฝึกซ้อม จนกรัทั่งวันที่เขาได้มีโอกาสแสดงฝีมือในการประชันวงปี่พาทย์ครั้งแรกกับวงของจังหวัดราชบุรี และ ศร ได้รับชัยชนะในครั้งนี้ จนวันที่เขาได้มีโอกาสเข้าเมืองหลวงกับพ่อของเขา และได้เห็นฝีมือของ "ขุนอิน" และสิ่งนี้เองที่ทำให้ศรเกิดความรู้สึกเกรงและกลัวขึ้นมา จนเขาต้องคิดหาวิธีที่จะฝึกฝนลีลาการตีระนาดให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ศร พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อคิดค้นลูกเล่นใหม่ๆแต่ไม่เป็นผล ในขณะที่ สร กำลังท้อแท้อยู่นั่นเอง คำพูดของ ทิว ที่ว่า "คนเราเชี่ยวผิดกัน" ความคิด,และสภาพแวดล้อมรอบๆๆตัวของสร ลมที่พัดให้ยอดมะพร้าวพริ้วไหว ทำให้ ศร ฉุกคิดถึงลีลาการตีระนาดที่เขาสามารถพลิกแพลงได้ในขณะนั้นเอง ศร มีกำลังใจที่จะฝึกซ้อมอีกครั้ง


การดำเนินเรื่องหลักดำเนินไปอย่างรวดเร็ว สลับกับโครงเรื่องรอง ที่เสนอถึงผู้นำที่ต้องการนำประเทศไปสู่ความเป็นอารยะทัดเทียมกับชาติอื่น จึงเสนอให้มีการควบคุม และปรับปรุงวัมนธรรมที่โบราร,ล้าสมัย เช่น ดนตรีไทย แต่ได้รับการคัดค้านจาก "ครูศร" ในช่วงปลายชีวิต และเหล่าลูกศิษย์ของท่าน ชีวิตของ ศร ได้ถึงจุดเปลี่ยน เมื่อชัยชนะในการประชันระนาดครั้งแรกเป็นเสียงเลื่อลือไปทั่ว จากหมู่ของเจ้านายหัวเมืองก็ได้แพร่หลายไปถึงวงของเจ้านายในเมืองหลวง และจากการที่ ศร ได้แสดงฝีมือให้เป็นที่ประจักษ์ของเจ้านายท่านหนึ่งแล้ว ศรจึงได้เข้าไปอยู่ในวงปี่พาทย์ในวัง ด้วยเหตุผลที่ว่า ทางระนาดของ ศร ผิดแปลกไปจากแบบแผนเดิม,แปลกตา,เป็นที่ถูกใจของท่าน ในระหว่างที่ ศร เข้ามารอในห้องเพื่อซ้อมดนตรีไทย เขาได้เห็นหญิงสาวซึ่งสวยสะดุดตา จับใจเขาตั้งแต่แรกพบ นามว่า "แม่โชติ" และแม่โชติก็เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่สำคัญในการก้าวขึ้นเป็นนักดนจรีเอกของ ศร และในห้องซ้อมดนตรีนั้น เขายังได้พบกับครูเทียน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันให้เขาอีกด้วย


เมื่อ ศร ได้เข้ามาเป็นมือระนาดในวงปี่พาทย์หลวงแล้ว เขาได้ฝึกซ้อมอย่างหนัก เมื่อเขารู้ว่า เขาต้องประชันวงปี่พาทย์กับวงต่างเมือง และมือระนาดของอีกฝั่ง ก็คือ ขุนอิน ผู้ซึ่งมีทำนองการตีระนาดที่ ศร บอกว่าไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน และทำให้ใจของเขานึกเกรงได้ในทุกครั้งที่เขาคิดถึงนั่นเอง เสียงระนาดของขุนอินก้องอยู่ในทุกโสตประสาทของ ศร เขาวิตกกังวลมากถึงกับเก็บไปฝัน และทำให้ ศร นึกท้อแท้ขึ้นมา จนกลับไปที่บ้าน ทิ้งความฝันของตนไว้เบื้องหลัง จนพ่อของ ศร ทราบเรื่องที่ทหารตามมาถึงบ้านก็ล้มป่วยลง ศรกลับมาที่บ้าน เขาเห็นสีหน้าและแววตาที่ผิดหวังของพ่อ จึงสำนึกและพร้อมที่จะต่อสู้ใหม่อีกครั้ง โดยได้รับคำแนะนำและการฝึกฝนที่ดีจาก "ครูเทียน"


ในที่สุดวันประชันก็มาถึง มีคณะผู้นำจากต่างประเทศและผู้ชมมากันอย่างคับคั่ง รวมถึง แม่โชติ และทิว เพื่อนสนิทของเขาด้วย วงผู้มาเยือนได้เริ่มการบรรเลงก่อน และบรรเลงได้อย่างยอดเยี่ยม ผู้คนต่างชื่นชอบกันมาก ศรมีความกังวล,ความประหม่า, และความตื่นเต้นมาก เมื่อถึงคราวที่เขาต้องแสดงความสามารถ ในครั้งแรก ศรตีระนาดเพี้ยนจังหวะ เนื่องจากตะกั่วของระนาดเปราะมากแล้วจึงต้องมีการเปลี่ยนระนาดผืนใหม่ โดยทิวเป็นผู้นำระนาดผืนใหม่มาเปลี่ยนให้ และเป็นผืนระนาดที่ ศรคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กนั่นเอง ศร เริ่มบรรเลงระนาดอีกครั้งด้วยความมั่นใจ ผลในรอบแรกทำให้ตัดสินใจลำบากที่จะให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ชนะ จึงต้องให้มีการเดี่ยวเพลงเชิดตัดสินกันตัวต่อตัว ทั้ง ศร และขุนอินไม่มีใครยอมอ่อนข้อให้กัน ทั้งคู่ต่างแสดงฝีมือกันอย่างเต็มที่ แสดงลีลาและลุกเล่นของแต่ละฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น การกรอ,การขยี้,การรัว,หรือการตีแบบคาบลุกคาบดอก ทั้งคู่ต่างก็ทำได้อย่างดี ความหนัหน่วงของจังหวะที่ดังจนอกใจคึกคักตามไปด้วย และบางครั้งก้ค่อนยแผ่วเบาจนใจจะขาด สามารถสะกดผุ้ฝังทุกคนให้หลงติดอยู่กับมนต์เสน่ห์นั้นได้ หากแต่ตัวผุ้เล่นเองนั้นก็ตื่นเต้นด้วยการรับ-ส่งจังหวะที่สอดคล้องกัน ความตื่นเต้นกอปรกับความต้องการที่จะเอาชนะ ทำให้ขุนอินเกิดอาการเกร็งจนไม่สามารถเล่นต่อไปได้ เสียงระนาดที่จับใจผู้ฟังของศร ทำให้เขาได้รับการยกย่องให้เป็น "ท่านครู" ที่มีลูกศิษย์มากมายในเวลาต่อมา

ในขณะที่ทางฝ่ายทหาร ยังคงยึดมั่นกับคำสั่งชองผู้นำ โดยมองข้ามและดูถูกรากเหง้าของตนเอง ชีวิตในบั้นปลายของ "ครูศร" ได้ใช้หมดไปในการเป็นครูอย่างแท้จริง ท่านสอนลูกศิษย์ของท่านทุกคนให้สืบทอด ดนตรีไทย ท่านยึดมั่นในอุดมการณ์ที่จพต่อสู้ยืนหยัดเพื่อดนตรีไทย ในตอนท้าย เหล่าทหาร ก็เหมือนจะเข้าใจในอุดมการณ์ของท่าน ก่อนจะถึงวาระสุดท้านในชีวิตท่านก็ยังได้บรรเลงระนาดอีกครั้ง ก่อนที่ท่านจะสิ้นใจอย่างไม่มีวันกลับ ทำให้เราได้รู้ว่า ท่านยังคงต่อสู้ยืนหยัดในสิ่งที่ท่านรักตราบจนวินาทีสุดท้าย


สำหรับตัวละครเอกในเรื่อง ตั้งแต่เป็น "เด็กชายศร" ,"นายศร" จนกระทั่งถึง "ครูศร"เป็นตัวละครที่มีความมุ่งมั่น,ตั้งใจที่จะทำตามความใฝ่ฝันของตน มีอุดมการณ์ที่แน่วแน่ อาจจะมีการท้อแท้บ้าง แต่ก็ยังต่อสู้ได้เป็นอย่างดี มีบุคลิกภาพที่ดี นิสัยใจคอมีความเมตตา,โอบอ้อมอารี,ให้ความรักแก่บรรดาลูกศิษย์ทุกคน,เป็นคนช่างสังเกตคน ยืนหยัดที่จะต่อสู้เพื่อสิ่งที่ตนเองรักจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต


ตัวละครรอง "ทิว"เพื่อนสนิทของศร ในเรื่องอาจจะไม่มีบทบาทมากนักแต่ก็เป็นคนที่สนิทกับ ศร มาตั้งแต่เด็กๆ เป็นแรงผลักดันและกำลังใจที่ดียามที่ ศรท้อแท้ ไม่อิจฉาริษยาเมื่อเห็นเพื่อนได้ดี และยังแสดงความยินดีด้วย


ตัวละครที่เหมือนเป็นแรงผลักดันและกำลังใจให้ ศร ก็มีอีกหลายตัวในเรื่อง เช่น แม่โชติ,ครูเทียน,พ่อ,แม่,และพี่ชายของ ศร ท่านผู้พัน เป็นนายทหารที่ยึดมั่นในคำสั่งของเจ้านาย ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด จนบางครั้งอาจจะละเลยในสิ่งที่ถูกต้อง ขุนอิน เป็นตัวหลัก ตัวตั้งที่ให้ตัวเอกปีนป่ายขึ้นไปสู่ความสำเร็จได้ เป็นผู้มีความมุ่งมั่นและรักในดนตรีไทย ไม่แพ้ ศร


สำหรับฉากในเรื่อง ถึงแม้ว่าจะเป็นฉากจำลองในสมัยโบราณ ในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ก็ทำออกมาได้สมจริง การเลือกใช้โทนสีก้กลมกลืน การแต่งหน้า ทำผม ของตัวละครเอก,ตัวละครรอง,และตัวแสดงประกอบก็ไม่ละเลยที่จะใส่ใจในรายละเอียด การนุ่งผ้าโจงกระเบน,กระโจมอก,การเคี้ยวหมากให้ฟันดำ,การตัดผมทรงมหาดไทย,หรือการใส่เสื้อราชปะแตนเมื่อเข้าสู่ในเขตพระราชฐานรวมถึงการแสดงความเคารพต่อเจ้านายชั้นสูง ก็มีการศึกษามาแล้วอย่างดี


ฉากในบ้านศิลปบรรเลง,ฉากในวัง,ฉากธรมมชาติกลางทุ่ง หรือแม้แต่ ฉากห้องที่ใช่ประชันระนาดก็ทำได้เหมือนจริงน่าเชื่อถือ


สัญลักษณ์ที่ใช้ในเรื่องคือ ระนาด ที่มีความหมายมากกว่าการเป็นแค่เครื่องดนตรี แต่รวมถึง แรงบันดาลใจ,การสืบทอดเจตนารมณ์ของผู้ที่ตนนับถือ,ความมุ่งมั่น ระนาดผืนที่ สร เล่นมาตั้งแต่เด้ก ทำให้เขารู้สึกมั่นใจและเชื่อมั่นเมื่อได้เล่นระนาดผืนเดิมของเขา แม้ว่าจะเป็นการประชันที่ยิ่งใหญ่ขนาดไหนก็ตาม ตัวเอกของเรื่องจะผูกพันกับระนาดมาตั้งแต่เด็กจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ข้อความที่ท่านฝากไว้ให้กับลูกหลานและลูกศิษย์ของท่าน ก็สื่อถึงเจตนารมณ์ที่จะสืบทอดการตีระนาดของท่านเอาไว้เช่นนั้น


ความขัดแย้งที่ปรากฏในเรื่อง คือความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ คือ ศร กับพ่อของเขาที่พ่อของ ศร ห้ามเล่นดนตรี แต่ ศร ก็ยังต้องการที่จะเล่นดนตรี ศรกับขุนอิน ซึ่งต้องแข่งขันฝีมือการตีระนาดกัน มนุษย์กับจิตใจตนเอง บ่อยครั้งที่ ศร รู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ เขาคิดอยากที่จะทิ้งความฝันของเขา แต่เขาก็ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆจนกลับมามีความหวังที่เข้ามแข็งอีกครั้ง


ชื่อเรื่องที่ว่าโหมโรงนั้น หมายถึง การประโคมดนตรีก่อนมหรสพลงโรง; เพลงเริ่มต้นของการบรรเลงหรือการแสดง เพื่อบอกให้ทราบว่าพิธีหรืองานนั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว หรือ เป็นการบูชาเทพยดาและครูบาอาจารย์ พร้อมทั้งอัญเชิญท่านเหล่านั้น มาปกปักรักษาและอำนวยความสำเร็จให้แก่การแสดง นอกจากนั้น ยังเป็นการ อุ่นโรง ให้ผู้แสดงเตรียมตัวให้พร้อมเพราะใกล้จะถึง เวลาแสดง และเป็นสัญญาณแจ้งแก่ประชาชน ที่อยู่ทั้งใกล้และไกล ให้ได้ทราบว่าจะมีการแสดงลิเก และใกล้เวลาลงโรงแล้ว จะได้ชักชวนกันมาชม เป็นการตั้งชื่อเรื่องที่ผู้ชมสามารถเดาได้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเล่นดนตรี


ข้อคิดที่ได้จากเรื่องคือ คนเราจะต้องไม่ท้อแท้ต่อปัญหาที่เข้ามาในชีวิต ต้องหาทางที่จะฟันฝ่าอุปสรรคไปให้ได้ และต้องหาสิ่งใหม่ๆเข้ามาสร้างสรรคืผลงานของตนให้ดีขึ้นเสมอ เหมือนกับ ศร ที่ไม่เคยหยุดคิดหาวิธีมาพัฒนาทักษะการตีระนาดของเขาเสมอ ไม่ว่าจะพบเจออะไร เขาก็จะสามารถดัดแปลงให้เข้ากับงานของเขาได้เสมอ, คำพุดของครูเทียน "ศรจะกลับมาเมื่อเข้าพร้อม"หมายความถึงเราควรจะทำทุกอย่างด้วยใจรัก ไม่ควรจะบังคับฝืนใจ เพราะจะทำให้ผลงานที่เราทำออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด,เชือกที่ตึงไปของผืนระนาดทำให้ตีไม่ได้ดี จึงต้องผ่อนลงมาบ้าง หมายถึง เราควรจะทำทุกอย่างด้วยความพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป


สรุป ภาพยนตร์เรื่องโหมโรงเป้นคติสำหรับสอนเยาวชนได้ดี ดุแล้วไม่มีที่ติ เป็นภาพยนตร์ปลุกจิตสำนึก และรากเหง้าของความเป็นไทย มีภาพและเสียงประกอบที่สวยงามประทับใจ การคัดเลือกนักแสดงก็ทำได้อย่างเหมาะสมลงตัว มีพลังที่จะทำให้ผู้ชมติดตามได้อย่างมีศิลปะและรสนิยม มีเรื่องราวที่สัมผัสได้จริง มีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ให้สาระ ดูแล้วไม่รู้สึกเบื่อ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆๆให้ดนตรีไทย ได้เห็นดนตรีไทยในรูปแบบที่น่าตื่นเต้นประทับใจ ผู้ชมสามารถสร้างจินตนาการตามได้ ผู้แต่งเก็บรายละเอียดได้อย่างสมจริงในทุกสัดส่วน มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีเป็นที่ปรึกษา และนักแสดงทุกคนก็ต้องเรียนดนตรีก่อน ทุกคนคงได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของดนตรีไทย จากภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นตัวนักแสดงเอง หรือแม้กระทั่งผู้ชมด้วยเช่นเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น: